คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนเงินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาชี้การประเมินภาษีโรงเรือนสูงเกินควร และการคืนเงินภาษีที่ประเมินเกินจริง รวมถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.
การลดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีกรณีโรงเรือนถูกทำลาย และยังมิได้ทำขึ้นใหม่เท่านั้น จะตีความเลยไปว่ากฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ถึงกำหนดการยื่นรายการเพื่อชำระภาษีด้วยไม่ได้ เพราะตามบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นกรณีทรัพย์ถูกทำลายแล้ว ซ่อมเสร็จในทันใดก็จะลดค่ารายปีลง ดังนั้นการยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีใดก็เพื่อเสียภาษีในปีนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ปิดไว้และงดใช้ประโยชน์ตลอดปีภาษีและโรงเรือนที่โจทก์รื้อถอนไปแล้วก่อนปีภาษี โจทก์ย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินดังที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 9(5ป บัญญัติไว้การประเมินให้โจทก์เสียภาษีสำหรับโรงเรือนดังกล่าวจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โรงเรือนที่ใช้เป็นโรงงานในการประกอบอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการกำหนดค่ารายปีจึงไม่อาจนำดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งเป็นค่าเช่าบ้านที่อยู่อาศัยมาเทียบเคียงได้เพราะเป็นโรงเรือนคนละประเภท เมื่อไม่ได้ความว่า จำเลยกำหนดค่ารายปีโดยไม่ได้คำนึงถึงค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งต้องเสียในปี ต่อมา ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 แล้ว การกำหนดค่ารายปีตลอดจนการคำนวณภาษีของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชี้ขาดการประเมิน เมื่อผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ การที่จำเลยที่ 2 ชี้ขาดว่าการประเมินชอบแล้วให้โจทก์ชำระภาษีตามที่มีการประเมินจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อ ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 แกล้งชี้ขาดให้โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ค่าภาษีที่โจทก์ชำระก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไดว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 รับผิดคืนภาษีที่จำเลยที่ 1 รับชำระไว้ต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การลดหย่อนภาษีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงาน โรงเรือนของบริษัท ท.เป็นโรงเรือนธรรมดา สภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกัน พนักงานของจำเลยที่ 1 นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัท ท. ซึ่งให้บริษัท ข. เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วย จึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง และที่โรงเรือนของบริษัท ท.ให้เช่าได้เดือนละ 100,000 บาท ก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่ว ๆ ไป ทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกัน การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมาย และอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอน ดังนี้ เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สมควรให้ประเมินเพิ่มขึ้นปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ตามทภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้าน ภายในโรงงานมีแท่นสายพาน 3 แท่น ยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพาน มีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพาน มีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลัง ใกล้ ๆ เครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน 2 เครื่อง และมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพาน โรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ ย่อมได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตาม มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไร สำนักงานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมาย ของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475ที่แก้ไขแล้ว
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 39 วรรคสอง มีความหมายว่า ในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืน จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย (ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด 3 เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2592/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนที่ถูกต้อง: การพิจารณาโรงเรือนประเภทอุตสาหกรรม, ส่วนควบ, และการคืนเงินภาษีเกิน
โรงเรือนของโจทก์เป็นประเภทโรงงานโรงเรือนของบริษัทท.เป็นโรงเรือนธรรมดาสภาพของโรงเรือนไม่เหมือนกันพนักงานของจำเลยที่1นำอัตราค่าเช่าโรงเรือนของบริษัทท.ซึ่งให้บริษทข.เช่ามาเป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปีของบริษัทโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงและที่โรงเรือนของบริษัทท.ให้เช่าได้เดือนละ100,000บาทก็เป็นเรื่องเฉพาะรายไม่ใช่อัตราค่าเช่าทั่วๆไปทั้งที่ดินและโรงเรือนดังกล่าวอยู่คนละถนนกันการที่พนักงานของจำเลยที่1แก้ไขค่ารายปีของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียภาษีโรงเรือนเพิ่มขึ้นมากมายและอัตราส่วนที่เพิ่มก็ไม่แน่นอนดังนี้เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายสมควรให้ประเมินเพิ่มขึ้นปีละ20เปอร์เซนต์ตามทภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โรงพ่นสีของโจทก์ให้เป็นที่พ่นสีกระเบื้องลอนคู่มุงหลังคาบ้านภายในโรงงานมีแท่นสายพาน3แท่นยาวตลอดโรงงานติดตั้งถาวรกับเสาเหล็กมีกล่องเหล็กสำหรับอบความร้อนและพ่นสีหุ้นสายพานมีเครื่องพ่นสีติดตั้งอยู่เหนือแท่นสายพานมีเครื่องปั๊มลมอยู่ด้านหลังใกล้ๆเครื่องปั๊มลมมีเครื่องทำความร้อน3เครื่องและมีท่อระบายความร้อนผ่านเหนือแท่นสายพานโรงพ่นสีของโจทก์จึงเป็นโรงเรือนที่ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อให้ดำเนินอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องของโจทก์ย่อมได้รับลดอย่อนค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสามตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475หาจำต้องเป็นเครื่องจักรกลไกที่มีลักษณะเป็นเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าด้วยไม่ โจทก์เป็นบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าและประกอบการอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษเพื่อมุ่งหาผลกำไรสำนักกานนายช่างก็คือสถานที่ดำเนินงานของโจทก์ส่วนโรงอาหารก็จัดไว้เพื่อพนักงานของโจทก์หรือผู้ที่มาติดต่อธุรกิจกับโจทก์ส่วนสถานพยาบาลก็เป็นสถานที่สำหรับรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานของโจทก์โดยเฉพาะถือได้ว่าโจทก์ใช้โรงเรือนดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายของมาตรา10แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475ที่แก้ไขแล้ว พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475มาตรา39วรรคสองมีความหมายว่าในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีส่วนที่โจทก์จำต้องชำรเกินไปและศาลพิพากษาให้คืนจำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์ภายในกำหนด3เดือนนับแต่คำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแต่ถ้าไม่คืนในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ย(ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี)ให้โจทก์โดยนับแต่วันครบกำหนด3เดือนจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ด้าย' ในกฎหมายภาษีอากร กรณีเส้นใยประดิษฐ์ที่ไม่เข้าข่ายด้ายเพื่อทอผ้า และสิทธิคืนเงินภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้าฯบัญชี2หมวด2(9)ระบุว่า'ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้าไม้ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใด'นั้นหมายความว่าสิ่งใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นด้ายโดยไม่ว่าผลิตจากอะไรใช้ทอผ้าได้โดยผ้าที่ทอนั้นเป็นสินค้านำออกขายเกิดรายรับเพื่อเสียภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้าได้แล้วย่อมเป็นด้ายตามความหมายดังกล่าวดังเมื่อสินค้าเส้นใยประดิษฐ์พี.โอ.วายของโจทก์โดยปกติในทางการค้าไม่มีการนำไปใช้ทอผ้าและแม้อาจนำไปทอเป็นผ้าในห้องทดลองผ้าที่ทอนั้นก็ขาดคุณสมบัติจำหน่ายในท้องตลาดไม่ได้สินค้าเส้นใยประดิษฐ์พี.โอ.วายของโจทก์จึงไม่ใช่ด้ายทุกชนิดสำหรับใช้ทอผ้าไม่ว่าผลิตจากฝ้ายหรือเส้นใยอื่นใดตามความหมายที่ระบุในบัญชี2หมวด2(9)โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามมาตรา5(8)แห่งพระราชกฤษฎีกาฯดังกล่าว. เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีสุขาภิบาลตามกฎหมายแต่จำเลยได้รับชำระค่าภาษีจากโจทก์ไว้โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บจำเลยจึงมีหน้าที่คืนเงินภาษีนั้นแก่โจทก์จำเลยมีหนังสือลงวันที่17พฤศจิกายน2523ยืนยันว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าและปฏิเสธไม่คืนเงินภาษีที่เรียกเก็บให้แก่โจทก์จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่วันดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีเงินได้บริษัท, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน พร้อมดอกเบี้ย
ภาษีเงินได้บริษัทจำกัดถึงกำหนดชำระ 150 วัน จากครบรอบระยะบัญชีแต่ละปี อายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 167 นับตั้งแต่วันนั้น ครบ 150 วัน จากรอบปีบัญชี 30 พ.ค.2496 กรมสรรพากรแจ้งการประเมินภาษีเพิ่ม 26 ธ.ค.2505 ไม่เกิน 10 ปี ถือเสมือนฟ้องคดีตาม มาตรา 173 แล้ว โดยเป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 โดยไม่ต้องฟ้อง การแจ้งผลวินิจฉัยอุทธรณ์หลังจากนั้นไม่ขาดอายุความ
เงินเดือนพนักงานของโจทก์ที่สำนักงานภาคส่งเข้ามาสอนพนักงานสาขาในประเทศ เป็นรายจ่ายที่หักได้ จึงต้องคืนเงินนี้แก่บริษัทโจทก์รวมกับดอกเบี้ย ตาม มาตรา 224 ไม่มีกฎหมายให้กรมสรรพากรเอาเป็นเครดิตสำหรับภาษีปีต่อไปเหมือนชำระภาษีล่วงหน้าตาม มาตรา 18ทวิ 20ทวิ และหักกลบลบหนี้ไม่ได้เพราะยังมีข้อต่อสู้ อายุความเรียกเงินคืนมิใช่ลาภมิควรได้ จึงไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี, อายุความลาภมิควรได้, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศนำเขามาในราชอาณาจักร และได้ชำระราคาการค้าตามที่จำเลยได้เรียกเก็บให้แก่กรมศุลกากร ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนี้การกระทำของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรแม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนจำเลยก็ไม่ใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างฎีกา 869/2520)
โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและต่อสู้ด้วยว่าคดีขาดอายุความ ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์อุทธรณ์ในประเด็นนี้ขึ้นมา ดังนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยได้ มิใช่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้ และจำเลยก็ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฉะนั้นการฟ้องเรียกภาษีดังกล่าวคืน จึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (อ้างฎีกาที่ 869/2520 และ 1164/2520)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาต่อมาตาม มาตรา 227, 247 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข คือเรื่องละ 50 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ซึ่งเกินไป เมื่อศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระเกินเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามกฎหมาย
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่างๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและการคืนเงินภาษีเมื่อทรัพย์สินถูกทำลาย กรณีเปลี่ยนกฎหมายและระยะเวลาการใช้ประโยชน์
ภาษีโรงร้าน ตามประกาศภาษีเรือ โรง ร้าน ตึก แพ จ.ศ. 1232 นั้น เป็นภาษีประจำปีที่แล้ว แต่มาเก็บในปีต่อมา ส่วนภาษีโรงเรือนตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน 2475 นั้น เป็นภาษีสำหรับปีใดเจ้าพนักงานก็เก็บในปีนั้น
มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2472 เป็นแต่เพียงหลักในการคำนวนภาษีที่จะเก็บ คือเอาค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักคำนวนภาษี ไม่ได้หมายความว่า ภาษีโรงเรือนประจำ พ.ศ. 2487 เป็นภาษีของปี 2486

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายหลังการเพิกถอนการขายทอดตลาด และดอกเบี้ยนับแต่วันทวงถาม
โจทก์ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อที่ดินอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แก่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 (5) และภาษีที่คำนวณหักไว้ให้นำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดิน เงินภาษีจำนวน 5,486,200 บาท ที่โจทก์ขอคืนในคดีนี้ เป็นเงินที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายนำส่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 52 วรรคสอง เมื่อต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2551 แจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์และให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะเดิม อันมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด และไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การฟ้องขอคืนเงินภาษีจากจำเลยในคดีนี้จึงไม่ใช่การขอคืนเงินภาษีและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียที่อยู่ภายใต้บังคับที่จะต้องยื่นคำร้องขอภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ตรี วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินภาษี 5,486,200 บาท จากจำเลย
ก่อนที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์มีหน้าที่นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมาย และจำเลยรับเงินภาษีที่มีการนำส่งดังกล่าวโดยมีสิทธิตามกฎหมาย การที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังและมิใช่เหตุที่จะโทษจำเลยได้ จำเลยจึงยังไม่มีความรับผิดใด ๆ ที่จะต้องคืนเงินภาษีและดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่เมื่อต่อมามีการเพิกถอนการขายทอดตลาด และโจทก์ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ทวงถามให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว กรณีเป็นหนี้เงิน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้และต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 มกราคม 2552 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงิน
of 3