พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่า ไม่มีสิทธิฟ้องละเมิดเมื่อถูกตัดบริการค้างชำระ
จำเลยที่ 1 ให้บริษัท ส. ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในอาคารพาณิชย์ของบริษัท ด.เช่าโทรศัพท์ต่อมาบริษัทส. ย้ายออกไปและมอบเครื่องโทรศัพท์ให้บริษัท ด.ไว้บริษัทด. นำโทรศัพท์ดังกล่าวให้โจทก์ใช้โดยโจทก์นำค่าเช่าและค่าบริการไปชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา ต่อมาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ปลดฟิวส์ งดมิให้ใช้บริการ เนื่องจากค้างชำระค่าเช่าและค่าบริการของงวดที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่โจทก์ใช้อยู่ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่ผู้เช่าโทรศัพท์และเป็นบุคคลภายนอก เป็นการพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ว่ามีต่อจำเลยทั้งสามอย่างไรบ้างเพื่อที่จะให้เห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 3ซึ่งทำให้โจทก์ไม่ได้ใช้โทรศัพท์นั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ทั้งเหตุที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นมาวินิจฉัยนี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นที่โต้แย้งกันโดยตรงซึ่งจำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดี ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์มิได้ทำสัญญาเป็นผู้เช่าโทรศัพท์กับจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายจากบริษัท ด. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็ถือว่าโจทก์เป็นแต่เพียงมีสิทธิใช้โดยพฤตินัยเท่านั้น หาได้มีสิทธิผูกพันจำเลยที่ 1 ไม่ การที่โจทก์ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์เท่ากับเป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิมและใช้โดยอาศัยสิทธิของผู้เช่าเดิมคือบริษัท ส. เท่านั้นโจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับการใช้หรือครอบครองโทรศัพท์กับจำเลยที่ 1 ในอันที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนปลดฟิวส์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ได้ส่งใบแจ้งเตือนให้ผู้เช่าตามที่อยู่ซึ่งให้ไว้ตรงตามสัญญาเช่าให้นำเงินไปชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่ค้างชำระอยู่แก่จำเลยที่ 1 ครบกำหนดตามใบแจ้งเตือนแล้วผู้เช่าไม่นำเงินไปชำระ การที่จำเลยที่ 3 ขออนุมัติและทำการปลดฟิวส์ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำการตามหน้าที่ และตามระเบียบของจำเลยที่ 1แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมศุลกากรในการกักสินค้าค้างชำระภาษีอากร แม้มีการอุทธรณ์คดี
อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจตามมาตรา112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่จะกักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่งกำลังผ่านศุลกากรจนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้ว แม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลยย่อมมีหน้าที่คืนภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้างชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้ คำสั่งให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนั้นได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษีค้าง เมื่อคดีเพิกถอนการประเมินยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อนที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของจำเลยนั้น ศาลอาจมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิกถอนการประเมินของโจทก์หรือไม่ อย่างไรก็ได้ เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด จะถือว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีแก่โจทก์ตามที่มีการประเมินหาได้ไม่ คดีนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าภาษีตามที่มีการประเมินดังกล่าว
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้โดยตรง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารราชการมีน้ำหนักหักล้างพยานไม่ได้ ผู้ถือหุ้นค้างชำระ
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่บริษัทจำเลยส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เป็นเอกสารราชการ กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1141 เมื่อบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นและยังคงค้างค่าหุ้นอยู่ และผู้ร้องไม่อาจนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่าผู้ร้องถือหุ้นและค้างค่าหุ้นตามที่ระบุไว้ บริษัทจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องซึ่งถือหุ้นและค้างค่าหุ้นบริษัทจำเลยอยู่ต้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิซื้อขายโดยไม่สุจริตของผู้ขายที่ปล่อยให้ผู้ซื้อค้างชำระนานปี และรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิดของผู้ซื้อ
