พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: การกำหนดค่าปรับ การแจ้งหนี้ และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาขอปล่อยชั่วคราว ส. ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนกับโจทก์ ในวงเงิน 120,000 บาท เมื่อถึงกำหนด นัดส่งตัว ส. ในวันที่ 17 เมษายน 2542 ธ. ไม่นำตัว ส. มาส่งโจทก์จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระ ตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงิน 120,000 บาท มาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 ธ. เพิกเฉย ธ. จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากค่าปรับสัญญาประกัน: การกำหนดค่าปรับ, การแจ้งหนี้, และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนด ถ้าผิดนัดยินยอมชดใช้เงิน 120,000 บาท การที่ ธ. ไม่ส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนด จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงินมาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 เมื่อ ธ. ไม่ชำระจึงเป็นการผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับ 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา ค่าจ้างเพิ่มเติม การส่งมอบงานล่าช้า และสิทธิในการฟ้องคดีใหม่
หนังสือสัญญาจ้างมีข้อความว่า "เมื่อผู้รับจ้างได้ทำการแล้วเสร็จตามงวดงานผู้รับจ้างจะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าจ้างให้ทราบแล้วให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนไปตรวจรับงานในงวดนั้น ๆ ภายในกำหนดเวลา 5 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้รับจ้างหากผู้ว่าจ้างไม่ทำการตรวจรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวหรือไม่ยอมรับงานโดยไม่แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบเกินกว่ากำหนด ให้ถือว่าผู้ว่าจ้างได้ตกลงรับมอบงานไว้ครบถ้วนถูกต้องตามงวดงานนั้น ๆ ว่าเรียบร้อยแล้วทุกประการ" การที่โจทก์จะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ทราบเพื่อตรวจรับงานตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จะต้องทำการก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนด้วย มิใช่ว่าเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ตรวจรับงานโดยที่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจรับงานภายใน 5 วัน จะถือว่าตรวจรับงานไว้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างได้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 8 บางส่วน โจทก์ทั้งสองมิได้นำสืบให้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คนละเท่าใด จึงให้ยกคำขอส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องบังคับตามคำขอดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ นั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้ไม่สมฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้เสียทั้งหมดเพราะสามารถที่จะวินิจฉัยให้คดีนี้ได้อยู่แล้ว การที่ศาลชั้นต้นให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองฟ้องใหม่ในประเด็นนี้อีกจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่เลือกที่จะฟ้องคดีใหม่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ โจทก์ทั้งสองจะขอให้ศาลฎีกากลับให้สิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบหาได้ไม่
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าก่อสร้างงวดที่ 8 บางส่วน โจทก์ทั้งสองมิได้นำสืบให้แน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 คนละเท่าใด จึงให้ยกคำขอส่วนนี้ แต่ไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องบังคับตามคำขอดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ นั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้ไม่สมฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้เสียทั้งหมดเพราะสามารถที่จะวินิจฉัยให้คดีนี้ได้อยู่แล้ว การที่ศาลชั้นต้นให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองฟ้องใหม่ในประเด็นนี้อีกจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่เลือกที่จะฟ้องคดีใหม่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ โจทก์ทั้งสองจะขอให้ศาลฎีกากลับให้สิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงค่าปรับในสัญญาจ้างแรงงาน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ข้อตกลงที่ลูกจ้างจะชดใช้ค่าเสียหายและค่าปรับให้แก่นายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นข้อตกลงในทางแพ่งโดยทั่วไปซึ่งนายจ้างและลูกจ้างสามารถทำข้อตกลงดังกล่าวได้ และค่าปรับก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเบี้ยปรับคือเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า หากสูงเกินส่วนศาลก็ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายพร้อมค่าปรับจำนวน 5 เท่า ของราคาทรัพย์หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
แม้สัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 จะระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทุกประการก็ตาม แต่ความรับผิดดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานให้แก่โจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานหมาย จ. 3 เท่านั้น ส่วนข้อตกลงตามหนังสือแนบท้ายสัญญาจ้างหมาย จ. 4 ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงจะชดใช้ค่าปรับอีกส่วนหนึ่งจำนวน 5 เท่าของค่าเสียหายแก่โจทก์ เพิ่งจัดทำขึ้นภายหลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหมาย จ. 5 แล้ว โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อให้ความยินยอมด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับจำนวน 5 เท่า แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากสัญญาจ้างซ่อมแซม: หลักประกัน, ค่าปรับ, ค่าควบคุมงาน และการหักกลบ
สัญญาที่โจทก์จ้างจำเลยตรวจซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบุว่า "ในขณะทำสัญญาผู้รับจ้าง (จำเลย) ได้นำหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันความรับผิดตามสัญญาของธนาคาร ท. ภายในวงเงินร้อยละห้าของเงินค่าจ้างตามสัญญาเป็นเงิน 44,405 บาทมอบให้แก่ผู้ว่าจ้าง (โจทก์) เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา" ดังนั้น เงินตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่จำเลยมอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่าจำเลยจะปฏิบัติตามสัญญา และหากจำเลยผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายอย่างน้อยก็คือเงินที่เป็นหลักประกันนั่นเอง เงินตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอื่นอีก กรณีต้องนำเงินที่ธนาคาร ท. ส่งมาไปหักกับค่าเสียหายนั้นก่อนในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลแล้วไม่นำชำระ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล การที่ผู้ถูกกล่าวหารับเงินค่าปรับจากจำเลยแทนศาล เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลไม่ว่าจะทุจริตหรือไม่ เมื่อเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับ ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. จำเลยไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1)
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. จำเลยไปกักขังที่สถานีตำรวจ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้นแต่มิได้เอาหมายกักขังไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจรับเงินค่าปรับแทนศาลและละเลยการส่งตัวผู้ต้องหา เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยละเมิดอำนาจศาล
การที่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาและจำเลยไม่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับจากจำเลยมาชำระต่อศาล แต่มารับเงินค่าปรับจากจำเลยเองแทนศาลเช่นนี้ เป็นการไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และจะเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตได้โดยง่าย เมื่อผู้ถูกกล่าวหาไม่นำเงินไปชำระต่อศาลเป็นเหตุให้ศาลไม่ได้รับค่าปรับไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและไม่มีการส่งตัว ส. ไปกักขังแทนค่าปรับที่สถานีตำรวจฯ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อราชการและศาลชั้นต้น จึงไม่รอการลงโทษ
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ส่วนกรณีที่ไม่มีการส่งหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาและตัว ป. ไปกักขังที่สถานีตำรวจฯ เพราะมีการปล่อยตัว ป. ไปก่อนแล้ว และมีผู้เอาหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาไปด้วย ผู้ถูกกล่าวหาเป็นแต่เพียงผู้รับหมายกักขังดังกล่าวมาจากเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น แต่มิได้เอาหมายกักขังดังกล่าวไป และมิได้เป็นคนรับเงินค่าปรับและปล่อยตัว ป. ไป การกระทำของผู้ถูกกล่าวหากรณี ป. ยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่นำเข้าโดยมิได้เสียภาษีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการลดค่าปรับ
พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 บัญญัติว่า "ของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ประกอบด้วยมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)
พุทธศักราช 2482 ท่านให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงว่าบุคคลใดจะต้องรับโทษหรือหาไม่" จึงต้องริบรถยนต์ ของกลางตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจคืนให้แก่จำเลยได้
พุทธศักราช 2482 ท่านให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยมิพักต้องคำนึงว่าบุคคลใดจะต้องรับโทษหรือหาไม่" จึงต้องริบรถยนต์ ของกลางตามกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจคืนให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างที่ชอบธรรมและการมีสิทธิเรียกค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยแล้ว แม้จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือตัวแทนของจำเลยมิได้เป็นผู้รับเอกสารนั้น การแสดงเจตนาแก่จำเลยผู้อยู่ห่างโดยระยะทางดังกล่าว ก็ถือว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคหนึ่ง อีกทั้งก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหลายครั้ง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงชอบ ถือได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงในวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลย และเมื่อได้ความว่าโจทก์สงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับไว้ก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับในความผิดฐานนำเข้าของต้องจำกัด และการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ชัดแจ้งในตอนต้นแล้วว่า "ฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาใน ราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรปรับรวมเป็นเงิน 26,000 บาท" แม้จะระบุเพิ่มเติมต่อไปว่า "ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 13,000 บาท" ก็ถือได้ว่าเป็นเพียงการที่ศาลชั้นต้นประสงค์จะแบ่งความรับผิดของจำเลยทั้งสองให้เป็นสัดส่วนเพื่อสะดวกแก่การกักขังแทนค่าปรับเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ปรับจำเลยทั้งสองรวมเป็นเงิน 26,000 บาท ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกัน มิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับ โดยแยกให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 6 เดือน การกักขังแทน ค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ว่าหากต้องกักขังแทนค่าปรับให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยนั้นไม่ถูกต้องและเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะเรื่องค่าปรับว่าเป็นการปรับรวมกัน มิใช่แยกปรับเป็นรายบุคคลในความผิดฐานร่วมกันรับเอาไว้ซึ่งของต้องจำกัดมิให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร และแก้ไขเรื่องการจ่ายสินบนนำจับของผู้นำจับและรางวัลของผู้จับ โดยแยกให้ชัดเจนตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ และ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินห้าปี หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีจำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ ไม่เกิน 40,000 บาท จึงกักขังแทนค่าปรับได้ไม่เกิน 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 เมื่อมีจำเลย 2 คน ต้องแบ่งการกักขังแทนค่าปรับจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 6 เดือน การกักขังแทน ค่าปรับที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ว่าหากต้องกักขังแทนค่าปรับให้เฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยนั้นไม่ถูกต้องและเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง