คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: ผลผูกพันต่อจำเลยเมื่อได้รับแจ้งและยินยอม
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่าผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองกับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อๆไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้างอันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ15ก็ตามแต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิมซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่าจำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งและตามสัญญาจ้างเหมาแล้วส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้นเป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใดตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้นส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอนไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่มดังนั้นจะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญต้องมีการชำระบัญชี หากยังไม่ได้ชำระบัญชี โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้าง
ห้างหุ้นส่วนมีทั้งทรัพย์สินและหนี้สินมีทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1061วรรคแรก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนไปทั้งๆที่ยังมิได้มีการชำระบัญชีหรือตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนโดยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแต่อย่างใดนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังเลิกสัญญา: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องเรียกค่าก่อสร้างแต่ละงวดเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วนๆ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 5 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยมิได้ชำระให้โจทก์เป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานในงวดดังกล่าว โดยยังไม่ได้เลิกสัญญาต่อกัน แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 6 ตามเอกสารหมาย จ.4 และงานงวดที่ 3 ตามเอกสารหมาย จ.5 กับเงินที่จำเลยหักไว้ร้อยละสิบของเงินค่างวดเป็นการโต้เถียงความรับผิดตามสัญญาและผลงานคนละงวดคนละตอนกันทั้งเงินร้อยละสิบของเงินค่างวดที่จำเลยหักไว้ โจทก์จะได้รับคืนหรือไม่เมื่อเลิกทำงานกันก่อนที่งานจะเสร็จเรียบร้อย เป็นความรับผิดหลังจากเลิกสัญญาแล้ว จึงเป็นการแบ่งแยกความรับผิดเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน เมื่อมีการผิดนัดหรือความรับผิดในส่วนใดโจทก์ย่อมฟ้องส่วนนั้นได้ทันที และฟ้องในส่วนที่จะต้องรับผิดใหม่ได้อีกต่างหาก ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง: ความล่าช้าการจ่ายเงิน, ความเสียหายพิเศษ, และการคาดเห็นเหตุการณ์
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาตามมาตรฐานงานก่อสร้างฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างระบุว่า"ก่อนทำการก่อสร้างอาคาร ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการทดสอบหาความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดินด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดตามหลักวิชา จำนวนจุดและตำแหน่งที่จะทำการทดสอบให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของวิศวกรของผู้ว่าจ้าง" จากข้อความที่ว่าจำนวนจุดและตำแหน่งที่จะทำการทดสอบให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของวิศวกรผู้ว่าจ้าง แสดงว่าจำเลยต้องส่งช่างไปกำหนดจุดเจาะและตำแหน่งให้โจทก์ก่อน โจทก์ยังไม่สามารถลงมือทำงานได้ทันทีภายหลังจากได้ทำสัญญา การที่จำเลยส่งช่างไปล่าช้าจึงเป็นการผิดเงื่อนไขของสัญญา ข้อฎีกาในเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยอ้างว่าหนี้ระงับไปแล้วแต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ และมิได้รวมอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์เสียหายเพียงใดหรือไม่ แม้จำเลยจะนำสืบไว้ในศาลชั้นต้นและกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ก็เป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามสัญญาจ้างก่อสร้างกำหนดให้โจทก์ผู้รับจ้างต้องให้ธนาคารทำหนังสือค้ำประกันจำนวนร้อยละ 5 ของราคาค่าจ้างเหมานำมามอบให้จำเลยและให้โจทก์ต้องนำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกัน ของธนาคารในประเทศมามอบให้จำเลยเพื่อเป็นประกันการเบิกเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 15 ของค่าจ้างเมื่อวงเงินตามสัญญาจ้างทั้งสองฉบับมีจำนวนถึง 33,900,000 บาท และ 35,350,000 บาท ตามลำดับโจทก์จึงต้องขอเครดิตจากธนาคาร โดยโจทก์ต้องนำเงินร้อยละ50 ที่โจทก์ได้รับล่วงหน้าจากจำเลยมาฝากประจำไว้เป็นประกันและโจทก์ต้องมอบอำนาจให้ธนาคารรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจากจำเลยแทนโจทก์การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ล่าช้าทำให้โจทก์ต้องขายลดตั๋วแลกเงินแก่ธนาคารเป็นจำนวนร้อยละ 80 ของจำนวนที่โจทก์ได้รับค่าจ้างแต่ละงวดเพื่อนำมาใช้จ่ายในการก่อสร้างซึ่งโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีโจทก์จึงได้รับความเสียหายในจำนวนเงินดังกล่าวตามดอกเบี้ยและระยะเวลาที่ล่าช้า ซึ่งโจทก์เคยมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยแจ้งให้ทราบแล้วว่าโจทก์มีเงินหมุนเวียนไม่เพียงพอ จำเป็นต้องกู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยจำนวนมาก กรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์ที่โจทก์ต้องขอสินเชื่อและหลักประกันทางการเงินจากธนาคารและต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารล่วงหน้าก่อนแล้ว การที่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่โจทก์ล่าช้าทำให้โจทก์เสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษที่จำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าก่อสร้าง การชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยตรง และผลของการวางทรัพย์
การที่ ต. โอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์รับเงินงวดค่าก่อสร้างโจทก์และ ต. แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย จำเลยได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ต. หมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ต. ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ กรณีเป็นเรื่องจำเลยรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนแล้ว ไม่ต้องด้วยมาตรา 331 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยตรง จำเลยไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยให้โจทก์ไปรับจากสำนักงานวางทรัพย์กลางซึ่งโจทก์ไม่อาจรับได้ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตามหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือตอบรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้อง ระบุว่า ต. ขอโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินจากจำเลยให้โจทก์แต่ผู้เดียว รวมทั้งเงินเพิ่มอื่น ๆอีกด้วย แสดงเจตนาว่าจะโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินงวดดังกล่าวทั้งหมดซึ่งรวมถึงค่าเดินท่อประปาและค่าติดตั้งเครื่องสูบน้ำด้วย การวางเงินของจำเลย ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง มิใช่วางให้โจทก์รับไป หากแต่วางโดยมีเงื่อนไขให้สำนักงานวางทรัพย์กลางจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่วางเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 331 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามมาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6279/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าก่อสร้าง: สัญญาจ้างเหมาเลิกกันแล้ว เงินค่าก่อสร้างงานงวดที่ 8 ไม่ใช่สิทธิของจำเลย
หุ้นส่วนและผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 เข้าไปทำการก่อสร้างงานงวดที่ 8 ในฐานะที่ตนเป็นผู้รับจ้างจากผู้ร้อง มิใช่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เงินที่โจทก์ขออายัดนั้นจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยที่ 1 จะมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง โจทก์จึงไม่อาจขออายัดเงินจำนวนดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าจ้างงานงวดที่ 8 ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการวินิจฉัยในผลของประเด็นที่ว่ามีเงินค่าจ้างของจำเลยที่ 1อยู่ที่ผู้ร้องตามที่ขออายัดหรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่ากันมาโดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การชำระค่างานที่ทำเสร็จแล้ว แม้มีข้อตกลงยึดหน่วงได้ แต่ต้องหักลบกับค่าเสียหายจริงเท่านั้น
โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาฟ้องเรียกเอาค่าการงานที่โจทก์ได้ทำให้จำเลยไปแล้ว และการงานนั้นตกได้แก่จำเลยโดยไม่อาจทำให้ คืนสภาพเดิมได้ แม้จะมีข้อสัญญาให้การงานที่ทำไปแล้วตกเป็นของ จำเลยโดยโจทก์ไม่อาจเรียกค่าทดแทนได้ แต่สัญญาข้อดังกล่าวกำหนด ไว้เพื่อเอาการงานที่ทำไปเป็นการประกันหรือชดใช้ค่าเสียหายของ จำเลยส่วนหนึ่งอันจะพึงมีในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาและจำเลยได้บอก เลิกสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ หรือให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยได้รับความเสียหายเกินกว่าค่าของ การงานที่โจทก์ทำไป ทั้งยังให้การรับว่าค่าการงานที่โจทก์ทำไปตก ได้แก่จำเลยคิดเป็นเงินจำนวนหนึ่ง จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระเงิน ในส่วนที่จำเลยได้รับประโยชน์จากค่าการงานของโจทก์ตามที่จำเลย ให้การรับ มาจะยึดหน่วงสินจ้างไว้ทั้งสิ้นหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง-บอกเลิกสัญญา-ใช้ประโยชน์งาน: ศาลพิจารณาจ่ายค่าก่อสร้างตามส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน
การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ จำเลยต้องจ่ายค่าก่อสร้างบางส่วน ความรับผิดร่วมจากความประมาท
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บ้านสร้างบนที่ดินส่วนตัว แม้สามีช่วยค่าก่อสร้าง ก็ไม่เป็นสินสมรส
จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทบนที่ดินส่วนตัวของตน แม้สามีจะช่วยออกเงินในการปลูกสร้างด้วยถึงหนึ่งในสาม แต่ตามพฤติการณ์เป็นการช่วยเหลือกันฉันสามีภริยา หาใช่เป็นการร่วมลงทุนปลูกบ้านพิพาทด้วยไม่ ดังนี้บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทในระหว่างสมรสจึงไม่ทำให้บ้านพิพาทเป็นสินสมรสอันจะเป็นทรัพย์มรดกของสามีครึ่งหนึ่งด้วย.
of 6