พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าตึกเพื่อประกอบการค้า แม้จะให้ภริยาค้าแทน ก็ถือเป็นการใช้ตึกเพื่อการค้า ไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัย
จำเลยขายก๋วยเตี๋ยว กาแฟ น้ำแข็ง ในตึกพิพาทจดทะเบียนการค้า มีลูกจ้าง 5- 6 คน มีตู้อาหาร โต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งกิน ดังนี้ หาใช่ว่าเป็นการค้าเล็กน้อยไม่
แม้จำเลยจะไม่ทำการค้าในตึกพิพาท แต่ให้ภริยาทำ ก็ถือว่าเป็นการค้าของจำเลย
จำเลยสืบพยานไปแล้ว 6 ปาก เป็นทำนองเดียวกัน ในเรื่องภริยาจำเลยทำการค้า จำเลยจะขอสืบเพิ่มเติมในข้อที่จำเลยเช่าอยู่อาศัยซึ่งไม่มีอะไรจะสืบนอกเหนือจากที่สืบไว้แล้ว แม้ปล่อยให้สืบก็จะไม่ทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการประวิงคดี
แม้จำเลยจะไม่ทำการค้าในตึกพิพาท แต่ให้ภริยาทำ ก็ถือว่าเป็นการค้าของจำเลย
จำเลยสืบพยานไปแล้ว 6 ปาก เป็นทำนองเดียวกัน ในเรื่องภริยาจำเลยทำการค้า จำเลยจะขอสืบเพิ่มเติมในข้อที่จำเลยเช่าอยู่อาศัยซึ่งไม่มีอะไรจะสืบนอกเหนือจากที่สืบไว้แล้ว แม้ปล่อยให้สืบก็จะไม่ทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป เช่นนี้ ย่อมเป็นการประวิงคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการค้าขายสินค้ามีเครื่องหมายการค้านั้น
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจ ทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้อง ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อค้าขายย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย
สัญญาเช่าห้องแถวระบุว่า ให้เช่าเป็นที่อยู่และค้าขาย แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เช่าเช่าด้วยเจตนาประกอบธุรกิจการค้าเป็นส่วนสำคัญ แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489
เมื่อคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีนี้พิพาทกันก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวออกใช้ ทั้งคดีก็ฟังได้ว่าผู้เช่าได้ใช้ห้องพิพาทโดยเจตนาเพื่อประกอบธุรกิจการค้าด้วย
เมื่อคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีนี้พิพาทกันก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวออกใช้ ทั้งคดีก็ฟังได้ว่าผู้เช่าได้ใช้ห้องพิพาทโดยเจตนาเพื่อประกอบธุรกิจการค้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าค้าขาย-ที่อยู่อาศัย: ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้มีกฎหมายใหม่
สัญญาเช่าห้องแถวระบุว่า ให้เช่าเป็นที่อยู่และค้าขายแต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เช่าเช่าด้วยเจตนาประกอบธุรกิจการค้าเป็นส่วนสำคัญ แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีพิพาทกันก่อนกฎหมายใหม่ออกใช้ ทั้งตามข้อเท็จจริง ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่อย่างใด
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีพิพาทกันก่อนกฎหมายใหม่ออกใช้ ทั้งตามข้อเท็จจริง ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำสัญญาเช่าเพื่อค้าขาย แม้จะมีการอยู่อาศัยควบคู่ ก็ไม่ถือเป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
จำเลยเช่าห้องโจทก์ซึ่งเป็นตึกแถวสองชั้น ตามสัญญาระบุว่าเช่าเพื่อค้าขายห้องพิพาทตั้งอยู่ในทำเลการค้าและจำเลยก็ได้เปิดร้านซักรีดเป็นอาชีพอย่างเดียวถึง 2 ปี เพิ่งจะมาเลิกร้านค้าเมื่อหมดอายุการเช่าเท่านั้น เช่นนี้ ห้องพิพาทนั้นก็ยังหาเป็นเคหะไม่ และย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าขายซากกระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย
ฟ้องว่าจำเลยบังอาจทำการค้าขายซากกระบือ คือหนังกระบือดิบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจำเลยให้การว่าได้นำหนังกระบือไปขายจริงตามฟ้องโดยไปพบมีผู้นำมาขายกลางทาง จึงซื้อและนำไปขายเอากำไรอีกต่อหนึ่งดังนี้ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าจำเลยค้าหนังกระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการไฟฟ้าเพื่อใช้เองและการช่วยเหลือผู้เช่าห้อง ไม่ถือเป็นการค้าขายตามกฎหมาย
จำเลยซื้อเครื่องไฟฟ้าโดยประสงค์เพื่อจะใช้ในกิจการของตนเองเป็นเบื้องแรก ส่วนการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้อื่นใช้ด้วยนั้น ก็มีแต่เฉพาะผู้เช่าห้องของบิดาจำเลยในบริเวณเดียวกัน ซึ่งมีเพียง 10 กว่ารายเท่านั้น หาได้จ่ายให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่ ทั้งเก็บค่ากระแสไฟฟ้าเพียงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายโดยมิได้หวังผลกำไร และก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำไรจากการนี้ หากแต่เป็นการช่วยเหลือในระหว่างจำเลยกับผู้เช่าห้องของบิดาจำเลย จึงยังไม่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบกิจการค้าขายตาม พ.ร.บ. นี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการไฟฟ้าที่ไม่เข้าข่ายค้าขายสาธารณูปโภคตามกฎหมายควบคุมกิจการค้าขาย
จำเลยซื้อเครื่องไฟฟ้าโดยประสงค์เพื่อจะใช้ในกิจการของตนเองเป็นเบื้องแรกส่วนการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้อื่นใช้ด้วยนั้น ก็มีแต่เฉพาะผู้เช่าห้องของบิดาจำเลยในบริเวณเดียวกันซึ่งมีเพียง 10 กว่ารายเท่านั้นหาได้จ่ายให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่ ทั้งเก็บค่ากระแสไฟฟ้าเพียงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายโดยมิได้หวังผลกำไรและก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำไรจากการนี้หากแต่เป็นการช่วยเหลือในระหว่างจำเลยกับผู้เช่าห้องของบิดาจำเลยจึงยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบกิจการค้าขายตามพระราชบัญญัตินี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเคหะเพื่ออยู่อาศัยและค้าขาย การพิจารณาเพื่อคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
แม้ในสัญญาเช่าลงว่าเช่าตึกพิพาทเพื่อค้าขายยา ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ตามความจริงว่าเช่าเพื่อทำการค้าหรือเพื่ออยู่อาศัย อันจะนำไปสู่ประเด็นข้อวินิจฉันว่าเป็น "เคหะ" หรือไม่
จำเลยเช่าตึกพิพาทของโจทก์และใช้ตึกพิพาทอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายยาในตึกของพระคลังฯซึ่งอยู่ติดต่อกัน เช่นนี้ จะถือว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อทำการค้าเพราะเหตุว่าอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วการที่ผู้ใดเช่าตึกอยู่แห่งหนึ่ง แล้วไปทำการค้าอีกแห่งหนึ่ง ก็จะเป็นการเช่าเพื่อทำการค้าไปหมด
การที่ต่อมาภายหลังจำเลยได้เปิดร้านดัดผมในห้องพิพาทชั้นล่างเฉพาะซีกคูหาเดียวและไม่สุดตลอดคูหาด้วย คือใช้เนื้อที่เพียง 1 ใน 4 ของตึกชั้นล่าง และในการนี้จำเลยก็ได้ขออนุญาตจากโจทก์แล้วว่าเพื่อช่วยค่าครองชีพทางหนึ่ง กับได้ขอให้โจทก์แยกใบเสร็จค่าเช่าห้องพิพาทเดือนละ 100 บาท เป็น 40 บาท ฉบับหนึ่ง คือ สำหรับค่าเช่าตรงที่เป็นร้านดัดผม และ 60 บาทอีกฉบับหนึ่ง เหตุที่แยกดังนี้เนื่องจากการตั้งร้านดัดผมจำเลยเข้าหุ้นกับคนอื่น ทั้งนี้เพื่อสดวกแก่การคิดเงิน ระหว่างหุ้นส่วนตามพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ จะฟังว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อการค้ายังไม่ได้ ต้องถือว่าตึกพิพาทเป็น "เคหะ" อันได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ
จำเลยเช่าตึกพิพาทของโจทก์และใช้ตึกพิพาทอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายยาในตึกของพระคลังฯซึ่งอยู่ติดต่อกัน เช่นนี้ จะถือว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อทำการค้าเพราะเหตุว่าอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าหาได้ไม่ มิฉะนั้นแล้วการที่ผู้ใดเช่าตึกอยู่แห่งหนึ่ง แล้วไปทำการค้าอีกแห่งหนึ่ง ก็จะเป็นการเช่าเพื่อทำการค้าไปหมด
การที่ต่อมาภายหลังจำเลยได้เปิดร้านดัดผมในห้องพิพาทชั้นล่างเฉพาะซีกคูหาเดียวและไม่สุดตลอดคูหาด้วย คือใช้เนื้อที่เพียง 1 ใน 4 ของตึกชั้นล่าง และในการนี้จำเลยก็ได้ขออนุญาตจากโจทก์แล้วว่าเพื่อช่วยค่าครองชีพทางหนึ่ง กับได้ขอให้โจทก์แยกใบเสร็จค่าเช่าห้องพิพาทเดือนละ 100 บาท เป็น 40 บาท ฉบับหนึ่ง คือ สำหรับค่าเช่าตรงที่เป็นร้านดัดผม และ 60 บาทอีกฉบับหนึ่ง เหตุที่แยกดังนี้เนื่องจากการตั้งร้านดัดผมจำเลยเข้าหุ้นกับคนอื่น ทั้งนี้เพื่อสดวกแก่การคิดเงิน ระหว่างหุ้นส่วนตามพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ จะฟังว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อการค้ายังไม่ได้ ต้องถือว่าตึกพิพาทเป็น "เคหะ" อันได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าห้องเพื่ออยู่อาศัยแล้วค้าขายเล็กน้อยยังคงเป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
การที่จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยโดยเสียค่าเซ้งจากผู้เช่าคนเดิม ต่อมา 2 - 3 ปี จึงค้าขายบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ได้ 5 - 6 ปี ก็จดทะเบียนพาณิชย์เสียภาษีโรงค้า ภาษีป้าย มิได้ค้าเป็นล่ำเป็นสันไม่ใหญ่โตและคงใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่นเดิมทั้งหามีที่อยู่อาศัยแห่งอื่นไม่, ดังนี้ย่อมถือว่าห้องรายนี้เป็นเคหะตามนัยแห่งพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ.