คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าสินไหม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยประมาทเลินเล่อไม่ดูแลรักษาท่าเทียบเรือ ทำให้สะพานหัก โป๊ะคว่ำ ผู้โดยสารเสียชีวิต จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหม
จำเลยผู้เดียวเป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากท่าเรือสี่พระยาขณะเกิดเหตุเรือของจำเลยกำลังเข้าเทียบท่าเพื่อรับคนโดยสารได้มีผู้โดยสารลงไปที่โป๊ะจำนวนมากทำให้สะพานไม้ที่ทอดไปสู่โป๊ะหักเป็นเหตุให้โป๊ะคว่ำจมน้ำบุตรโจทก์ซึ่งรอโดยสารเรือของจำเลยที่โป๊ะจมน้ำตายการตายของบุตรโจทก์เป็นผลโดยตรงของการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคงปล่อยให้สะพานไม้ที่ทอดสู่โป๊ะหักจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: การที่ผู้เอาประกันมีส่วนรู้เห็นในการก่อให้เกิดความเสียหาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหม
แม้ในคดีอาญา ว. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์ถูกฟ้อง ศาลฟังว่า ว.ไม่ใช่คนร้ายวางเพลิงทรัพย์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่เมื่อมูลคดีเป็นคนละอย่างไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง (คดีนี้) ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งคู่ความในคดีแพ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญา จึงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญามาพิพากษาคดีแพ่งไม่ได้
บริษัทโจทก์มีส่วนรู้เห็นให้มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเพื่อหวังเงินประกัน จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด เพราะวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตของบริษัทโจทก์ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: การมีส่วนรู้เห็นในการวางเพลิงทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
แม้ในคดีอาญา ว.ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์ถูกฟ้องศาลฟังว่าว. ไม่ใช่คนร้ายวางเพลิงทรัพย์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย แต่เมื่อมูลคดีเป็นคนละอย่างไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง (คดีนี้) ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันภัย ทั้งคู่ความในคดีแพ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญา จึงถือข้อเท็จจริงในคดีอาญามาพิพากษาคดีแพ่งไม่ได้
บริษัทโจทก์มีส่วนรู้เห็นให้มีการวางเพลิงเผาทรัพย์ของตนเพื่อหวังเงินประกัน จำเลยผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดเพราะวินาศภัยเกิดขึ้นเพราะความทุจริตของบริษัทโจทก์ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 879

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์โดยไม่มีมูลและประวิงคดี ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันค่าสินไหมทดแทน
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา บริษัทผู้ร้องโดย พ.กรรมการผู้จัดการร้องขัดทรัพย์ ก่อนชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288(1) เมื่อปรากฏว่า พ.ซึ่งยื่นคำร้องแทนบริษัทผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้โดยเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว ที่ดินที่นำยึดก็มีชื่อในโฉนดเป็นของจำเลยที่ 1ผู้ร้องเป็นแต่อ้างว่าให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อแทนไว้ พยานหลักฐานเบื้องต้นจึงพอแสดงว่าคำร้องขัดทรัพย์ไม่มีมูล และยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลย่อมสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อศาลได้ และการวางเงินเช่นนี้เป็นเพียงเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่โจทก์อาจได้รับเท่านั้น ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องได้รับความเสียหายจริงๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15204/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากทายาทผู้ทำละเมิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังสัญญาสิ้นสุด
ศาลพิพากษาให้โจทก์และ ด. ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้เสียหาย ตามคดีซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อโจทก์ได้ใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปตามคำพิพากษาแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิของเจ้ามรดกผู้ทำละเมิดตามสัญญารถร่วมได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) กรณีมิใช่โจทก์ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกิดขึ้นหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงนำอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 เมื่อสิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม มาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 9 ทำไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญารถร่วมระหว่างโจทก์กับผู้ตายอยู่ในเล่มเดียวกับหนังสือสัญญารถร่วม มีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 9 ยอมรับผิดต่อโจทก์กรณีผู้ตายทำสัญญารถร่วมไว้กับโจทก์ตามหนังสือสัญญาลงวันที่ 28 มิถุนายน 2526 ซึ่งกำหนดเวลาของสัญญารถร่วมระบุไว้ในข้อ 9 ว่า สัญญาฉบับดังกล่าวมีอายุจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2526 โดยไม่ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดแล้วผู้ตายไปต่อสัญญารถร่วมในปีต่อมา หรือหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 1 ไปต่อสัญญารถร่วม จำเลยที่ 9 ได้ไปทำสัญญาค้ำประกันการต่อสัญญารถร่วมให้ไว้แก่โจทก์อีก หรือยินยอมให้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้มีผลต่อไป อีกทั้งในหนังสือสัญญาค้ำประกันก็ไม่มีข้อความระบุว่าหากมีการต่อสัญญารถร่วมให้ถือว่าการค้ำประกันของจำเลยที่ 9 มีผลต่อไปด้วย ซึ่งสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด ความผูกพันตามสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 9 ย่อมสิ้นไปเมื่อสัญญารถร่วมครบกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2526 เมื่อเหตุรถคันพิพาทชนกับรถคันอื่น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2537 จำเลยที่ 9 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4928/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะผู้เสียหายในคดีอาญา: การพิจารณาจากพฤติการณ์การทะเลาะวิวาทและผลกระทบต่อสิทธิการเรียกร้องค่าสินไหม
ในการพิพากษาคดีอาญา หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาคดีอื่น เพราะคดีอาญาโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงที่กล่าวหานั้น จึงจะฟังลงโทษจำเลยได้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะมีผลผูกพันคดีอื่นได้ก็เฉพาะที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 46 เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอื่นไม่ผูกพันในคดีนี้ ศาลก็ย่อมวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีนี้ตามที่ปรากฏในสำนวน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอื่นแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน โจทก์ร่วมทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมจากโรงแรมกรณีรถหาย: 6 เดือนนับจากผู้พักอาศัยเช็คเอาท์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 โดยอาศัยมูลหนี้ที่ ต. ได้นำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปจอดในบริเวณโรงแรมของจำเลยที่ 1 แล้วเข้าพักในโรงแรม ต่อมารถยนต์คันดังกล่าวหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดในความสูญหายของรถยนต์ที่ผู้พักอาศัยพามาจึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งคนเดินทางหรือแขกอาศัยหากได้พามาตาม ป.พ.พ. มาตรา 674 ซึ่งการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่คนเดินทางหรือแขกอาศัยออกไปจากสถานที่นั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 678 แม้โจทก์จะอ้างคำฟ้องว่าลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาและมีคำขอให้คืนรถยนต์แต่โจทก์ก็ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่มีอายุความ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2564

of 2