คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าเลี้ยงดู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอมยอมความกับการเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วย เช่นนี้ ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตรเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉันกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรค 2 คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ " ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละ เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้ กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้ จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วย ซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมา เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะส่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596 นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ (เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู) ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอม vs. ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาด
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วยเช่นนี้ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร เป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตร และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรคสอง คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ "ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วยซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมาเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ(เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู)ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนกับการรอการลงอาญา: การตกลงให้ค่าเลี้ยงดูและค่าทำศพหลังศาลรอการลงอาญา
จำเลยทำปืนลั่นถูกสามีโจทก์ตาย อัยการกำลังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอยู่ โจทก์จำเลยได้ ตกลงกันว่าให้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลรอการลงอาญาจำเลย จำเลยจะให้ค่าเลี้ยงดูและค่าทำศพแก่โจทก์ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทน อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สัญญาปราณีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนเพื่อขอรอการลงอาญา: ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเลี้ยงดูและค่าทำศพตามสัญญา
จำเลยทำปืนลั่นถูกสามีโจทก์ตาย อัยการกำลังฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอยู่ โจทก์จำเลยได้ตกลงกันว่าให้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลรอการลงอาญาจำเลย จำเลยจะให้ค่าเลี้ยงดูและค่าทำศพแก่โจทก์ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในส่วนนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าจากความผิดของสามีและการกำหนดค่าอุปการเลี้ยงดู
ศาลพิพากษาให้หย่าเพราะสามีเป็นฝ่ายผิด ศาลพิพากษาให้สามีจ่ายค่าอุปการเลี้ยงดูแก่ภริยาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องภริยาเรียกค่าเลี้ยงดูจากสามี กรณีหนี้เกิดจากการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัว
ภริยาขอหย่าขาดจากสามีเมื่อมีหนี้อันเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดู เช่นต้องไปซื้อเชื่อสิ่งของและกู้ยืมเงินผู้มีชื่อมาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นกับการครองชีพของตัวภริยาและบุตรซึ่งสามีมี ีหน้าที่ต้องรับผิด และเมื่อภริยาเรียกร้องให้สามีชำระ, สามีก็ไม่ชำระให้ดังนี้ย่อมตกเป็นภาระแก่ภริยา, ภริยาย่อมขอให้ศาลแสดงว่าสามีมีหน้าที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ และศาลก็พิพากษาให้สามีมีหน้าที่ต้องรับผิดในหนี้ตามจำนวนที่ภริยาฟ้องมานั้นได้
ในกรณีดังกล่าวนี้ภริยาจะฟ้องแทนเจ้าหนี้โดยเจ้าหนี้ไม่ได้มอบอำนาจให้ไม่ได้หรือจะฟ้องให้สามีชำระหนี้แก่ภริยาเพื่อภริยาจะได้นำไปชำระแก่เจ้าหนี้ก็ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96-97/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า, การปกครองบุตร, ค่าเลี้ยงดู: เหตุผลไม่เพียงพอ, สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดู
เพียงแต่สงสัยหรือเข้าใจเอาเองว่าภริยาเป็นชู้ยังไม่เป็นเหตุหย่าและการที่ภริยาชอบเล่นการพนันอย่างเดียวก็ไม่เป็นเหตุหย่า บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในความปกครองของบิดา มารดาอ้างเหตุเพียงว่าเป็นห่วงบุตรเกรงจะไม่ได้รับความสุขโดยมารดาเลี้ยงอาจรังแก ยังไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะขอปกครองบุตร
ภริยาออกจากบ้านไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูจากสามี
ภริยาฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูและค่าที่อยู่สำหรับตนเองจะวินิจฉัยถึงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วยไม่ได้เพราะเกินคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเรียกร้องค่าเลี้ยงดูตามสัญญายอม ไม่ใช่คดีทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูตามสัญญายอมนั้น จัดเข้าเป็นคดีที่ขอให้ศาลบังคับจำเลยอย่างอื่นนอกจากเรียกทุนทรัพย์ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ.127 ม.144
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายย่อมอุทธรณ์ได้เสมอ ไม่จำกัดว่าเป็นคดีมโนสาเร่หรืออย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 5 และสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดู
ผัวเมียแต่งงานกันก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 5 เช่นนี้ บทบัญญัติในบรรพนี้จะใช้บังคับแก่การสมรสและทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวรายนี้มิได้ ต้องใช้กฎหมายลักษณผัวเมียบังคับ สามีละทิ้งไม่เลี้ยงดูภริยา ๆ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูเป็นรายเดือนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูของภรรยา แม้จะมีการตกลงทำสัญญากันเอง โดยการอย่าต้องยินยอมร่วมกัน
เมียฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากผัวได้
ชายหญิงเป็นผัวเมียกันได้อย่างไร
อย่ากันโดยคำพังต้องยินยอมด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายฝ่ายใดจะบอกอย่าแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้
ผัวเมียทำสัญญากันไม่ผูกมัดซึ่งกันแลกัน
of 3