พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนและค่าฤชาธรรมเนียมจากลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้บุคคลภายนอกเท่านั้น
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 ชอบที่จะได้รับการชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่านั้น ค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้แก่ทายาทของผู้ตายเป็นความผิดตามคำพิพากษาอันเกิดจากการดำเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี จึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนและค่าฤชาธรรมเนียมจากลูกจ้างของนายจ้างที่กระทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนนาง ศ. ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ตายฟ้องโจทก์แต่ผู้เดียวในฐานะนายจ้างให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้าง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกจึงชอบที่จะได้รับชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่ได้ใช้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเท่านั้น สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ชดใช้ให้แก่ทายาทของผู้ตายเป็นความรับผิดตามคำพิพากษา อันเกิดจากการดำเนินคดีระหว่างโจทก์กับทายาทของผู้ตายและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง และการแก้ไขจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ได้รับอันตรายสาหัส และถึงแก่ความตาย มีประเด็นตรงกับประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7274/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมรถจากผู้ทำละเมิด แม้ยังไม่ได้ชำระเงินค่าซ่อม แต่ได้ส่งซ่อมแล้ว ถือใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว
ขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้ชำระเงินค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยเนื่องจากอู่ยังซ่อมไม่เสร็จ แต่การที่โจทก์นำรถยนต์ไปให้อู่ทำการซ่อมและทางอู่ได้รับทำการซ่อมให้ในราคาที่ตกลงกันไว้นั้น โจทก์ย่อมมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าซ่อมตามจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้ ทั้งต่อมาทางอู่ได้ทำการซ่อมรถยนต์จนเสร็จและมอบรถยนต์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเรียบร้อยแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วตามจำนวนเงินราคาค่าจ้างที่ได้ตกลงไว้กับอู่ โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของเจ้าของรถยนต์มาเรียกร้องค่าซ่อมรถยนต์จากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้อู่ไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ให้อู่ไปเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากโจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากครูสั่งนักเรียนวิ่งกลางแดดจนเสียชีวิต ศาลลดค่าสินไหมทดแทนจากความประมาทเลินเล่อและโรคประจำตัว
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาพลศึกษาถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนให้ได้รับความปลอดภัยในชั่วโมงดังกล่าวด้วย การสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามซึ่งมีระยะทางประมาณ 200 เมตร ต่อ 1 รอบ จำนวน 3 รอบ ถือเป็นการอบอุ่นร่างกายนับเป็นสิ่งที่เหมาะสม แม้เมื่อนักเรียนวิ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยในการวิ่งครบ 3 รอบแล้ว จำเลยที่ 1 ได้สั่งให้วิ่งต่ออีก 3 รอบ จะถือเป็นวิธีการทำโทษที่เหมาะสมตามควรแก่พฤติการณ์แล้วแต่การที่นักเรียนทั้งหมดยังวิ่งได้ไม่เรียบร้อยแบบเดิมอีก จำเลยที่ 1 ก็ควรหามาตรการหรือวิธีการลงโทษโดยวิธีอื่น การที่สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบและเมื่อนักเรียนยังทำได้ไม่เรียบร้อย จำเลยที่ 1 ก็สั่งให้วิ่งต่อไปอีก 3 รอบ ในช่วงเวลาหลังเที่ยงวันอากาศร้อนและมีแสงแดดแรงนับเป็นการใช้วิธีการลงโทษที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนซึ่งอายุระหว่าง 11 ปี ถึง 12 ปีได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเป็นความประมาทเลินเล่อ ทั้งการออกกำลังกายโดยการวิ่งย่อมทำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ จำนวนรอบที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อเป็นเวลานานย่อมเป็นอันตรายต่อหัวใจที่ไม่ปกติจนทำให้เด็กชาย พ. ซึ่งเป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วล้มลงในการวิ่งรอบที่ 11 และถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาเพราะสาเหตุระบบหัวใจล้มเหลว จึงเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ทราบว่าเด็กชาย พ. เป็นโรคหัวใจก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยที่ 1 ทำการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อทำให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพอันเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้จะมีบุคคลภายนอกนำเงินมาให้โจทก์เพื่อช่วยเหลืองานศพหรือจัดการศพเด็กชาย พ. ก็ไม่อาจทำให้ความรับผิดชอบตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ต้องหมดไปหรือลดน้อยลงไปได้ กรณีจึงไม่อาจนำเงินช่วยงานศพที่โจทก์ได้รับจากสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนมาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
การที่บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะถูกทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตกเป็นผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าในปัจจุบันและในอนาคตภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นอย่างไร เด็กชายจะสามารถทำงานมีรายได้มาอุปการะโจทก์ได้หรือไม่
จำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษาสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม 3 รอบ เพื่ออบอุ่นร่างกายและการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้นักเรียนวิ่งต่อไปอีก 3 รอบ เพราะนักเรียนวิ่งกันไม่เรียบร้อยและไม่เป็นระเบียบ เป็นวิธีการสอนและลงโทษนักเรียนตามสมควรแก่เหตุและเหมาะสม แต่การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้วิ่งอีก 3 รอบสนาม ในครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 เป็นการใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มุ่งหวังให้นักเรียนได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตจำเลยที่ 1 ยังมีความหวังดีต่อนักเรียนต้องการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้เหมือนดังวิสัยของครูทั่วไป แม้เป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือกระทำการประมาทอย่างร้ายแรง เพียงแต่กระทำโดยประมาทเลินเล่อขาดความรอบคอบและไม่ใช้ความระมัดระวังเช่นผู้มีอาชีพครูสอนพลศึกษาจะพึงปฏิบัติและสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสุขภาพของเด็กชาย พ. ไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อยู่เหนือความคาดหมายของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างความไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดชอบตามกฎหมายไม่ได้ แต่ศาลก็สามารถนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของการทำละเมิดได้
แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่ขณะที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้วสิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิด จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ฉะนั้นเมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
การที่จำเลยที่ 1 ทำการสอนวิชาพลศึกษาของโรงเรียนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 การออกคำสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนามเพื่ออบอุ่นร่างกายและการลงโทษนักเรียนให้วิ่งรอบสนาม ก็ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย เมื่อทำให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพอันเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย แม้จะมีบุคคลภายนอกนำเงินมาให้โจทก์เพื่อช่วยเหลืองานศพหรือจัดการศพเด็กชาย พ. ก็ไม่อาจทำให้ความรับผิดชอบตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ต้องหมดไปหรือลดน้อยลงไปได้ กรณีจึงไม่อาจนำเงินช่วยงานศพที่โจทก์ได้รับจากสมาคมผู้ปกครองและครูของโรงเรียนมาหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
การที่บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะถูกทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตกเป็นผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าในปัจจุบันและในอนาคตภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะเป็นอย่างไร เด็กชายจะสามารถทำงานมีรายได้มาอุปการะโจทก์ได้หรือไม่
จำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์สอนวิชาพลศึกษาสั่งให้นักเรียนวิ่งรอบสนาม 3 รอบ เพื่ออบอุ่นร่างกายและการที่จำเลยที่ 1 สั่งให้นักเรียนวิ่งต่อไปอีก 3 รอบ เพราะนักเรียนวิ่งกันไม่เรียบร้อยและไม่เป็นระเบียบ เป็นวิธีการสอนและลงโทษนักเรียนตามสมควรแก่เหตุและเหมาะสม แต่การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้วิ่งอีก 3 รอบสนาม ในครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 เป็นการใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมและไม่ชอบแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มุ่งหวังให้นักเรียนได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตจำเลยที่ 1 ยังมีความหวังดีต่อนักเรียนต้องการอบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้เหมือนดังวิสัยของครูทั่วไป แม้เป็นเหตุให้เด็กชาย พ. ถึงแก่ความตายแต่จำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือกระทำการประมาทอย่างร้ายแรง เพียงแต่กระทำโดยประมาทเลินเล่อขาดความรอบคอบและไม่ใช้ความระมัดระวังเช่นผู้มีอาชีพครูสอนพลศึกษาจะพึงปฏิบัติและสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสุขภาพของเด็กชาย พ. ไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อยู่เหนือความคาดหมายของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างความไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดชอบตามกฎหมายไม่ได้ แต่ศาลก็สามารถนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของการทำละเมิดได้
แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ แต่ขณะที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้วสิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิด จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ฉะนั้นเมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด คำนวณจากราคาทรัพย์สินขณะเกิดเหตุ ไม่ใช่ราคาซื้อเดิม
ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย การคำนวณราคาทรัพย์เพื่อชดใช้แทนนั้นต้องคิดฐานที่ตั้งจากราคาในขณะเกิดเหตุละเมิด ไม่ใช่คิดจากราคาซื้อเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้าง/ทายาท: ต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ บ.ผู้ตายจะเรียกให้ บ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ บ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปนั้น จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ชดใช้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วคืนจากลูกจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ บ. ชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนตามที่จำเลยผู้ก่อเหตุต้องรับผิด หากไม่ส่งเอกสารกรมธรรม์ตามคำสั่งศาล
โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุจากจำเลยที่ 2เพื่อนำสืบว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเท่ากับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ได้รับคำสั่งเรียกพยานเอกสารแล้ว ไม่ยอมส่งกรมธรรม์ประกันภัยตามคำสั่งศาลและไม่นำสืบพยานให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ต้องนำสืบโดยกรมธรรม์ประกันภัยว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เต็มจำนวนเท่ากับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ได้ยอมรับแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค กรณีบริษัทประกันปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนโดยอ้างเหตุไม่เปิดเผยอาการเจ็บป่วย
จำเลยเป็นบริษัทรับประกันชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปจึงมีผู้เอาประกันภัยกับจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อมีประชาชนผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยอีกจำนวนมากที่ประสบกับเหตุลักษณะทำนองเดียวกับ พ. ทั้งจำเลยไม่ได้กำหนดเป็นระเบียบไว้ว่า อาการน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นโรคที่ต้องห้ามที่จำเลยจะไม่รับประกันภัย การที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควรดำเนินคดีแทน พ. ผู้บริโภค จึงได้มอบหมายให้โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเป็นผู้ดำเนินคดีกับจำเลย จึงเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยแจ้งความล่าช้าหลังรถหาย
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และ ป.พ.พ.มาตรา 867 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่างๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่เอามาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง 6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่เอามาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง 6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้