คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าอุปการะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงานในครอบครัวเป็นค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะ, ค่าใช้จ่ายงานศพจำเป็น, ดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่ง ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย
ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
ป.พ.พ. มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิง ธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษาถึงที่สุด
ธ. ผู้เยาว์เกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นบิดา โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ธ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบิดาให้รับ ธ. เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยได้ ไม่เป็นคดีอุทลุม การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้น มีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันคลอด และศาลไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรอีก เพราะผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว ให้บันทึกในทะเบียนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเด็กฟ้องรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู แม้ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้มีอายุ 16 ปีเศษ ซึ่งฟ้องขอให้จำเลยผู้เป็นบิดารับรองโจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยในคดีเดียวกันนี้ได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 วรรคสอง ให้อำนาจเด็กที่มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ อีกทั้งขณะยื่นฟ้องโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุม ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 และการฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว และเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตรนั่นเอง โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน30 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบเพราะตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว เพื่อให้บันทึกในทะเบียนเท่านั้น ประกอบกับโจทก์มิได้มีคำขอบังคับดังกล่าวมาในคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่พิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าปลงศพ, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และการคุ้มครองแรงงาน
โจทก์เป็นสามีของผู้ตาย ไม่ปรากฏว่ามีพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นโจทก์จึงเป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยสิทธิทายาทโดยธรรมของผู้ตายเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและมีหน้าที่ต้องจัดการทำศพผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าปลงศพภริยาโจทก์ได้ แม้บิดาโจทก์จะได้ออกเงินให้โจทก์ใช้จ่ายในการทำศพ จำเลยก็จะมายกเป็นข้อปัดป้องความรับผิดของจำเลยหาไม่ได้
ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานและอธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้แก่มารดาสามี และบุตร เป็นการจ่ายเงินเพื่อการคุ้มครองแรงงาน ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นสามีของลูกจ้างผู้ตาย ยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรื่องละเมิดได้
ในตอนต้นของคำฟ้องโจทก์มีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียว แต่โจทก์เป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง จ. และปรากฏในคำฟ้องว่าโจทก์กับนาง ส. ผู้ตายมีบุตรด้วยกันคือ เด็กหญิง จ. ทั้งโจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้เป็นจำนวนเงินชัดเจน ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ด้วยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าปลงศพ, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และการฟ้องแทนผู้เยาว์
โจทก์เป็นสามีของผู้ตาย ไม่ปรากฏว่ามีพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยสิทธิทายาทโดยธรรมของผู้ตายเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและมีหน้าที่ต้องจัดการทำศพผู้ตายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1649 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าปลงศพภริยาโจทก์ก็ได้ แม้บิดาโจทก์จะได้ออกเงินให้โจทก์ใช้จ่ายในการทำศพ จำเลยก็จะมายกเป็นข้อปัดป้องความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่.
ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานและอธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้แก่มารดา สามี และบุตร เป็นการจ่ายเงินเพื่อการคุ้มครองแรงงานไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นสามีของลูกจ้างผู้ตายยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรื่องละเมิดได้.
ในตอนต้นของคำฟ้องโจทก์มีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียว แต่โจทก์เป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง จ. และปรากฏในคำฟ้องว่า โจทก์กับนาง ส.ผู้ตายมีบุตรด้วยกันคือ เด็กหญิง จ. ทั้งโจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้เป็นจำนวนเงินชัดเจน ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ด้วยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าปลงศพ, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และการคุ้มครองแรงงาน
โจทก์เป็นสามีของผู้ตาย ไม่ปรากฏว่ามีพินัยกรรมเป็นอย่างอื่นโจทก์จึงเป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยสิทธิทายาทโดยธรรมของผู้ตายเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและมีหน้าที่ต้องจัดการทำศพผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าปลงศพภริยาโจทก์ได้ แม้บิดาโจทก์จะได้ออกเงินให้โจทก์ใช้จ่ายในการทำศพ จำเลยก็จะมายกเป็นข้อปัดป้องความรับผิดของจำเลยหาไม่ได้ ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานและอธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้แก่มารดาสามี และบุตร เป็นการจ่ายเงินเพื่อการคุ้มครองแรงงาน ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นสามีของลูกจ้างผู้ตาย ยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรื่องละเมิดได้ ในตอนต้นของคำฟ้องโจทก์มีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียว แต่โจทก์เป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง จ. และปรากฏในคำฟ้องว่าโจทก์กับนาง ส. ผู้ตายมีบุตรด้วยกันคือ เด็กหญิง จ. ทั้งโจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้เป็นจำนวนเงินชัดเจน ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ด้วยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า และการกำหนดระยะเวลาชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรคืนมาอยู่ในความปกครองของโจทก์ จำเลยฟ้องแย้งขอให้บุตรเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของจำเลย โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่ วันฟ้องด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้เปลี่ยนผู้ปกครองบุตรจากโจทก์เป็นจำเลย และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามฟ้องแย้ง แต่ไม่ได้ระบุว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ดังนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2332/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นหนี้ชนิดเดียวกันและมีคู่กรณีร่วมกัน การฟ้องหย่าไม่ใช่หนี้เงิน จึงไม่อาจหักกลบลบหนี้กับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
จำเลยร้องขอให้ศาลงดการบังคับคดีไว้อ้างว่าเป็นกรณีที่สามารถหักกลบลบหนี้กับคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 อีกคดีหนึ่งได้ ปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 นั้นเป็นการฟ้องหย่าและในคำร้องของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้โจทก์ที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินให้แก่จำเลยด้วย แต่หนี้ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระในคดีนี้เป็นหนี้เงิน ดังนั้นคดีทั้งสองนี้ จึงมิได้เป็นวัตถุแห่งหนี้เป็นหนี้อย่างเดียวกัน นอกจากนั้นคดีนี้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งสาม คนละจำนวนแยกต่างหากจากกัน แต่ในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 นั้น จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 เพียงผู้เดียวมิได้ฟ้องโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ด้วยถึงหากศาลจะพิพากษาให้จำเลยชนะคดีในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 ก็ไม่อาจนำหนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ในอันที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีไว้
of 5