คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คืนเงินมัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน สัญญาเป็นโมฆียะ ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินที่จำเลยเสนอขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่ระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวาความจริงที่ดินมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้กลฉ้อฉล ลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลอื่น ดังนี้จำนวนเนื้อที่ของที่ดินย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา การที่จำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินในขณะทำสัญญาว่าขาดจำนวนไปกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญาแต่กลับนิ่งเฉย เสีย ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีถือได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยคงจะมิได้กระทำขึ้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจองซื้อรถยนต์และการคืนเงินมัดจำเนื่องจากผู้ขายไม่ส่งมอบรถยนต์ตามกำหนด
โจทก์สั่งจองซื้อรถยนต์จากจำเลยไว้ 1 คัน ในราคา2,370,000 บาท โดยวางเงินมัดจำไว้ 50,000 บาท หลังจากสั่งจองแล้วจำเลยไม่ติดต่อให้โจทก์ไปรับรถ โจทก์จึงมีหนังสือถึงจำเลยบอกเลิกการจองซื้อรถและขอรับเงินมัดจำคืน แม้ใบสั่งจองรถยนต์จะมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่สั่งจองไว้ แต่การสั่งจองได้ระบุยี่ห้อ แบบ และรุ่นของรถยนต์ไว้ ตามปกติผู้ที่ซื้อรถยนต์ใหม่ก็ต้องมีความประสงค์จะได้รถยนต์รุ่นใหม่ที่ทันสมัย ซึ่งก็เป็นที่คาดกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายว่าจะต้องส่งมอบรถยนต์ที่จองไว้ในเวลาอันสมควร ไม่ล่าช้ามากเกินไป นับจากวันที่โจทก์สั่งจองซื้อรถยนต์จนถึงวันที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการจองและขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำเป็นเวลา 5 เดือนเศษ จำเลยก็ยังไม่ส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ ทั้งหลังจากนั้นจำเลยก็ยังเพิกเฉย หาได้เสนอที่จะชำระหนี้โดยส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย สัญญาจองรถยนต์ที่โจทก์จำเลยทำไว้จึงไม่มีผลผูกพันต่อไป โจทก์และจำเลยต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายทราย จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่สมควร
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้โจทก์ไม่สามารถดูดทรายจากในที่ดินของจำเลยได้จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าทรายพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันรับเงินมัดจำจากโจทก์รวมทั้งค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาด้วย โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายว่าโจทก์ได้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างบรรทุกเรือขุดค่าคนงานค่าเช่าเรือดูดทรายค่าเช่ารถขุดและค่าน้ำมันรวมเป็นเงินทั้งสิ้น839,360บาทแม้จำเลยจะมิได้นำสืบหักล้างเป็นประการอื่นก็ตามแต่นอกจากโจทก์มิได้นำหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงยืนยันให้เห็นได้แล้วยังนำสืบขัดกับหลักฐานหนังสือทวงถามที่เรียกจากจำเลยเป็นเงินเพียง461,600บาทอีกทั้งยังได้ความว่าแม้โจทก์จะดูดทรายจากในที่ดินจำเลยไม่ได้แต่โจทก์ก็สามารถนำเครื่องอุปกรณ์การดูดทรายไปดูดทรายจากที่ดินข้างเคียงจำเลยได้อยู่ทำให้เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ถึงกับเสียหายไปทั้งหมดเสียทีเดียวค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาจึงสูงเกินไปสมควรกำหนดให้เพียง300,000บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินหวงห้ามเป็นโมฆะ การคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้าง จัดทำ หรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ เช่นนี้ ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราช-กฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1305 การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่า ที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหาร การวางมัดจำจำนวน300,000 บาท ของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ การรับเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินแปลงที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ราชการทหารเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
ที่พิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหารที่ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าหักร้างจัดทำหรือปลูกสร้างด้ายประการใดๆในที่ดินเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เช่นนี้ที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1305การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทกันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทย่อมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะนั้นโจทก์และจำเลยจะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับเอาประโยชน์แห่งสัญญาจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ โจทก์ไม่รู้มาก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในทางราชการทหารการวางมัดจำจำนวน300,000บาทของโจทก์ต่อจำเลยจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตามความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407เมื่อการวางมัดจำของโจทก์ต่อจำเลยมิได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจการรับเงินมัดจำจำนวน300,000บาทของจำเลยก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307-5308/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบังคับให้โอนทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของทายาทที่ผิดสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินมัดจำส่วนเกิน
