คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การรับสารภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การรับสารภาพต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิด หากไม่ชัดเจนและโจทก์ไม่สืบพยาน ศาลยกฟ้องได้
คำให้การของจำเลยที่ยื่นต่อศาลมีความว่า "จำเลยได้มาอาศัยอยู่กับ ม.ซึ่งหลบหนีไปแล้ว วันเกิดเหตุผู้เสียหายมาสมัครไปทำงานต่างประเทศกับ ม. ม.ให้จำเลยเขียนใบรับเงินให้เนื่องจากเห็นว่าจำเลยมีความรู้และขณะนั้นเสมียนไม่มาทำงาน แล้วผู้เสียหายมอบเงินให้ ม.จำเลยไม่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด แต่เมื่อเป็นความผิดจำเลยก็รับสารภาพ.........." ดังนี้ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำให้การที่รับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จึงลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผูกพันจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: การรับฟังจากคำให้การรับสารภาพ และการกำหนดค่าเสียหาย
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะเป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังจากคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยก็ตาม
การที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ตกต่ำหรือลดลง เป็นค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยโดยรู้แล้วว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนค่าเสียหายควรเป็นจำนวนเท่าใดศาลย่อมกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ ศาลยกฟ้องจำเลยอ้างคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ในชั้นศาลฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำความผิด และคงเหลือแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในชั้นสอบสวนเท่านั้นจึงรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้
เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าพยานโจทก์ที่มีอยู่ 2 ปากจะจำคนร้ายได้ ข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยดังกล่าวจึงอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 2