พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกค่าอากรและการจำกัดเงินเพิ่มภาษีการค้า
กรณีที่จำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร สิทธิของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 10 วแรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ดังนั้น จะนำอายุความสิบปีและการนับอายุความโดยเริ่มนับจากวันที่นำของเข้าตามมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับหาได้ไม่ จึงตย้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม (มาตรา 193/31) และการนับอายุความก็ต้องให้นับเริ่มแต่ขณะที่จะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12)
เงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ กำหนดเงื่อนไขสำคัญว่า มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับนับแต่วันตรวจปล่อยจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยมิได้ระบุว่าเงินเพิ่มภาษีการค้ามิให้เกินกว่าจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่มโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เงินเพิ่มภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ กำหนดเงื่อนไขสำคัญว่า มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับนับแต่วันตรวจปล่อยจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยมิได้ระบุว่าเงินเพิ่มภาษีการค้ามิให้เกินกว่าจำนวนภาษีการค้าที่ต้องชำระเพิ่มโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จึงไม่ถูกต้อง และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร โดยไม่หักค่าอากรที่ชำระแล้ว
ค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469: ราคาของและค่าอากรที่ใช้คำนวณโทษ
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติในเรื่องกำหนดโทษปรับไว้ว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" นั้นคำว่า "ราคาของ" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" นั้นก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไปเช่นกัน จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงถึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องกฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษปรับมิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากรแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งหมายให้คิดเฉพาะราคาของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่าอากรในการคำนวณโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว คำว่า"ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยศาลอุทธรณ์นำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมร้อยละสิบห้าของค่าปรับ แต่คดีนี้เป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลางและไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมร้อยละสิบห้าของค่าปรับ แต่คดีนี้เป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลางและไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ค่าอากรเฉพาะศุลกากร ไม่รวมภาษีสรรพสามิตและมูลค่าเพิ่ม
พระราชบัญญัติ ญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้นคำว่า "ค่าอากร" หมายถึง ค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษปรับโดยให้ลงโทษจำคุกด้วย แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยให้หนักขึ้นโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลาง และไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละ 20 ของราคาของกลาง ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสองหาใช่ร้อยละ 15 ของค่าปรับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางศุลกากร ต้องคำนวณจากราคาสินค้าและค่าอากร รวมกันเป็นเกณฑ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วจึงต้อปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกัน มิใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกค่าอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ
ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษปรับคดีหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: พิจารณาจากราคาของรวมค่าอากร และขอบเขตของคำว่า 'ค่าอากร'
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติถึงกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลไว้ว่า ฯลฯ สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ฯลฯ" บทบัญญัตินี้มิได้จำกัดว่า ค่าอากรนั้นให้คิดเฉพาะค่าอากรที่เสียขาดไป จึงย่อมหมายถึงค่าอากรทั้งหมดสำหรับของนั้น อย่างไรก็ดีคำว่า "ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงภาษีการค้า อันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษปรับฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: พิจารณาจากราคาของรวมค่าอากรทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะค่าอากรขาด
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติถึงกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลไว้ว่า 'ฯลฯ สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ฯลฯ' บทบัญญัตินี้มิได้จำกัดว่า ค่าอากรนั้นให้คิดเฉพาะค่าอากรที่เสียขาดไป จึงย่อมหมายถึงค่าอากรทั้งหมดสำหรับของนั้น อย่างไรก็ดีคำว่า'ค่าอากร' ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงภาษีการค้า อันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับทางศุลกากรต้องอาศัยความยินยอมของผู้ถูกปรับ การหักเงินประกันค่าอากรเพื่อชำระค่าปรับโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับกรมศุลกากรจำเลยคืนเงินอากรขาเข้าของโจทก์ที่วางเป็นประกันไว้แล้วเหลืออยู่จากจำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ
กรมศุลกากรจำเลยเห็นว่าโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จชนิดและราคาสินค้าผ้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากร จึงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาปรับโจทก์สองเท่าของอากรที่ขาด คณะกรรมการเปรียบเทียบมีมติเห็นชอบด้วย แล้วนิติกรของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์มาทำกความตกลงตามมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบ แต่โจทก์ไม่มาติดต่อจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ดังนี้ แสดงว่าโจทก์หาได้ยินยอมตามที่เปรียบเทียบและใช้ค่าปรับแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่โจทก์ทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากรจำเลยพร้อมกับนำหลักฐานสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางค้ำประกันไว้ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ขอรับสินค้าที่ถูกกักไว้เพื่อไปจำหน่าย มิใช่เรื่องที่โจทก์ยินยอมให้ปรับ จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปรับโจทก์ และจะหักเงินประกันค่าอากรขาเข้าซึ่งเหลืออยู่ที่จำเลยชำระค่าปรับไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ไป
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ
กรมศุลกากรจำเลยเห็นว่าโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จชนิดและราคาสินค้าผ้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากร จึงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาปรับโจทก์สองเท่าของอากรที่ขาด คณะกรรมการเปรียบเทียบมีมติเห็นชอบด้วย แล้วนิติกรของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์มาทำกความตกลงตามมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบ แต่โจทก์ไม่มาติดต่อจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ดังนี้ แสดงว่าโจทก์หาได้ยินยอมตามที่เปรียบเทียบและใช้ค่าปรับแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่โจทก์ทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากรจำเลยพร้อมกับนำหลักฐานสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางค้ำประกันไว้ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ขอรับสินค้าที่ถูกกักไว้เพื่อไปจำหน่าย มิใช่เรื่องที่โจทก์ยินยอมให้ปรับ จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปรับโจทก์ และจะหักเงินประกันค่าอากรขาเข้าซึ่งเหลืออยู่ที่จำเลยชำระค่าปรับไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ไป