พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากประกันภัยค้ำจุน: การเรียกร้องจากผู้รับประกันภัย การหักความรับผิดส่วนแรก และขอบเขตค่าเสียหาย
กรมธรรม์ประกันภัยแบ่งความคุ้มครองออกเป็น 2 หมวด คือ ความเสียหายต่อวัตถุและความรับผิดต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นสัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกันภัยค้ำจุนรวมอยู่ด้วยกัน แม้ส่วนที่โจทก์ทำงานก่อสร้างและก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกต้องเป็นความเสียหายที่โจทก์จะต้องรับผิดตามกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ดำเนินการก่อสร้างตามหลักวิชาการสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมทุกประการ แต่ความสั่นสะเทือนของการก่อสร้างได้ทำให้บ้านของ จ. ได้รับความเสียหาย หาใช่เป็นการบรรยายฟ้องปฏิเสธความรับผิดของโจทก์ไม่ แต่มีความหมายไปในทำนองเพียงว่ามิได้เกิดจากความจงใจของโจทก์เพราะได้ปฏิบัติตามหลักวิชาแล้วเท่านั้น แต่การก่อสร้างมีความสั่นสะเทือนและความสั่นสะเทือนดังกล่าวส่งผลให้บ้านของ จ. ได้รับความเสียหาย และโจทก์ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ จ. อันเป็นการยอมรับในผลแห่งการกระทำของโจทก์ว่าเป็นละเมิดได้ก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่น ทั้งจำเลยให้การต่อสู้คดีปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ มิได้ปฏิเสธว่าเป็นความเสียหายที่มิใช่เกิดจากการก่อสร้างของโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญแห่งคดีที่จำเลยต้องรับผิด ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
จำเลยให้การรับว่าได้รับประกันวินาศภัยไว้ แต่ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะโจทก์ก่อสร้างอาคารโดยขาดความระมัดระวังจนเป็นเหตุให้บ้านของ จ. ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ก่อสร้างได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้ เมื่อจำเลยนำสืบไม่สมข้อกล่าวอ้าง จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย การประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้เสียหายคือ จ. ชอบที่จะได้รับค่าเสียหายที่ควรได้จากผู้รับประกันภัยโดยตรงแต่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยกลับฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยโดยตรง ค่าเสียหายที่เรียกร้องมาทั้งหมดย่อมเป็นความเสียหายที่ จ. สมควรได้รับ ทั้งโจทก์มิได้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดตามที่มีการประเมินให้แก่ จ. ก่อนฟ้อง และไม่ปรากฏว่า จ. ยอมรับค่าเสียหายที่มีการประเมินดังกล่าว การฟ้องคดีนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องในฐานะผู้เอาประกันภัยเพื่อนำค่าเสียหายไปชดใช้ให้ จ. ไม่ปรากฏว่า จ. ตกลงด้วยว่าเป็นความเสียหายที่ได้รับจริงและจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมมากกว่านี้ ทั้งพยานโจทก์เบิกความว่า ยังมีค่าเสียหายในส่วนอื่นซึ่งเป็นการซ่อมแซมต่อเนื่องยังไม่ได้จ่ายให้แก่ จ. ต้องรอให้การซ่อมแซมแล้วเสร็จก่อนจึงจะรู้จำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ที่แน่นอน ดังนั้น หากศาลกำหนดค่าเสียหายทั้งหมดที่จำเลยต้องชดใช้ ย่อมถือว่าเป็นการกำหนดไปล่วงหน้าไม่ถูกต้องตรงกับความเสียหายที่เป็นจริง กรณีอาจจะมีจำนวนค่าเสียหายมากกว่าที่ประเมิน จ. มิได้เป็นคู่ความในคดีย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะฟ้องร้องจำเลยอีกได้ หรือหากมีความเสียหายน้อยกว่าที่ประเมินก็ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์โดยไม่มีมูลจะอ้างตามกฎหมาย ชั้นนี้จึงเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในส่วนค่าใช้จ่ายการซ่อมฐานรากที่ดำเนินการไปแล้วและมีการจ่ายให้กับ จ. ไปแล้วเป็นเงิน 2,000,000 บาท โดยค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายส่วนอื่นเป็นเรื่องที่ จ. หรือโจทก์จะไปว่ากล่าวเอากับจำเลยในภายหลังเมื่อทราบจำนวนความเสียหายที่แท้จริงซึ่ง จ. มีสิทธิได้รับ
จำเลยให้การรับว่าได้รับประกันวินาศภัยไว้ แต่ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะโจทก์ก่อสร้างอาคารโดยขาดความระมัดระวังจนเป็นเหตุให้บ้านของ จ. ที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานที่ก่อสร้างได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้ เมื่อจำเลยนำสืบไม่สมข้อกล่าวอ้าง จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย การประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้เสียหายคือ จ. ชอบที่จะได้รับค่าเสียหายที่ควรได้จากผู้รับประกันภัยโดยตรงแต่โจทก์ในฐานะผู้เอาประกันภัยกลับฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยโดยตรง ค่าเสียหายที่เรียกร้องมาทั้งหมดย่อมเป็นความเสียหายที่ จ. สมควรได้รับ ทั้งโจทก์มิได้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดตามที่มีการประเมินให้แก่ จ. ก่อนฟ้อง และไม่ปรากฏว่า จ. ยอมรับค่าเสียหายที่มีการประเมินดังกล่าว การฟ้องคดีนี้ถือได้ว่าเป็นการฟ้องในฐานะผู้เอาประกันภัยเพื่อนำค่าเสียหายไปชดใช้ให้ จ. ไม่ปรากฏว่า จ. ตกลงด้วยว่าเป็นความเสียหายที่ได้รับจริงและจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมมากกว่านี้ ทั้งพยานโจทก์เบิกความว่า ยังมีค่าเสียหายในส่วนอื่นซึ่งเป็นการซ่อมแซมต่อเนื่องยังไม่ได้จ่ายให้แก่ จ. ต้องรอให้การซ่อมแซมแล้วเสร็จก่อนจึงจะรู้จำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ที่แน่นอน ดังนั้น หากศาลกำหนดค่าเสียหายทั้งหมดที่จำเลยต้องชดใช้ ย่อมถือว่าเป็นการกำหนดไปล่วงหน้าไม่ถูกต้องตรงกับความเสียหายที่เป็นจริง กรณีอาจจะมีจำนวนค่าเสียหายมากกว่าที่ประเมิน จ. มิได้เป็นคู่ความในคดีย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะฟ้องร้องจำเลยอีกได้ หรือหากมีความเสียหายน้อยกว่าที่ประเมินก็ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์โดยไม่มีมูลจะอ้างตามกฎหมาย ชั้นนี้จึงเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในส่วนค่าใช้จ่ายการซ่อมฐานรากที่ดำเนินการไปแล้วและมีการจ่ายให้กับ จ. ไปแล้วเป็นเงิน 2,000,000 บาท โดยค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายส่วนอื่นเป็นเรื่องที่ จ. หรือโจทก์จะไปว่ากล่าวเอากับจำเลยในภายหลังเมื่อทราบจำนวนความเสียหายที่แท้จริงซึ่ง จ. มีสิทธิได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12506/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ความรับผิดของประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุในการขนถ่ายสินค้า
ข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยกรณีความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ว่า จำเลยร่วมตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายสำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ นั้น มีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยร่วมตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 เมื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำด้วยความประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกลงจากรถยกสินค้า และสินค้าพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าว จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่สินค้าพิพาทตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว
ส่วนข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.2.1 หมายถึง ทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัย ข้อ 1.2.2 หมายถึง ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง หาใช่ว่าเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายจากการขนถ่ายโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จะเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 3 หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้างให้รับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ถูกทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ขอให้เรียกจำเลยร่วมในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เข้ามาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในลักษณะลูกหนี้ร่วม โดยโจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ละเมิดได้ทั้งจากจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม และหากจำเลยที่ 3 ถูกบังคับชำระหนี้ไปก่อน ก็ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป
ส่วนข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลใดๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.2.1 หมายถึง ทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ หรือทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ปฏิบัติงานของผู้เอาประกันภัย ข้อ 1.2.2 หมายถึง ทรัพย์สินที่ลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้เอาประกันภัยนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อผู้เอาประกันภัยในระหว่างทางการที่จ้าง หาใช่ว่าเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายจากการขนถ่ายโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 3 จะเป็นกรณีที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพราะสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายขณะอยู่ในครอบครองของจำเลยที่ 3 หรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างของลูกจ้างที่กระทำละเมิดในทางการที่จ้างให้รับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ถูกทำละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ขอให้เรียกจำเลยร่วมในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เข้ามาเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยหากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยร่วมจึงต้องเข้ามาร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในลักษณะลูกหนี้ร่วม โดยโจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ละเมิดได้ทั้งจากจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม และหากจำเลยที่ 3 ถูกบังคับชำระหนี้ไปก่อน ก็ต้องใช้สิทธิไล่เบี้ยตามกฎหมายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง หากความเสียหายอยู่ในวงเงินคุ้มครอง
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก การประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน ดังนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 3 และตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อการประกันภัยดังกล่าวเป็นการประกันภัยค้ำจุนและความเสียหายนั้นมีจำนวนไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันกันย่อมต้องรับผิดในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บริษัท ซ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ทั้งบริษัทดังกล่าวบุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตรควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีข้อตกลงพิเศษว่ากรมธรรม์นี้จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น กรณีทรัพย์สินที่บรรทุกนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นหรือประเภทอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัย ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยค้ำจุน จำเลยไม่ต้องรับผิดหากคำฟ้องไม่ชัดเจนถึงลักษณะประกันภัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งจำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยไว้ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยจากจำเลยที่ 1 ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า ว. ผู้ขับรถยนต์มีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของ ว. ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เท่ากับคำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะแก้ไขคำให้การว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่เกิดเหตุ ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ และศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง