คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าอุปการะเลี้ยงดู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9017/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูก่อนศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรของโจทก์และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ย่อมฟ้องรวมในคดีเดียวกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเพื่อให้เกิดสิทธิเสียก่อนแล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7751/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำทางแพ่ง: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูคนละช่วงเวลาไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้และคดีก่อนมีประเด็นต้องวินิจฉัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับเดียวกันว่าจำเลยผิดสัญญาในการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์หรือไม่แต่การวินิจฉัยประเด็นแห่งมูลหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนเพราะเป็นหนี้คนละคราวกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเรียกร้องมาในคดีก่อนได้เนื่องจากหนี้ดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดฉะนั้นประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่จ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูประจำเดือนมีนาคม2528ถึงเดือนกรกฎาคม2534และต้องจ่ายในอนาคตต่อไปหรือไม่จึงยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม เกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตาม ป.พ.พ. มาตรา443 วรรคสาม โดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) ทั้งตามพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับ ส. เป็นบุตรตามคำขอของโจทก์ ส่วนการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู ส. นั้นให้จ่ายตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจนกว่า ส. จะบรรลุนิติภาวะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพิ่ม ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คดีไม่มีข้อพิพาท
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น ต้องเป็นกรณีจำเป็นที่จะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่โดยจะต้องมีกฎหมายระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้กระทำได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15651598/38 และ 1598/39ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพิ่มต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คดีไม่มีข้อพิพาท
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55นั้นต้องเป็นกรณีจำเป็นที่จะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่โดยจะต้องมีกฎหมายระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้กระทำได้แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา15651598/38และ1598/39ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพิ่มต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: เงื่อนไขบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรที่จะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษาจากบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคแรก จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเมื่อบุตรเสียชีวิตจากละเมิด ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าชดเชยโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาการอุปการะเลี้ยงดูก่อนเสียชีวิต
การที่ ว. กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ ป. บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้บิดาจึงขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดูย่อมมีสิทธิจะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูอันเป็นค่าสินไหมทดแทนส่วนหนึ่งตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: สิทธิในครอบครัวเดิมยังคงอยู่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอันเกิดจากโจทก์กับจำเลยตามที่จำเลยให้สัญญาไว้ขณะจดทะเบียนหย่ากันนั้น แม้ภายหลังโจทก์ได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตาม ป.พ.พ. มาตรา1598/28 ดังนั้น การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จึงไม่เป็นผลที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและจดทะเบียนโอนทรัพย์ให้โจทก์ตามสัญญาจำเลยได้รับแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการรับบุตรบุญธรรม: สิทธิยังคงอยู่แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้านายทะเบียนว่า จำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์เป็นรายเดือน จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว แม้ภายหลังที่ยื่นฟ้องแล้วโจทก์จะได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของสามีใหม่ แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่เกิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1578/28 โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง
of 10