คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนของกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เจ้าของมิได้รู้เห็นการกระทำผิด
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางไปแล้วก็ชอบที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจะต้องยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 36 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นภายหลังวันคำพิพากษาถึงที่สุดเกิน 1 ปี ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ทั้งเพิ่งทราบผลคำพิพากษาเมื่อพ้น 1 ปี ก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางได้
ป.อ.มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้วจึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 เริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุดหลังสิ้นสุดระยะอุทธรณ์ฎีกา
ป.อ. มาตรา 36 บัญญัติให้เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงเสนอคำขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วัน คำพิพากษาถึงที่สุด คำว่า "หนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด" หมายถึงกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่คดีเรื่องนั้นถึงที่สุด โดยเริ่มนับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบของกลางแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในเรื่องริบของกลางแต่จำเลยยังอุทธรณ์เรื่องขอให้รอการลงโทษจำคุกอยู่ คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36: ระยะเวลาคำขอและการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
กำหนดเวลา "หนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 หมายถึงกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับแต่คดีเรื่องนั้นถึงที่สุด โดยเริ่มนับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา มิใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบของกลาง แล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ และแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในเรื่องริบของกลางแต่จำเลยยังอุทธรณ์เรื่องขอให้รอการลงโทษจำคุกอยู่ คดียังไม่ถึงที่สุด
เหตุเกิดในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลบังคับ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์อยู่ จึงเป็นผู้มีอำนาจร้องขอคืนของกลางได้การที่ผู้ร้องยังมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนไปจากผู้ร้องและจะถือว่าผู้ร้องทำไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ซึ่งตามทางนำสืบก็มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางต้องรอคำพิพากษาลงโทษและคำสั่งริบทรัพย์สินก่อน
กรณีขอคืนทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 36 ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อน จึงจะมีคำสั่งในเรื่องของกลางได้
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและมีคำสั่งคำร้องขอคืนของกลาง จึงไม่ชอบ ศาลชั้นต้นต้องรอฟังผลคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้ริบของกลางก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องและการวินิจฉัยเรื่องของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขให้คืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่และพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนรถเช่าซื้อของกลาง: สิทธิเจ้าของแท้จริง ผู้เช่าซื้อกระทำผิด ไม่ถือเป็นการสนับสนุนความผิดหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
พ. หุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ร้องยื่นเอกสารต่อรองผู้กำกับหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ แม้ในเอกสารจะมีข้อความว่าขอท่านได้โปรดมีคำสั่งคืนรถจักรยานยนต์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาให้แก่ผู้ร้องด้วย การยื่นเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นการขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 แต่อย่างใดไม่ นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวผู้ร้องได้ยืนยันว่ารถจักรยานยนต์ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดมาเป็นของผู้ร้องผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องยืนยันถึงสิทธิของผู้ร้องในรถจักรยานยนต์ของกลาง และแม้จะได้ความว่าหลังจากทราบว่าได้ใช้รถจักรยานยนต์ในการกระทำผิดแล้วผู้ร้องยังรับชำระค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้ออีก 4 งวดและเพิ่งจะมาบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 แต่ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 พฤติการณ์ดังกล่าวก็ยังไม่มีเหตุที่จะฟังว่าผู้ร้องขอคืนรถของกลางเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่ประการใดไม่ การที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้ร้องได้มอบรถจักรยานยนต์ไปโดยยังไม่ได้จดทะเบียนโอนเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดกฎหมายและหากมีผู้นำรถจักรยานยนต์ไปกระทำความผิดกฎหมาย ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ฎีกาของโจทก์ไม่ถือว่าพฤติการณ์ของผู้ร้องเช่นนี้ เป็นการขอคืนของกลางที่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น เพราะเป็นการคาดการณ์ที่ไกลเกินเหตุเนื่องจากในเรื่องเช่าซื้อรถจักรยานยนต์นี้เมื่อมีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือตลอดจนมีการค้ำประกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อก็จะส่งมอบรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อไป เป็นกรณีที่ปฏิบัติกันเป็นปกติธรรมดาโดยทั่วไป หาใช่เป็นการผิดธรรมดาวิสัยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน: การเสนอสินบนเพื่อขอคืนของกลาง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเสนอจะให้เงินแก่ ม. และ ว. ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเสนอจะให้เงินแก่ ก. แต่ ม. กับ ว. ก็เป็นผู้ร่วมยึดสินค้าของกลางกับ ก. ข้อแตกต่างจึงไม่ใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยนำสืบปฏิเสธว่ามิได้เสนอจะให้เงินแก่ผู้ใดทั้งสิ้น จึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดี และการพิสูจน์เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่รู้เห็นการกระทำผิด
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 เพียงแต่บัญญัติ ว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ 34 แล้วก็ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้เท่านั้น แต่หาตัดสิทธิเจ้าของที่แท้จริงจะขอยื่นคำเสนอก่อนเวลาดังกล่าวไม่ฉะนั้น เจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสั่งคืนของกลาง: เจ้าพนักงานป่าไม้มีอำนาจเฉพาะในการคืนของกลางที่ยึดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงาน-ป่าไม้จับกุมพร้อมไม้แปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด รถยนต์พิพาทถูกยึดไว้เป็นของกลางในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานป่าไม้ ซึ่งมิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลย จำเลยเป็นหัวหน้าพนักงาน-สอบสวนในคดีดังกล่าว ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานป่าไม้เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ที่ให้อำนาจไว้ แม้คดีอาญาดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุด พนักงานสอบสวนยังมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไปก็ตามแต่การขอคืนของกลางรถยนต์พิพาทต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 64 ตรี ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษ กล่าวคือ ผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลาง คือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ได้แก่เจ้าพนักงานป่าไม้ จำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการคืนของกลางรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 8