พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10134/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องค่าเสื่อมราคาและทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์และขอบเขตการฎีกา
คดีนี้จำเลยฎีกาว่าที่จำเลยหักค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ เป็นการหักที่พอสมควรและเหมาะสมแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าสินค้าพิพาทแก่โจทก์โดยหักค่าเสื่อมราคาออกเพียงร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้านั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงได้แก่ส่วนต่างของค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ กับร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้าจำนวน ๒๙๖,๑๐๐ บาท ซึ่งคำนวณได้เป็นเงิน ๕๙,๒๒๐ บาท คดีของจำเลยจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท เมื่อจำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดเงินค่าสินค้าของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และการนำสืบพยานเอกสาร/บุคคลในคดีภาษีอากร
พยานเอกสารซึ่งโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เป็นเพียงใบสำคัญคู่จ่ายและใบเสร็จรับเงินซึ่งนำส่งในชั้นตรวจสอบไต่สวนอันเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีของโจทก์เท่านั้น และเหตุที่จำเลยไม่อาจส่งเอกสารดังกล่าวก็เนื่องจากเอกสารสูญหายในช่วงที่จำเลยมีการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกีดกันมิให้โจทก์ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทั้งเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเนื่องจากสูญหาย โจทก์ก็อาจขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับข้ออ้างได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ลงรายการต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องหาได้ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าเหล็กแผ่นทำแบบก่อสร้าง: การพิจารณาว่าเป็นค่าลงทุนหรือค่าใช้จ่าย
โจทก์ซื้อเหล็กแผ่นมาใช้ทำแบบในการก่อสร้าง ซึ่งโดยสภาพเหล็กแผ่นเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย เมื่อนำมาใช้ทำแบบในการก่อสร้างย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้งและมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าเหล็กแผ่นจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินและเรียกเก็บอากรขาเข้าหลังเลิกกิจการ การหักค่าเสื่อมราคา และการคำนวณเงินเพิ่มอากร
จำเลยเลิกกิจการเพราะขาดทุนซึ่งตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 56 มิได้กล่าวถึงการเลิกกิจการอันจะถือว่าสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนและมิได้บัญญัติให้เรียกเก็บภาษีอากรอย่างไร เมื่อสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรที่จำเลยได้รับตามบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะการเลิกกิจการจึงต้องบังคับตาม พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503มาตรา 10 วรรคแรก โดยถือราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรของผู้ได้รับบัตรส่งเสริมสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสื่อมราถยนต์เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายที่ศาลกำหนดได้ตามสัญญา หากสูงเกินควร ศาลมีอำนาจปรับลดได้
ค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่โจทก์เรียกมาในฟ้องคือราคารถยนต์ที่ยึดคืนมาขายได้น้อยกว่าราคาเช่าซื้อซึ่งจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยต้องรับผิดดังกล่าวเป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งอันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ฉะนั้น ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินควรจึงอาจกำหนดขึ้นใหม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดต่อค่าเสื่อมราคาและค่าเช่ารถจากการชน
ค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ถูกรถของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับโดยจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ชน และค่าเช่ารถซึ่งโจทก์ต้องเช่ามาใช้ระหว่างซ่อมรถ ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์จากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถ ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่นนี้ เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่าผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเช่ารถให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีค่าเสื่อมราคาและค่าเช่ารถจากอุบัติเหตุ
ค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ถูกรถของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับโดยจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ชน และค่าเช่ารถซึ่งโจทก์ต้องเช่ามาใช้ระหว่างซ่อมรถถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์จากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถ ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย เช่นนี้ เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดว่าผู้รับประกันภัยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเช่ารถให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัย-ผู้เช่าซื้อรถยนต์: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคา แม้ไม่มีหลักฐานสัญญาประกันภัยและกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน
การประกันภัยเป็นนิติกรรมในลักษณะประเภทของสัญญาอย่างหนึ่งเรียกว่าสัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นผลให้เกิดนิติสัมพันธ์อันพึงต้องปฏิบัติระหว่างกันของคู่สัญญา แม้ตามกฎหมายจะบังคับว่า การทำสัญญาประกันภัยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็เป็นเพียงบทบัญญัติใช้บังคับเฉพาะแก่คู่สัญญาที่ได้มีการทำกันขึ้นเท่านั้นหามีผลผูกพันให้ใช้แก่บุคคลภายนอกไม่ พ. เป็นผู้เสียหายและเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นคู่สัญญา จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งบทกฎหมายที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง
ผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบและกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนมาเป็นของผู้เช่าซื้อในขณะนั้นก็ตามแต่ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะใช้รถยนต์ดังกล่าวหาประโยชน์ได้โดยชอบอีกทั้งยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพให้ใช้การได้ดีตลอดไปเมื่อได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมตกมาเป็นของผู้เช่าซื้อ หรือถ้าหากมีการเลิกสัญญาผู้เช่าซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อในสภาพเดิมเมื่อมีการทำละเมิดเกิดความเสียหายแก่รถยนต์ดังกล่าวผู้เช่าซื้อจึงอยู่ในฐานะที่จะต้องเรียกค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ได้ด้วย
ผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบและกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนมาเป็นของผู้เช่าซื้อในขณะนั้นก็ตามแต่ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะใช้รถยนต์ดังกล่าวหาประโยชน์ได้โดยชอบอีกทั้งยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพให้ใช้การได้ดีตลอดไปเมื่อได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมตกมาเป็นของผู้เช่าซื้อ หรือถ้าหากมีการเลิกสัญญาผู้เช่าซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อในสภาพเดิมเมื่อมีการทำละเมิดเกิดความเสียหายแก่รถยนต์ดังกล่าวผู้เช่าซื้อจึงอยู่ในฐานะที่จะต้องเรียกค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาที่นำมาหักลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษี
รายการจ่ายในการซื้อบัตรงานกุศลต่างๆ เช่น งานกาชาดงานบอลล์ ซื้อของขวัญปีใหม่และงานสมรส มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นๆเพื่อประโยชน์ในการทำงานหรือในทางสังคมของตนเองเป็นส่วนตัว ยิ่งกว่าเพื่อประโยชน์ของบริษัทโจทก์ มิใช่รายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ: ค่าเสื่อมราคาและค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
เอกสารท้ายฟ้องและคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาของรถและค่าขาดประโยชน์ในการที่ไม่ได้ใช้รถไว้โดยแจ้งชัด รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจได้ดี ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาของรถและค่าขาดประโยชน์ในการที่ไม่ได้ใช้รถจึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ทั้งเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย