คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุณแก่จำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยาเสพติดใหม่มีผลย้อนหลังเป็นคุณแก่จำเลย โทษจำคุกเบากว่าเดิม
ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ. ฝิ่นพุทธศักราช 2472 โดยบัญญัติให้ฝิ่นหรือมูลฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมาตรา 17บัญญัติห้ามมิให้มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 69 ซึ่งมีโทษเบากว่าโทษฐานมีมูลฝิ่นไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ฝิ่น พุทธศักราช 2472 อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิด แตก ต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังการกระทำผิดเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 69 ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานทุจริต - การใช้บทกฎหมายเฉพาะ (มาตรา 147) ย่อมตัดบททั่วไป (มาตรา 157) และผลของการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อโทษจำคุกเดิม กรณีความผิดหลายกระทง ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ยกเลิกความใน ม. 91 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนว่า ให้ศาลลงโทษทุกกรรม แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจะต้องไม่เกิน 50 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป ถือได้ว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แม้คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ที่ 3 จะถึงที่สุดแล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3(1) ต้องนำ มาตรา 91 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมาใช้ คดีนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 3 คนละ 50 ปี 9 เดือน ศาลฎีกา พิพากษาแก้เป็นจำคุกเพียงคนละ 50 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากบทบัญญัติใหม่ที่บัญญัติถึงการรวมโทษที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 173 กระทง เป็นโทษจำคุก 576 ปี8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 บทเดียว ส่วนกำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากบทบัญญัติใหม่ที่บัญญัติถึงการรวมกระทงความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502มาตรา 4 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ซึ่งเป็นบทหนัก จำคุกกระทงละ 3 ปี 4 เดือนรวม 173 กระทง เป็นโทษจำคุก 576 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 บทเดียว ส่วนกำหนดโทษคงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขการรวมกระทงลงโทษโดยให้ลดโทษจำเลยลงเหลือเพียง 50 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดและการบังคับใช้กฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลย กรณีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจราจรและการใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลยในคดีประมาท
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกน้ำมันด้วยอัตราความเร็ว 40 - 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้สำหรับรถบรรทุกน้ำมันสำหรับในเขตเทศบาล (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2509 ข้อ 10 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477) แต่ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 และได้มีกฎหระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 6 พ.ศ. 2522 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 ได้กำหนดความเร็วสำหรับรถไว้ สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมหรือบรรทุกคนโดยสารให้ขับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร ฯลฯ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ได้บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีจะถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การขับรถของจำเลยที่ 1 จึงไม่เร็วเกินกว่ากำหนดความเร็วตามกฎหมายใหม่ซึ่งบัญญัติไว้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทอันจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจราจรและการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย กรณีความเร็วรถบรรทุก
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกน้ำมันด้วยอัตราความเร็ว 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดไว้สำหรับรถบรรทุกน้ำมันสำหรับในเขตเทศบาล (กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ.2509 ข้อ10 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477)แต่ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 3ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 และได้มีกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 6 พ.ศ.2522 ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อ 1 ได้กำหนดความเร็วสำหรับรถไว้สำหรับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัมหรือบรรทุกคนโดยสารให้ขับในเขตกรุงเทพมหานครเขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 60 กิโลเมตร ฯลฯ และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ได้บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีจะถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การขับรถของจำเลยที่ 1 จึงไม่เร็วเกินกว่ากำหนดความเร็วตามกฎหมายใหม่ซึ่งบัญญัติไว้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทอันจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายใหม่ที่มีผลเป็นคุณแก่จำเลยในคดีอาญา แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ โจทก์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้พระราชบัญญัตินี้มาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาขึ้นมา เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา และมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาใหม่ย้อนหลังไม่ได้ แม้จะเป็นคุณต่อจำเลย ศาลต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2514 จำเลยกระทำความผิดสามกรรมต่างกัน คือฐานมีอาวุธปืนฯไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กระทงหนึ่ง ฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและกระทำอนาจารแก่หญิงนั้น (กระทงหนึ่ง) สองบท และฐานประทุษร้ายหญิงผู้ถูกพาไปนั้นถึงอันตรายแก่กายอีกกระทงหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ให้อำนาจศาลที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้ ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 เป็นต้นไป ข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91 เดิมนั้นเสีย โดยให้ใช้ข้อความในประกาศดังกล่าวนั้นแทน ซึ่งให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดหลายกรรมทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวออกมาบัญญัติการวางโทษแตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลจึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมแก่จำเลย และลงโทษจำเลยเฉพาะฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกระทง(และบท) ที่หนักที่สุดแต่กระทงเดียวได้
of 6