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางยังเป็นของผู้ร้องตามข้อสัญญา เพราะผู้ซื้อยังค้างชำระราคาอยู่ แต่ผู้ร้องปล่อยให้ผู้ซื้อค้างชำระราคาอยู่จนถึงวันเกิดเหตุเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้ว มิได้บังคับตามสัญญาซื้อขายแก่ผู้ซื้อโดยการบอกเลิกสัญญาและเรียกเอาทรัพย์ที่ขายคืนอย่างใดคงปล่อยเนิ่นนานมาจนกระทั่งจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ซื้อนำรถยนต์ของกลางไปกระทำความผิดแล้วผู้ร้องก็มอบอำนาจให้ผู้ซื้อนั้นเองมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง ทั้งตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อต้องรับผิดใช้ราคาที่ซื้อจนครบแม้รถยนต์ของกลางจะถูกริบ ดังนี้ การร้องขอคืนรถยนต์ของกลางของผู้ร้อง เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับรถยนต์ของกลางคืนไปในภายหลังหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ร้องเองไม่ จากพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ซื้อใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกทรายเกินน้ำหนักในทางการค้าของผู้ซื้อ น่าเชื่อว่ากระทำไปตามคำสั่งของผู้ซื้อ ผู้ซื้อจึงเป็นผู้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด เมื่อผู้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อ จึงถือได้ว่าเป็นการรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อค้างชำระ: ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อจนกว่าจะบอกเลิกสัญญา ศาลลดเบี้ยปรับสูงเกินสมควร
ข้อสัญญาเช่าซื้อซึ่งมีข้อความว่า ถ้าผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือยึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระพร้อมเบี้ยปรับร้อยละ 20 ของเงินดังกล่าวนั้น เป็นข้อกำหนดการชำระค่าเช่าซื้อระหว่างที่ยังมิได้มีการเลิกสัญญากันพร้อมทั้งเบี้ยปรับกรณีผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ มิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น เมื่อมีการเลิกสัญญากันผู้เช่าซื้อจึงมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาทั้งหมด ส่วนเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลฎีกาให้ลดลงเป็นดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สิ้นผลหากไม่จดทะเบียนราคาและดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยจำเลยค้างชำระราคาที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึด โจทก์จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกลงทะเบียนเกี่ยวกับราคาและดอกเบี้ยในราคาที่ยังค้างชำระในชั้นลงทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดิน บุริมสิทธินั้นย่อมสิ้นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 288 ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยในที่ดินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินนั้นได้ บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจบุริมสิทธิตามกฎหมายเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องไม่ได้คัดค้านไว้ในชั้นอุทธรณ์ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกักของของศุลกากรกรณีค้างชำระภาษี แม้ไม่เกี่ยวกับสินค้ารายเดียวกัน
มาตรา 112 เบญจแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจกักของในกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกค้างชำระค่าอากรเพื่อประโยชน์ในอันที่จะจัดเก็บภาษีอากรได้รวดเร็วสมความมุ่งหมาย แม้จะไม่ใช่สินค้ารายเดียวกันกับที่ยังค้างชำระค่าอากรอยู่ก็ตามดังนั้น เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บเพิ่มสำหรับสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาครั้งก่อนและรับของไปแล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมชำระ จำเลยจึงไม่ยอมรับตรวจสอบรับรองตามระเบียบพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้ารายใหม่ที่โจทก์นำเข้า เพื่อโจทก์จะได้เสียภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระในส่วนที่ขาดไปสำหรับการนำเข้าครั้งก่อนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น & ความรับผิดของผู้โอนหุ้นค้างชำระค่าหุ้น
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลยกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้ ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ากำหนดสิทธิขับไล่ทันทีเมื่อค้างค่าเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้เลย
ข้อสัญญามีว่า ถ้าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่า ผู้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะขับไล่ผู้เช่ากับบริวาร และเข้ายึดครองสถานที่เช่าได้โดยพลัน โดยให้ถือว่าสัญญาเช่าเป็นอันสิ้นสุดแล้ว เมื่อจำเลยค้างค่าเช่า โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกการเช่าก่อนฟ้องอีก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาในกรณีผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่านั้น เป็นบทบัญญัติใช้บังคับในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงเรื่องนี้กันไว้เป็นอย่างอื่น