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่สมบูรณ์ ผู้ขายมีสิทธิคืนเงินมัดจำ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดไว้ว่าจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์เนื้อที่ประมาณ272ตารางวาแต่จำเลยที่1มีเนื้อที่อยู่เพียง1งาน44ตารางวาซึ่งน้อยกว่าจำนวนเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาถึงเกือบครึ่งการที่จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้โจทก์จึงเป็นการส่งมอบที่ดินที่ขาดตกบกพร่องถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อย่างแน่นอนโจทก์จึงมีสิทธิบอกปัดหรือเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466 โจทก์ขอให้บังคับให้ปฎิบัติตามสัญญาโดยขอให้จำเลยทั้งสองไปแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินที่พิพาทกันใหม่ทั้งที่จำเลยที่2มิได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ด้วยจึงเป็นการบังคับจำเลยที่2ซึ่งมิใช่คู่สัญญาหรือเป็นบุคคลภายนอกให้ปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ด้วยไม่อาจกระทำได้ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมรับโอนที่ดินพิพาทและไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือให้จำเลยที่1ตามสัญญาถือว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา466วรรคสองแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยที่1จึงต้องคืนมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยได้รับไว้ ค่าเสียหายจำนวน1,500,000บาทที่โจทก์เรียกร้องตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเมื่อเหตุที่จำเลยที่1ส่งมอบที่ดินที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ได้เพราะเนื่องมาจากโจทก์คิดคำนวณเนื้อที่ไม่ถูกต้องเองจึงมิใช่ความผิดของจำเลยที่1จำเลยที่1มิใช่เป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่1ได้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้วจึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่2จะต้องไปจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของจำเลยที่2เป็นทางเดินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาจะซื้อขายเป็นโมฆียะ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบตั้งแต่ปี 2517 ว่าไม่สามารถออก น.ส.3 ที่ดินพิพาทและโอนให้แก่ ป. เพราะที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์แต่ปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่แจ้งให้โจทก์ทราบซึ่งหากโจทก์ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ย่อมจะไม่ซื้อเพราะจะขายต่อให้แก่ผู้ใดมิได้การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นไปโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินคือที่ดินพิพาทซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับให้โอนที่ดิน: ศาลฎีกายืนบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ หากไม่ทำตามให้คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหาย
คดีเดิมศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่ามัดจำ และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามฟ้องให้แก่โจทก์หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยที่ 1 คืนเงินมัดจำและค่าเสียหายแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยศาลฎีกาตัดข้อความในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนที่ระบุว่า "...หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย..." ออกเพราะว่าในขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษานั้น จำเลยที่ 1 ได้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้วและเพื่อให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังประสงค์จะให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพราะหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ก็อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อนได้ อันเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติไปตามลำดับคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ในคดีเดิม หาใช่ให้จำเลยที่ 1 เลือกปฏิบัติ โดยเลือกคืนมัดจำและค่าเสียหายแทนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์ และการคืนเงินมัดจำเมื่อต่างฝ่ายต่างยอมเลิกสัญญา
ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.5 ระบุว่า "ตามที่ท่านได้จองซื้ออาคารพาณิชย์ดังกล่าวจากบริษัทกีรทรัพย์ แมนชั่นวิลล์ นั้น ท่านมิได้มาชำระค่างวดติดต่อกันเป็นเวลา 8 งวด (เดือน) นับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2533 ถึง 25เมษายน 2534 ทางบริษัทจึงใคร่เรียนให้ทราบว่า บัดนี้ทางบริษัทได้ลงมือทำการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้ว จึงขอให้ท่านมาติดต่อชำระค่างวดที่สำนักงานบริษัทภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับจดหมาย มิฉะนั้นทางบริษัทจะถือว่าท่านสละสิทธิในการจองซื้อดังกล่าว หากท่านขัดข้องประการใด กรุณาแจ้งให้ทางบริษัททราบด้วย"ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การที่โจทก์ไม่ชำระค่างวดรายเดือนตามสัญญาติดต่อกันมาเป็นเวลา 8 เดือน จำเลยไม่ถือเป็นข้อผิดสัญญาแต่อย่างใด สัญญาจะซื้อจะขายยังมีผลผูกพันกันอยู่ โจทก์มิได้ผิดสัญญา ส่วนข้อความในหนังสือเอกสารหมายจ.5 ที่ว่า "มิฉะนั้นทางบริษัทจะถือว่าท่านสละสิทธิในการจองซื้อ" เป็นข้อความที่จำเลยแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าโจทก์ไม่ชำระค่างวดที่ค้างภายในกำหนด หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้จำเลยทราบ ดังนี้การที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยย่อมมีสิทธิทำได้ กรณีจึงเป็นเรื่องต่างฝ่ายต่างยอมเลิกสัญญาต่อกันโดยไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา โจทก์และจำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะเดิมตามป.พ.พ.มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
of 5