พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ค่าสินค้า-ลังไม้: ศาลฎีกาชี้เจตนาคู่สัญญา, ผู้จำนองไม่จำต้องรับผิดหากไม่มีข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและยืมลังไม้ใส่ขวดแก้วจากโจทก์หลายคราวติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2515ถึง พ.ศ. 2522 เมื่อได้มีการคิดบัญชีกันปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งลังไม้คืนโจทก์จำนวน 54,788 ลัง เป็นเงิน 687,551 บาทจำเลยที่ 1 ชำระค่าลังไม้ให้โจทก์เกินไป 4 บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเป็นค่าลังไม้แก่โจทก์ 687,547 บาท ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่เข้าใจชัดแจ้งแล้ว ไม่เคลือบคลุม ส่วนเรื่องจำนวนลังไม้ที่ว่าต่างราคากันและชนิดของลังไม้ที่จำเลยที่ 1 รับไปเมื่อใดต้องคืนเมื่อใด เหลือเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป เช่น เรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับความชำรุดหรือเสื่อมราคาจากการใช้ทรัพย์ที่ให้ยืมแต่ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแก้วซึ่งโจทก์ขายให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติกับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกัน จึงนำมาตรา 649 มาบังคับหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 สัญญาจำนองระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 แม้ขณะทำสัญญาจำนองจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งค่าผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและค่าลังไม้ แต่เมื่อไม่ได้ระบุในสัญญาจำนองว่าเป็นการประกันการชำระหนี้ค่าลังไม้ด้วย และเป็นที่เห็นได้ชัดว่าลังไม้ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาจำนองประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเจตนาของคู่สัญญาจำนองยังเป็นที่สงสัยอยู่จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายจะต้องเสียเปรียบในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 11 ตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจากโจทก์ในวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองระบุเพียงว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ระบุในสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ การจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้รายเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้จำนองหนี้รายนี้ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3ผู้จำนองหนี้ดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์และฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 3ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงินค่าสินค้า: ฟ้องเคลือบคลุมทำให้ศาลยกฟ้อง แม้ศาลมีอำนาจพิจารณาถึงจำเลยที่ไม่ยื่นอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ลูกค้าของโจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อในเดือนมิถุนายน 2535 ไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์ในเขตจังหวัดลำปางแล้วยักยอกเงินไปเป็นของตน รวมเป็นเงิน 360,065.86 บาทในวันที่ 26 มิถุนายน 2535 ครบกำหนดจำเลยที่ 1 นำส่งค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเงินค่าสินค้า แต่ทิ้งงานและเอาเงินค่าสินค้าไป โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้าง แต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดและเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกค้าคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ชัดเจน ยักยอกเงินค่าสินค้า ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ลูกค้าของโจทก์สั่งซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อในเดือนมิถุนายน 2535ไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์ในเขตจังหวัดลำปางแล้วยักยอกเงินไปเป็นของตน รวมเป็นเงิน 360,065.86 บาทในวันที่ 26 มิถุนายน 2535 ครบกำหนดจำเลยที่ 1 นำส่งค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเงินค่าสินค้าแต่ทิ้งงานและเอาเงินค่าสินค้าไป โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์เป็นค่าสินค้าอะไรบ้างแต่ละรายการเป็นเงินเท่าใดและเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากลูกจ้างคนใดของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงมิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, การรับสภาพหนี้, และการฟ้องเรียกหนี้ค่าสินค้า: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าโจทก์รวมเป็นเงินเท่าใด จำเลยได้รับสินค้าแล้วไม่ชำระ โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว ก็เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนวิธีการสั่งซื้อสินค้า การรับส่งสินค้า การชำระเงินค่าสินค้า และการทวงถามนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม มูลหนี้เดิมขาดอายุความ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับว่าเป็นหนี้โจทก์และจะชำระหนี้ให้นั้นเป็นหนังสือรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยจะยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์อีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากค่าสินค้าเป็นสัญญากู้ และน้ำหนักพยานหลักฐานในการพิสูจน์สัญญากู้
เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เมื่อจำเลยขอรับเช็คคืน แล้วทำสัญญากู้ให้ไว้กับโจทก์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยต้องผูกพันรับผิดตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้บัญญัติมิให้ศาลยอมรับฟังพยานที่เป็นพี่น้องกับคู่ความฝ่ายที่อ้าง โจทก์มี บ. น้องของโจทก์ซึ่งลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เบิกความยืนยันตรงกับโจทก์ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำนวน 170,000 บาท ส่วนจำเลยเองมีแต่เพียงตัวจำเลยเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุนว่ารับสินค้าของโจทก์ไปขาย แล้วโจทก์ให้จำเลยลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นครูการที่จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้โดยไม่มีการกรอกข้อความนั้น ผิดวิสัยของบุคคลที่มีความรู้ทั่ว ๆ ไปคำพยานโจทก์จึงมีน้ำหนักและเหตุผลให้รับฟังได้ดีกว่าพยานจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3095/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ค่าสินค้าขณะฟ้อง ทำให้ละเสียอายุความเรียกค่าปรับ
ขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นเวลาที่อายุความครบบริบูรณ์แล้วโจทก์ได้ยอมรับในคำฟ้องว่าโจทก์ต้องชำระราคาสิ่งของที่ซื้อให้แก่จำเลยตามสัญญาและยอมหักค่าสิ่งของดังกล่าวเป็นค่าปรับส่วนหนึ่งคำรับของโจทก์ตามฟ้องดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: สันนิษฐานชำระ ณ เวลาส่งมอบ หากโจทก์ไม่พิสูจน์ประเพณีค้า
แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องประเพณีการค้าที่ให้ชำระราคาสินค้าภายใน 180 วัน นับแต่วันส่งของตามคำฟ้อง แต่จำเลยก็ยืนยันว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องร้องภายใน 2 ปีนับแต่มีการส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายกันแสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเพณีการค้าดังกล่าว และได้โต้แย้งว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องให้จำเลยชำระราคาสินค้าภายใน 180 วันตามที่โจทก์กล่าวอ้างด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดแจ้ง ก็ต้องเป็นไปตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายซึ่งบัญญัไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490 ว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาสินค้าในเวลาเดียวกันกับที่ตนได้รับสินค้าที่ซื้อขาย โจทก์จึงใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ในวันที่ส่งมอบสินค้านั่นเอง อายุความจึงเริ่มนับเมื่อโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อขายให้แก่จำเลยเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตาม มาตรา 165(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลตเตอร์ออฟเครดิต: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้า, อายุความ 10 ปี, และการผิดสัญญา
คำฟ้องของโจทก์นอกจากจะกล่าวถึงวิธีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเริ่มตั้งแต่จำเลยยื่นคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และโจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ตามคำขอเพื่อชำระราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากต่างประเทศแล้ว ยังคัดสำเนาเอกสารทั้งหมดแนบมาท้ายฟ้องด้วยทั้งคำให้การของจำเลยก็แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องดีอยู่แล้ว ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเงินที่ได้ชำระค่าสินค้าไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ชำระค่าสินค้าอันเป็นเวลาที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยยื่นคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อโจทก์ เมื่อโจทก์สนองรับย่อมเกิดเป็นสัญญาผูกพันกัน เมื่อโจทก์ชำระราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อให้แก่ผู้ขายไป จำเลยก็มีหน้าที่ชำระเงินคืนแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าบริการ
เอกสารที่โจทก์ทำไว้ไม่มีข้อความผูกมัดให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยทำทรัสต์รีซีท การที่โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยทำทรัสต์รีซีทจึงเป็นสิทธิของโจทก์และถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยและค่าบริการแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเงินที่ได้ชำระค่าสินค้าไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่ชำระค่าสินค้าอันเป็นเวลาที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยยื่นคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อโจทก์ เมื่อโจทก์สนองรับย่อมเกิดเป็นสัญญาผูกพันกัน เมื่อโจทก์ชำระราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อให้แก่ผู้ขายไป จำเลยก็มีหน้าที่ชำระเงินคืนแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าบริการ
เอกสารที่โจทก์ทำไว้ไม่มีข้อความผูกมัดให้โจทก์ต้องยอมให้จำเลยทำทรัสต์รีซีท การที่โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยทำทรัสต์รีซีทจึงเป็นสิทธิของโจทก์และถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยและค่าบริการแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินค่าสินค้าซ้ำซ้อนและการแก้ไขคำพิพากษาผิดพลาด
โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์หักเงินจากที่ศาลชั้นต้นบังคับให้จำเลยชำระให้โจทก์ เป็นการหักซ้ำ เพราะศาลชั้นต้นได้เคยหักเงินจำนวนนี้ไว้แล้ว ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เงินที่ศาลชั้นต้นหักเป็นคนละจำนวนกับที่ศาลอุทธรณ์หัก จึงไม่เป็นการหักซ้ำ แต่ศาลฎีกายังมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหักเงินจำนวนนั้นเพราะพยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยติดหนี้เงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงิน 5,312 บาทผิดเป็น 5,213 บาท ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้เองโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงิน 5,312 บาทผิดเป็น 5,213 บาท ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้เองโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143