พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อแลกหุ้นถือเป็นการค้า หากำไร ต้องเสียภาษีการค้า แม้จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน
การที่โจทก์ขายที่ดินให้บริษัท ท. แล้วเอาเงินทั้งหมดไปซื้อหุ้นของบริษัท ท. ก็เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่าเช่น เงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่บริษัท ท. เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงต้องเสียภาษีการค้าตามรายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ขายที่ดินไปมีกำไรหรือขาดทุน
โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรและการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรและการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายที่ดิน: การขายสมบัติเก่า vs. การค้าหากำไร, การส่งหนังสือแจ้งประเมินทางไปรษณีย์
การส่งหมายเรียกหรือหนังสืออื่นถึงบุคคลใดเกี่ยวกับภาษีอากรฝ่ายสรรพากร โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรกนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติวิธีการส่งไว้อย่างในกรณีที่มีผู้นำส่ง แต่ย่อมเห็นได้ว่าพนักงานไปรษณีย์ผู้นำส่งจะต้องส่งให้แก่ผู้รับหรือบุคคลที่อยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับตามที่ผู้ส่งได้จ่าหน้าซองไว้จึงจะถือได้ว่าเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ที่พนักงานไปรษณีย์ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทนโจทก์ไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในบ้านโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือในวันดังกล่าวต้องถือเอาวันที่โจทก์ได้รับจริง
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ยไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินรายนี้มาโดยการรับจำนองและจดทะเบียนหลุดเป็นสิทธิตั้งแต่ พ.ศ. 2466 แล้วได้ครอบครองทำนาทำสวนตลอดมาเป็นเวลา 35 ปี จึงได้แบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ เพื่อสะดวกในการขายและให้ได้ราคาดีขึ้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนามาก่อนเลยว่าจะนำที่ดินแปลงนี้มาจัดสรรขาย การที่โจทก์รับจำนองไว้ก็เพื่อหวังจะได้ดอกเบี้ยไม่ได้หวังจะได้ที่ดินมาเพื่อทำการค้าแต่อย่างใด และโจทก์เพิ่งขายไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาถึง 47 ปีเศษ การขายที่ดินของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการขายสมบัติเก่าในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 และบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า หากำไร และประเด็นเบี้ยปรับ
เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการปลูกตึกแถวสองชั้นรวม 10 คูหา ลงในที่ดินโฉนดหนึ่ง ส่วนอีก 3 โฉนดเดิมเป็นแหล่งเสื่อมโทรม โจทก์ได้ลงทุนปรับปรุงด้วยการถมดิน ทำถนนคอนกรีต สร้างสะพานข้ามคลองพร้อมทั้งเขื่อนสร้างอาคารพาณิชย์ 82 คูหา ตลาดสด 2 ตลาด และแผงคอนกรีต 300 แผง ซึ่งในการนี้โจทก์ได้ลงทุนไปนับสิบล้านบาท โดยการนำที่ดินไปจำนองและกู้เงินจากผู้อื่นมาเกือบห้าล้านบาท สร้างแล้วไม่นานก็ขายไป พฤติการณ์แสดงว่าเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ แม้ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าต้องขาดทุนจากการขายเพราะมีอุปสรรคในการดำเนินการ สมมุติว่าเป็นความจริงก็เกิดจากการดำเนินงานผิดพลาดของโจทก์เอง และไม่มีข้อยกเว้นในประมวลรัษฎากรว่า กรณีเช่นนี้ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าทั้งหมด และในแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าท้ายฟ้องก็ระบุด้วยว่า เบี้ยปรับเรียกเก็บตามมาตรา 89 (21) อันเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามมาตรา 80 เมื่อศาลเห็นว่าควรเรียกเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าภายในกำหนด ศาลย่อมพิพากษาแก้ไขโดยให้จำเลยกำหนดเบี้ยปรับใหม่ตามมาตรา 89 (2) ได้ หานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เพราะเท่ากับเป็นการเพิกถอนการประเมินบางส่วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าทั้งหมด และในแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าท้ายฟ้องก็ระบุด้วยว่า เบี้ยปรับเรียกเก็บตามมาตรา 89 (21) อันเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามมาตรา 80 เมื่อศาลเห็นว่าควรเรียกเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าภายในกำหนด ศาลย่อมพิพากษาแก้ไขโดยให้จำเลยกำหนดเบี้ยปรับใหม่ตามมาตรา 89 (2) ได้ หานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เพราะเท่ากับเป็นการเพิกถอนการประเมินบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเข้าข่ายค้าหากำไร ต้องพิจารณาพฤติการณ์รายกิจการ การมีสถานการค้าทำให้ต้องเสียภาษี
การขายที่ดินในกรณีใดจะถือว่าเป็นทางค้าหากำไร ต้องพิจารณาจากกิจการเป็นรายๆไปว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า"ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของตนได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า"ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของตนได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินมรดกไม่ถือเป็นการค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 12 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาท จากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499 -2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ 80,000 บาท ถึง 100,000 บาทนั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้น โจทก์จะฎีกาว่า โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้น โจทก์จะฎีกาว่า โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินมรดก ไม่ถือเป็นการค้าหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 16 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาทจากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499-2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ80,000 บาท ถึง 100,000 บาท นั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้นโจทก์จะฎีกาว่าโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้นโจทก์จะฎีกาว่าโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762-1763/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายหุ้นมรดก: รายได้จากการขายหุ้นถือเป็นเงินได้พึงประเมิน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มุ่งค้าหากำไร
