พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางภาษีอากรเมื่อของเสียหายจากเหตุสุดวิสัยหลังนำเข้า และข้อยกเว้นการคืนภาษี
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้น เมื่อเรือนำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร) ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้
ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร) ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้
ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีอากรและการประเมินราคาที่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร
การขอคืนเงินภาษีอากรในจำนวนที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงภายในสองปีนับแต่วันนำของเข้าเพราะเหตุเกี่ยวด้วยราคาแห่งของใด ๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา10 วรรคท้าย นั้น จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะขอคืนเงินภาษีอากรในจำนวนที่เห็นว่าเสียไว้เกินจำนวนที่พึงเสียจริง มิฉะนั้นย่อมไม่มีสิทธิขอคืนไม่ว่าจะอยู่ในระยะ 2 ปี หรือไม่ การขอคืนหนังสือค้ำประกันมิใช่การขอคืนเงินภาษีอากรจึงไม่ต้องห้ามด้วยบทบัญญัติของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต้องบังคับด้วยอายุความทั่วไป10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กระบอกลูกสูบเครื่องยนต์ที่โจทก์นำเข้านอกจากจะมีเครื่องหมายการค้ายี่ห้อ เอ็น.พี.อาร์. แล้ว ยังมีเครื่องหมายการค้าอื่นด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำสินค้าดังกล่าวของโจทก์ที่มียี่ห้อฮีโน่ประทับอยู่ไปเปรียบเทียบกับอะไหล่แท้ซึ่งเป็นสินค้ายี่ห้อฮีโน่ ปรากฏว่าเป็นสินค้าที่มีเนื้อโลหะ ขนาด และน้ำหนักเหมือนกันทุกประการ ส่วนสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ายี่ห้ออีซูซุหรือโตโยต้านั้น แม้จะไม่ปรากฏผลการเปรียบเทียบก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากอะไหล่แท้ดังกล่าวอย่างไร จึงต้องถือว่าสินค้าของโจทก์มีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามราคาของอะไหล่แท้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายวัตถุดิบยาที่ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีอากร ศาลตัดสินให้คืนภาษีพร้อมดอกเบี้ย
บัญชีท้าย พ.ร.ฎ. ที่กำหนดเรื่องเภสัช ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สำหรับบำรุงหรือรักษาอนามัยมีอยู่ในบัญชีที่ 3 หมวด (1) ว่ายาทุกชนิดซึ่งแพทย์หรือประชาชนนำไปใช้โดยตรงทั้งนี้เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักร ตามบัญชีที่ 3 นี้กำหนดเฉพาะยาที่แพทย์หรือประชาชนนำไปใช้ได้โดยตรง แต่ยากานาไมซินซัลเฟต หรือเจนตาไมซินซัลเฟตมิใช่ยาที่จะนำไปใช้ได้โดยตรง จึงเป็นสินค้าที่มิได้ระบุไว้ในบัญชีทั้งสามท้าย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2517 เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงเทศบาลด้วย การคืนเงินภาษีอากรมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากรให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยด้วยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน โดยไม่คิดทบต้นทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนและตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161(พ.ศ. 2526)ออกตาม ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากร ข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัด จากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2527 จึงครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2530และต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในวันที่ 1 มีนาคม 2530 เป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ขัดต่อกฎหมาย และสิทธิในการขอคืนภาษีเกินภายในกำหนดเวลา
ประมวลรัษฎากร มาตรา 50(1) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยวิธีคูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีเท่าใดให้หาร ด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักภาษีไว้เท่านั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีโดยใช้สูตร สำเร็จของกรมสรรพากรตามคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 ซึ่งระบุวิธีคำนวณแตกต่างไปจากบทบัญญัติดังกล่าวและได้ตัวเลขแตกต่างกันโดยไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้การประเมินโดยวิธีการตามคำสั่งนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาที่ว่าโจทก์ร้องขอให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีที่ชำระเกินไปคืนเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระเกินไปคืนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 63 นั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้วโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอต่อเจ้าพนักงานประเมินแต่โจทก์มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป ตามบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมิน และให้เครดิตภาษีตามจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปในปี พ.ศ. 2526 ให้โจทก์และจำเลยได้รับอุทธรณ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการร้องขอให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าภาษีอากรที่ชำระเกินคืน
ปัญหาที่ว่าโจทก์ร้องขอให้กรมสรรพากรคืนเงินภาษีที่ชำระเกินไปคืนเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไปหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอคืนเงินภาษีอากรที่ได้ชำระเกินไปคืนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 63 นั้น เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้วโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอต่อเจ้าพนักงานประเมินแต่โจทก์มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป ตามบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีอากรขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกเลิกการประเมิน และให้เครดิตภาษีตามจำนวนที่โจทก์ชำระเกินไปในปี พ.ศ. 2526 ให้โจทก์และจำเลยได้รับอุทธรณ์ดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการร้องขอให้จำเลยคืนเงินภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าภาษีอากรที่ชำระเกินคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีจากการขายเส้นใยสังเคราะห์ที่ไม่ใช่ด้ายสำหรับทอผ้า ผู้ขายมีสิทธิฟ้องเรียกคืนได้ แม้ไม่ได้ยื่นคำร้องตามแบบ
สินค้าพิพาทเป็นเส้นใยสังเคราะห์ ที่เรียกว่า พี.โอ.วาย.ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีความยืดหยุ่น ยังใช้ทอผ้าไม่ได้ หากจะนำไปใช้ทอผ้าต้องนำไปผ่านกรรมวิธีตีเกลียว ให้เป็นเส้นด้ายอีกชั้นหนึ่งก่อน สินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ในการทอผ้าตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีการค้า (ฉบับที่ 58) พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ในบัญชีที่ 2 หมวด 2 (9) โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517
การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การขอคืนเงินค่าภาษีไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ยื่นคำร้องพร้อมกับเอกสารประกอบคำร้องว่าคำร้องเป็นความจริง ดังนั้น การที่จำเลยไม่คืนเงินค่าภาษีที่โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้แทนลูกจ้าง และการคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบเพื่อการผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บโจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืนแม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนโดยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกันส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึง ตุลาคม 2513)
ค่าภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายการที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืนแม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนโดยต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกันส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึง ตุลาคม 2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีอากรขาเข้าและเงินวางประกันกรณีส่งออกสินค้าคืน และการประเมินราคาภาษีอากรเพิ่มเติม
โจทก์ได้เสียภาษีอากรสำหรับสินค้าปลากระป๋องเที่ยวที่ 8 ตามใบขนสินค้าขาเข้า คืออากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล รวม 227,046.41 บาท ให้กรมศุลกากรจำเลยไว้แล้ว สินค้าปลากระป๋องเที่ยวนี้โจทก์ได้ส่งกลับออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ทั้งหมดและได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรดังกล่าวจากจำเลยแล้วซึ่งในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินอากรขาเข้าให้แก่โจทก์เก้าในสิบส่วน หรือส่วนที่เกินหนึ่งพันบาทของจำนวนที่ได้เรียกเก็บไว้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 18 และคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาล ตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์วิธีการและอัตราส่วนเช่นเดียวกับการคืนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 78 น.ว. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 20) พ.ศ.2513 มาตรา 11 ฉะนั้น จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีการให้โจทก์ 224,670.94 บาท จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ต้องชำระภาษีการที่จำเลยเรียกเก็บเพิ่มจากโจทก์สำหรับสินค้าปลากระป๋องทั้ง 8 เที่ยวให้จำเลยเสียก่อนจึงจะคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์ตามมาตรา 112 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 หาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องให้อำนาจอธิบดีกักของไว้จนกว่าจะได้รับชำระเงินอากรที่ค้างครบถ้วนและเป็นคนละเรื่องกัน และจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไปนับแต่วันที่โจทก์ขอคืนและจำเลยไม่คืนให้ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โจทก์ผิดนัด
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
โจทก์วางเงินประกันค่าอากรเพิ่มสำหรับสินค้าเที่ยวที่ 8 ไว้คุ้มค่าอากรที่จำเลยประเมินเพิ่ม จำเลยจึงเรียกเก็บเงินประกันค่าอากรเพิ่มเป็นค่าอากรตามที่ประเมินไว้ได้ทันทีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 แต่เมื่อเงินประกันค่าอากรเพิ่มที่จำเลยเรียกไว้เกินจำนวนที่โจทก์ต้องเสียเพิ่ม จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 0.625 บาทต่อเดือน ตามมาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลสำหรับวัตถุดิบนำเข้าเพื่อผลิตอาหารและนม เนื่องจากไม่ใช่ผู้ประกอบการค้า
บริษัทโจทก์ผลิตอาหารและไอสครีมจำหน่าย นำไขมัน แป้งหางนม ฯลฯ ถ้วยไอสครีมถุงกระดาษ ไม้เสียบ กล่องนม ฯลฯเข้ามาใช้ในการผลิตโดยเฉพาะ ไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เรียกเงินที่ชำระค่าภาษีไปคืนได้ไม่ใช่ลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีนำเข้า กรณีผู้ประกอบการค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายศุลกากร และการประเมินภาษี
โจทก์ขอคืนภาษี จำเลยไม่คืนให้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบนำเข้าที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่