พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยล้มละลาย แม้โจทก์ขอถอนฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย และบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และภาระที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 ศาลฎีกาจึงคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการวางค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จำเลยต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 กรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนจึงจะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นผู้ไม่สามารถจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมได้ในชั้นอุทธรณ์ ต้องสาบานตัวตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามคำขอจะถูกยก
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์เคยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาโจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้สาบานตัวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาล และผลของการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 234 หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยมิได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การวางค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ทำให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติ ถ้าคู่ความไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแรงงาน ไม่ครอบคลุมหนี้ตามคำพิพากษา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27 มีความหมายอย่างชัดแจ้งว่า การยื่นฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใดๆ ในศาลแรงงาน ให้ได้รับการยกเว้นเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น คดีนี้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดและให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ เงินที่จำเลยทั้งสองต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานมิใช่ค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลแรงงานกลาง จำเลยทั้งสองต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 โดยต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลแรงงานกลางเสียก่อน
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
(คำสั่งคำร้องศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาประกันตัว, การลดค่าปรับ, ค่าฤชาธรรมเนียม, และดอกเบี้ยผิดนัด – ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นเงิน540,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลดค่าปรับตามสัญญาให้ปรับจำเลยเป็นเงิน200,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ขอลดค่าปรับลงอีกโดยอุทธรณ์ว่าค่าปรับไม่ควรเกินสัญญาละ 50,000 บาท รวมสองสัญญาควรเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์ขอให้งดหรือยกเว้นค่าปรับแก่จำเลย ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกเว้นค่าปรับจึงไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายหนึ่งใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลซึ่งจะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินค่าปรับที่กำหนดจำนวนแน่นอนตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาโจทก์ไม่อาจฟ้องโดยกำหนดทุนทรัพย์ให้ต่ำกว่าที่ข้อสัญญาระบุไว้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องตามทุนทรัพย์ที่กำหนดในศาลชั้นต้นโดยสุจริต เมื่อศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจลดค่าปรับตามสัญญาอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยเช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เต็มตามที่โจทก์ฟ้องจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
โจทก์แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลมีอำนาจที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 161
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นหนี้เงิน เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามขอเป็นคนอนาถา: การงดสืบพยานและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้อง จำเลยทั้งสามทราบวันนัดไต่สวนคำร้องโดยชอบแล้วไม่มาศาล และไม่ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยไม่นำพยานมาสืบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนอนาถา ให้จำเลยทั้งสามนำค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 15 วันนั้น เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยทั้งสามแล้วว่า จำเลยทั้งสามไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสาม คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถาหลังยื่นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเด็ดขาด, ฎีกาไม่ได้, ค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนและค่าฤชาธรรมเนียมจากลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้บุคคลภายนอกเท่านั้น
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ชอบที่จะได้รับการชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่านั้น ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้แก่ทายาทของผู้ตายเป็นความผิดตามคำพิพากษาอันเกิดจากการดำเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว