คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ถูกยักยอกในสัญญาฟื้นฟูป่า ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าศูนย์ปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ มีหน้าที่กำหนดแผนงานศูนย์ ควบคุมบังคับบัญชากำกับการมอบหมายงานในการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวได้เบิกเงินงบประมาณของโจทก์ไปดำเนินการฟื้นฟูป่าสงวนแห่งชาติตามแผนงานที่โจทก์กำหนด และจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ไม่ได้ปลูกสร้างสวนป่าทดแทนให้ได้ครบจำนวนตามที่โจทก์กำหนด กลับเบียดบังยักยอกเงินงบประมาณของโจทก์ไป ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินงบประมาณที่ยักยอกไปแก่โจทก์กรณีจึงเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ผู้ทำละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ในฐานละเมิด ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 ไม่ใช่เรื่องเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จึงนำอายุความตามมาตรา448 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 ประกอบด้วยมาตรา 1382 และ 1383 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสงสัยในมูลหนี้เช็ค: การคืนทรัพย์สินก่อนเช็คปฏิเสธ ทำให้หนี้ไม่ชัดเจน ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ช. ซื้อเครื่องประดับจากผู้เสียหายและค้างชำระราคาอยู่ 700,000 บาท จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน250,000 บาท กับเช็คอีก 2 ฉบับ จำนวนเงิน 450,000 บาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเครื่องประดับที่ ช.ซื้อจากผู้เสียหาย ซึ่งเครื่องประดับที่ซื้อมีแหวนเพชร 5 วงกำไลเพชร 3 วง จำเลยได้คืนกำไลเพชรให้ 1 วงแล้วแต่ไม่ได้ความแจ้งชัดว่าเครื่องประดับแต่ละชิ้นมีราคาเท่าใดกำไลเพชรที่จำเลยคืนให้นั้นราคาเท่าใด เมื่อคืนกำไลเพชรแล้วเป็นการหักหนี้จำนวนเท่าใด และเป็นการคืนก่อนหรือหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้น กรณีอาจเป็นได้ว่าจำเลยคืนกำไลเพชรให้ก่อนที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งทำให้หนี้ลดลงและมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินในเช็คพิพาทแต่โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดว่าหนี้ตามเช็คพิพาทยังมีอยู่ นับว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การพิสูจน์เจตนาผู้รับซื้อ ความผิดฐานรับของโจร การแก้ไขโทษจำเลย และการคืนทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการหล่อโลหะและหล่อพระพุทธรูปมานานถึง 20 ปี น่าจะรู้ว่าพระของกลางเป็นรูปหล่อโลหะเก่าที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เนื้อโลหะเก่ามีลักษณะแตกต่างจากโลหะที่หล่อใหม่อย่างเห็นได้ชัด ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ที่ว่า นำไปทาน้ำยาฝังดินเพื่อให้เกิดสนิมทำให้ดูเป็นของเก่าจึงฟังไม่ขึ้น ทั้งเมื่อพิเคราะห์ถึงพระของกลางมีราคาถึง 300,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 รับซื้อไว้ในราคาเพียง 15,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำตัวผู้ขายมาเบิกความต่อศาลสนับสนุนข้อต่อสู้ของตนได้พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รับซื้อพระของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานรับของโจร โจทก์ขอให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของ มิได้ขอให้ศาลริบของกลางดังกล่าว ศาลย่อมริบของกลางนั้นไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกและสมควรคืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของตามที่โจทก์ขอ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ล้างมลทินให้แก่จำเลยที่ 3และที่ 4 ซึ่งต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายข้าวและการคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
การเลิกสัญญา คู่สัญญาจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมกันอย่างไรนั้นต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป สำหรับข้าวที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลย และค่าข้าวที่จำเลยได้รับชำระไปจากโจทก์เป็นทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่คู่สัญญาได้รับไว้จากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์และจำเลยจะต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าข้าวที่จะต้องคืนให้แก่โจทก์ตามมาตรา 391 วรรคสอง ด้วย
เงินค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่โจทก์และจำเลยรับไว้ตามสัญญา และหากได้มีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลย ทั้งค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวก็มิใช่การงานที่คู่สัญญาได้ทำให้แก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวจึงตกเป็นพับแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวระหว่างที่ข้าวยังเป็นของโจทก์เช่นนี้ก่อนโจทก์ส่งมอบข้าวให้แก่จำเลย โจทก์จึงต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวด้วย
โจทก์เป็นฝ่ายผู้ซื้อ ตามปกติโจทก์จะชำระค่าข้าวด้วยเงินของโจทก์เอง หากโจทก์ไม่มีเงินและต้องไปกู้เงินบุคคลภายนอกซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยมาชำระก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์โดยเฉพาะ หาเกี่ยวข้องกับจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าข้าวทั้งหมดให้จำเลย โจทก์จึงตกลงออกหนังสือรับรองให้จำเลยนำข้าวไปจำนำไว้แก่ธนาคารโดยโจทก์ยินยอมเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ซึ่งถ้าหากมีการปฏิบัติตามสัญญาไปครบถ้วน โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกเงินดอกเบี้ยนี้กลับคืนจากจำเลยไม่ และคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดอกเบี้ยได้ เมื่อจำเลยไม่ต้องคืนเงินดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในเงินดอกเบี้ยเช่นว่านั้นให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาลงทุน, การผิดสัญญา, ค่าเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้า, สิทธิในชื่อทางการค้า, การคืนทรัพย์สิน
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุนเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามที่ตกลงกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน และเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืนจำเลยปฏิเสธ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้ จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2496 ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่าง ๆ เมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับ ว.โจทก์อนุญาตให้ว. จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศ โดยโจทก์ยอมให้ ว.ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า"โตราย่า" ของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1ระงับการใช้ชื่อ "โตราย่า" ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาลงทุนร่วมผลิตน้ำผลไม้ การคืนทรัพย์สิน และการคุ้มครองชื่อทางการค้า
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุนเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่1ตามที่ตกลงกันจำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทนและเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืนจำเลยปฏิเสธโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่างๆเมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับว. โจทก์อนุญาตให้ว. จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้วส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศโดยโจทก์ยอมให้ว. ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า"โตราย่า"ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า" ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมฉ้อฉล การคืนทรัพย์สิน และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การขอใบสำคัญเพื่อแสดงว่าคำพิพากษาในคดีใดได้ถึงที่สุดแล้วต้องเป็นกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วโดยไม่มีการ อุทธรณ์หรือฎีกากันอีกทั้งคดี แม้โจทก์จำเลยจะมิได้โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ยังคงอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายและดอกเบี้ยต่อมา ไม่อาจทำให้คดี เสร็จไปทั้งเรื่องจึงถือไม่ได้ว่าคดีได้ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษานั้นได้ถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย ศาลจึงพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วยไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลยมิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213 วรรคท้าย และมาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อนิติกรรมเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้วถือได้ว่า ตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 138 วรรคท้าย เดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัยเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5072/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ไม่ต้องมีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ และสำเนาทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าบ้านพิพาทจากโจทก์มีกำหนด 3 ปี โดยมิได้ทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือ แต่ตามเนื้อหาแห่งคำฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่า หากแต่เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เท่านั้น การฟ้องคดีจึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 538 แห่งป.พ.พ. ฉะนั้นแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
สำเนาทะเบียนบ้านมิใช่เอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทโดยตรง เป็นแต่เพียงหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ที่ระบุว่าบ้านพิพาทมีคนอยู่กี่คน แต่ละคนมีความเกี่ยวพันกันอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของทางราชการเท่านั้น การที่จำเลยมีชื่อในสำเนาทะเบียนบ้านเพียงอย่างเดียว ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามลำดับคำพิพากษา: คืนทรัพย์สินก่อนชำระราคา
คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยคืนรถแทรกเตอร์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 150,000 บาท ในการบังคับคดีจะต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลักแห่งคำบังคับ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังกันไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษา เมื่อจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนรถแทรกเตอร์แก่โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติตามลำดับของคำพิพากษาแล้ว โจทก์จะเลือกวิธีการเรียกร้องให้จำเลยชำระราคารถแทรกเตอร์แก่โจทก์โดยจำเลยไม่ตกลงด้วยไม่ได้ แม้รถ-แทรกเตอร์จะมีสภาพใช้งานไม่ได้ โจทก์เสียหายอย่างไรก็จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทพี่น้องร่วมสายเลือดเป็นเหตุให้เรียกคืนการให้ทรัพย์สินได้
โจทก์ยกที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ อ. เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นน้องสาวโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยด่าว่าโจทก์ว่า "ได้พี่ฉิบหายไอ้ชาติชั่ว เห็นเมียดีกว่าน้อง มึงออกจากที่ดินของกู มึงจะมีที่ดินทำมาหาแดกหรือไม่ เป็นเรื่องของมึงไปเย็ดกันที่อื่นกูไม่ให้เย็ดกันที่นี่" ถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าโจทก์ดังกล่าวหมายความว่าโจทก์เป็นคนชั่ว คนเลวทราม คบไม่ได้เป็นที่น่ารังเกียจ และเป็นเหตุให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
of 7