คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทำงานในวันหยุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981-991/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุด: เงินเปอร์เซ็นต์จากยอดขายไม่ใช่ค่าจ้าง แต่ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณ
เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหรือเงินเปอร์เซ็นต์ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติคือเกินวันละ 8 ชั่วโมง มิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เพราะมิใช่เป็นเงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมค่าจ้างทุกประเภท ทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพ
ค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 39 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายถึงค่าจ้างทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำด้วย นายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างเพิ่มขึ้นแต่เฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบของนายจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุดคำนวณจากค่าจ้างทุกประเภท รวมเงินเดือนและค่าครองชีพ นายจ้างจ่ายเพิ่มเฉพาะเบี้ยเลี้ยงไม่ได้
ค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 39แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายถึงค่าจ้างทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนและค่าครองชีพที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำด้วย นายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างเพิ่มขึ้นแต่เฉพาะเบี้ยเลี้ยงตามระเบียบของนายจ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุด แม้ข้อตกลงสภาพการจ้างจะไม่ได้ระบุ
จำเลยจ่ายเงินค่าครองชีพให้พนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกินที่กำหนดไว้โดยเสมอหน้ากัน. เป็นจำนวนแน่นอนประจำทุกเดือนมีลักษณะอย่างเดียวกับเงินเดือนของพนักงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย'เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการ ใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: มาตรา 165(9) อายุความ 2 ปี มิใช่มาตรา 166 อายุความ 5 ปี
ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดมิใช่จำนวนที่ตกลงไว้แน่นอนแม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาก็ตาม ฉะนั้นจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) ใช้บังคับสำหรับบุคคลผู้รับจ้างใช้การงานส่วนบุคคลเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างเพื่อแรงงานที่ทำดังนั้นจึงใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างองค์การของรัฐไม่ได้แต่เนื่องจากค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างอันถือเป็นเงินจ้างหรือค่าจ้าง กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุดสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเฝ้าดูแลสถานที่: สิทธิได้รับค่าจ้าง 2 เท่า
กฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2541) ฯ กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตาม มาตรา 63 แต่ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ซึ่งวันทำงานไม่ได้หมายถึงวันที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติตามความหมายของคำว่า "วันทำงาน" ในมาตรา 5 แต่หมายถึงวันทำงานที่ลูกจ้างได้ทำ และตาม มาตรา 62 (2) บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ดังนั้นหากลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานตามปกติก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ หากลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานในวันหยุดคือ 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย โจทก์ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จึงได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันหยุดหรืออัตรา 2 เท่า ของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037-6065/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่ผู้ทำหน้าที่ขนส่งโดยตรง
โจทก์ที่ 1 ถึง 5 และที่ 7 เป็นพนักงานปากเรือ มีหน้าที่ขับเรือยนต์ โจทก์ที่ 6 เป็นพนักงานปากเรือมีหน้าที่เป็นคนงานลูกเรือประจำเรือยนต์ โดยเรือยนต์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่พนักงานปากเรือมีหน้าที่ชี้ตำแหน่งเรือสินค้าและรับเชือกเพื่อให้เรือสินค้าผ่านร่องน้ำเจ้าพระยาเข้าเทียบท่าเรือ โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 27 ที่ 36 และที่ 37 มีหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้าด้วยยานพาหนะหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้ายสินค้าซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แต่เมื่อเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าอยู่ในบริเวณของท่าเรือ ไม่ได้ส่งสินค้าพ้นจากบริเวณของท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่การขนส่ง โจทก์ที่ 18 มีหน้าที่จัดเก็บสินค้า โจทก์ที่ 20 มีหน้าที่ตรวจสอบบัตรค่าภาระและค่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า โจทก์ที่ 25 มีหน้าที่ตรวจสอบค่าภาระตู้สินค้าและตรวจสอบสินค้า เป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งสินค้า จึงไม่ใช่การขนส่งสินค้าเช่นกัน โจทก์ที่ 30 ถึงที่ 33 และที่ 35 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในบริเวณท่าเรือ ไม่ใช่การทำงานขนส่ง ดังนั้น งานที่โจทก์ร่วม 29 คน ทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) โจทก์รวม 29 คน จึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25, 26
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 30 (1) ระบุว่า รัฐวิสาหกิจที่ให้พนักงานซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นทำงานในวันหยุด ให้รัฐวิสาหกิจนั้นจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่พนักงานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อโจทก์รวม 29 คน ทำงานในวันหยุดจึงมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 30
of 2