ป.รัษฎากร มาตรา 42 บัญญัติว่า "เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้... (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร..." บริษัทย่อมมีวัตถุประสงค์ในทางค้าหากำไรมาแบ่งปันกันในระหว่างผู้ถือหุ้น การได้หุ้นมาจึงย่อมถือว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร รายได้จากการขายหุ้นจึงเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ เว้นแต่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าหุ้นนั้นได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรโดยแท้จริง
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทแล้วโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้าเป็นทุนของบริษัท มีโจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นอีก 7 คน เป็นผู้ถือหุ้น หลังจากนั้น ยังมีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทอีกหนึ่งบริษัท ต่อมาโจทก์ทั้งสองตกลงโอนขายหุ้นของตนในบริษัททั้งสองให้แก่ ป. กับพวก การที่ผู้จัดการมรดกและทายาทจัดตั้งบริษัทแล้วแบ่งหุ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่น เป็นการสงวนผลประโยชน์รายได้ที่เกิดจากกิจการให้ตกอยู่แก่ทายาทของ ส. ที่ถือหุ้นบริษัททั้งสองไว้ต่อไป และการถือหุ้นของโจทก์ทั้งสองกับทายาทดังกล่าว ยังทำให้ได้บริหารกิจการซึ่งน่าจะคาดหมายได้ว่ามูลค่าทรัพย์สินนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงถือได้ว่าการได้รับหุ้นบริษัททั้งสองเป็นเรื่องของการค้าหากำไรและมิใช่การจัดตั้งบริษัทโดยไม่มีผลประโยชน์หรือกำไรที่จะแบ่งให้ผู้ถือหุ้นแต่ประการใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้หุ้นของบริษัทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 42 (9)
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทแล้วโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้าเป็นทุนของบริษัท มีโจทก์ทั้งสองและทายาทอื่นอีก 7 คน เป็นผู้ถือหุ้น หลังจากนั้น ยังมีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทอีกหนึ่งบริษัท ต่อมาโจทก์ทั้งสองตกลงโอนขายหุ้นของตนในบริษัททั้งสองให้แก่ ป. กับพวก การที่ผู้จัดการมรดกและทายาทจัดตั้งบริษัทแล้วแบ่งหุ้นให้แก่โจทก์ทั้งสองและทายาทอื่น เป็นการสงวนผลประโยชน์รายได้ที่เกิดจากกิจการให้ตกอยู่แก่ทายาทของ ส. ที่ถือหุ้นบริษัททั้งสองไว้ต่อไป และการถือหุ้นของโจทก์ทั้งสองกับทายาทดังกล่าว ยังทำให้ได้บริหารกิจการซึ่งน่าจะคาดหมายได้ว่ามูลค่าทรัพย์สินนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงถือได้ว่าการได้รับหุ้นบริษัททั้งสองเป็นเรื่องของการค้าหากำไรและมิใช่การจัดตั้งบริษัทโดยไม่มีผลประโยชน์หรือกำไรที่จะแบ่งให้ผู้ถือหุ้นแต่ประการใด จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้หุ้นของบริษัทมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามมาตรา 42 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8656/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี เข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินกับบริษัท พ. และทำสัญญาว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดินดังกล่าว โดยโจทก์เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างและขอมีหมายเลขประจำบ้าน ต่อมาโจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิจะซื้อที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารให้บริษัท ด. โดยบริษัท ด. ตกลงชำระค่าโอนสิทธิให้แก่โจทก์ กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินและอาคารดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ทำสัญญาโอนสิทธิจะซื้อที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคาร จึงถือว่าโจทก์ได้ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุนให้เช่า จัดเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักรให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้...(6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ." และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ให้การขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่...(ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น..." คดีนี้ ทางพิจารณาได้ความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 9184 ที่โจทก์ทั้งสองขายให้แก่ ว. เป็นอพาร์ตเมนต์ ขนาด 2 ชั้น 28 ห้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญรวมถึงเก็บเกี่ยวหาประโยชน์จากค่าเช่าบนที่ดินของตนเองโดยการประกอบกิจการหอพัก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ทั้งสองแต่แรกว่า โจทก์ทั้งสองประสงค์จะลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าของที่ดินโดยการสร้างอพาร์ตเมนต์ให้เช่า ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสองประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว หาใช่เพียงใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญตามที่โจทก์ทั้งสองอ้างตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 4 (6) (ค) ไม่ กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสองขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทไปภายในห้าปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 4 (6) อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