พบผลลัพธ์ทั้งหมด 634 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนภริยาจากการแสดงตนเป็นชู้สาว แม้จะมีการฟ้องหย่าและแยกกันอยู่
ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ภริยาชอบด้วยกฎหมายที่จะเรียกร้องค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวโดยมิได้มีเงื่อนไขว่าภริยาจะต้องเกิดความเสียหายอย่างใดหรือจะต้องเป็นภริยาที่อยู่กินกับสามีและอุปการะเลี้ยงดูกัน หรือต้องไม่มีคดีฟ้องหย่ากันอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดวันจ่ายตามสัญญาและผลของการเพิ่มค่าทดแทนโดยรัฐมนตรีและศาล
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 อันเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือ ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯและศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าว
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือ และอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน... ผู้ใดไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 ... มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี... ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว" เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินตามมาตรา 9 วรรคสี่ ให้แก่โจทก์เสร็จแล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่จำต้องรอหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน และตามบทบัญญัติมาตรา 25 วรรคหนึ่งดังกล่าวมิได้ห้ามผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนก่อนได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ การที่โจทก์ไปยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินต่อจำเลยที่ 1 ก่อนวันที่โจทก์จะได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ได้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีกด้วยโดยไม่ได้โต้แย้งเลยว่าอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่ชอบประการใด ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 ได้และถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มได้ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
ส่วนเงินค่าทดแทนความเสียหายของต้นไม้และที่ดินกับสวนส้ม โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งได้ ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ยกเหตุนี้ขึ้นแก้ฎีกาของโจทก์ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนเงินค่าทดแทนความเสียหายของต้นไม้และที่ดินกับสวนส้ม โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งได้ ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ยกเหตุนี้ขึ้นแก้ฎีกาของโจทก์ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เงินทดแทนที่ดินในส่วนที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้วมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจากที่คำนวณไว้ในเบื้องต้นอีก 10 ตารางวา เป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องจ่ายให้แก่โจทก์อันเนื่องจากการดำเนินการเวนคืนที่ดินของโจทก์โดยอาศัย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยเป็นการเฉพาะ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามกฎหมาย แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องเป็นกรณีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนกันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 8 มีนาคม 2539 ดังนั้น หากฝ่ายจำเลยดำเนินการรังวัดจำนวนเนื้อที่ดินของโจทก์ในส่วนนี้ถูกต้องครบถ้วนมาตั้งแต่แรกแล้ว เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ 10 ตารางวา ซึ่งคำนวณในเบื้องต้นขาดไปเป็นเงิน 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 มีนาคม 2539 ด้วย เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จำเลยจ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามมาตรา 33 โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงิน คือนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องดอกเบี้ยส่วนนี้ร้อยละ 13.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงพิพากษาให้ได้ไม่เกินคำขอ
จำเลยทั้งสามฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าทดแทนที่ดินนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นแล้ว ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยทั้งสามฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าทดแทนที่ดินนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นแล้ว ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน กรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเวนคืนจนโจทก์ฟ้อง
โจทก์ขอให้ฝ่ายจำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน แต่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง หลังจากนั้นฝ่ายจำเลยมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: เจ้าของที่ดินมีหน้าที่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือหลังรับค่าทดแทนครบถ้วน
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเนื้อที่ 3 งาน 52 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้าน 2 ชั้น 1 หลัง ที่ดินดังกล่าวถูกเวนคืนเนื้อที่ 102 ตารางวา และสิ่งปลูกสร้าง 1 ใน 3 อยู่ในเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืน จำเลยขอให้โจทก์เวนคืนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือ อ้างว่าใช้การไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลัง โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายและค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนฯ โดยจำเลยยอมรับเงินค่าทดแทนที่ดินและค่าทดแทนสำหรับการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างทั้งหลัง ซึ่งสัญญากำหนดให้จำเลยต้องรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา ต่อมาจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนแต่หาได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือไม่ อ้างว่ารัฐไม่มีความจำเป็นต้องใช้สิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือซึ่งอยู่นอกเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืน ดังนี้ หากแปลความกฎหมายดังกล่าวตามที่จำเลยอ้าง ย่อมจะไม่เป็นธรรมแก่สังคม และเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินหลีกเลี่ยงบทบังคับแห่งกฎหมาย ทั้งที่ตนเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม เมื่อจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือออกไปตามกำหนด จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญาและถือว่าได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ย, อำนาจฟ้องกรณีที่ดินเหลือ
เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันไว้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินฯ มาตรา 10 เนื่องจากไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2539 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา โดยได้รับในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ตามความในมาตรา 26 วรรคสาม อันเป็นกฎหมายพิเศษโดยไม่ต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 แต่อย่างใด
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงาน แม้เริ่มงานก่อนเวลา และซื้อของนอกสถานที่ ก็ยังอยู่ในขอบเขตงาน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้าน มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่างและอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่ ณ สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามบันทึกข้อมูลขอบข่ายหน้าที่ของพนักงาน ซึ่งโดยลักษณะงานย่อมจะต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่น และต้องทำงานนอกสถานที่ทำงานของโจทก์เพราะต้องจัดซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากตลาด โจทก์ได้กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเป็นรายเดือนให้ด้วย โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจาก ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำการปกติ แสดงแจ้งชัดว่า ท. ต้องเริ่มทำงานให้โจทก์ก่อนเวลา 8 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาทำงานปกติของพนักงาน แม้ ท. จะยังมิได้ลงชื่อเข้าทำงานก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะตามสภาพความเป็นจริง ท. ได้เริ่มปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้ว สามารถลงชื่อเข้าทำงานในภายหลังได้ เมื่อขณะ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ท. ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ เมื่อซื้อของเสร็จกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง เป็นเหตุให้ ท. ได้รับบาดเจ็บกรณีจึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง อันเป็นการประสบอันตรายตามความหมายของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินค่าทดแทนเวนคืน กรณีจำเลยจ่ายเงินให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของ
โจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ถูกเวนคืน หากแต่โต้แย้งว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง มิใช่บุคคลที่จำเลยทั้งสองได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้ไป จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 25 และ 26 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และกรณีนี้ไม่มี บทบัญญัติกฎหมายใดที่ให้โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ เมื่อการกระทำของ จำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (2) ให้กำหนดเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เป็นของโจทก์ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่ ม. ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของจึงไม่ชอบ
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสองประวิงคดี การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองไม่มีความสุจริต ขอให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (6) นั้น เห็นว่าปัญหานี้โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6597-6598/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและการคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน กรณีพระราชกฤษฎีกาหมดอายุ
ขณะที่ออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางซื่อ - หัวลำโพง - พระโขนง ? พ.ศ. 2540 เวนคืนที่ดินของโจทก์นั้น พระราชกฤษฎีกาฯ ที่กำหนดให้ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะต้องเวนคืนหมดอายุบังคับใช้ไปแล้ว กรณีนี้ต้องถือว่าเป็นการใช้บังคับ พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มีการออก พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เข้ากรณีตามมาตรา 23 ซึ่งมาตรา 23 ประกอบมาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าหน้าที่เวนคืนจ่ายเงินค่าทดแทนแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกิน 120 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการได้กำหนดเงินค่าทดแทนแล้ว วันที่ช้าที่สุดเจ้าหน้าที่เวนคืนจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์คือวันที่ครบกำหนด 120 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว