พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย: การเชือดคอจนถึงแก่ความตายเข้าข่ายกระทำทารุณหรือไม่
จำเลยจับผู้ตายลากเข้าไปในบ้านใช้มีดเชือดคอลึกถึงกระดูกต้นคอ จำเลยใช้เวลานานกว่าจะเชือดคอผู้ตายจนมีบาดแผลยาวรอบคอ ทำให้ผู้ตายส่งเสียงร้องเพราะได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นการใช้วิธีการโหดร้ายในการฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย: การพิจารณาบาดแผลและเสียงร้องของผู้ตายเป็นองค์ประกอบสำคัญ
จำเลยจับผู้ตายลากเข้าไปในบ้านเกิดเหตุแล้วปิดประตูหน้าต่างทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจมาถึงไม่สามารถเข้าไปได้ คงได้ยินเสียงผู้ตายร้องให้ช่วยเหลือสลับกับเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดจึงพังประตูบ้านเข้าไป พบผู้ตายถูกจำเลยใช้อาวุธมีดเชือดคอยาวประมาณ30เซนติเมตรลึกถึงกระดูกต้นคอที่ศรีษะมีบาดแผลฉีกขาดยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลก กับมีบาดแผลบริเวณหน้าผากยาวประมาณ 4 เซนติเมตร แสดงว่าจำเลยต้องใช้เวลานานกว่าจะเชือดคอผู้ตายจนมีบาดแผลยาวรอบคอ ทำให้ผู้ตายส่งเสียงร้องเพราะได้รับความเจ็บปวดทรมาน เห็นได้ชัดว่าจำเลยใช้วิธีการโหดร้ายในการฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดีอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์แล้ว
เมื่อความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตยังไม่ถึงที่สุดเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จึงจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ก็เป็นเพียงพิพากษาแก้บทลงโทษความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน โดยเห็นว่าการกระทำผิดของจำเลยฐานนี้ขาดอายุความแล้วจึงลงโทษจำเลยไม่ได้เท่านั้น ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,339 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 340 ตรี ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตนั่นเอง ความผิดฐานนี้ จึงเป็นอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยมีหรือใช้อาวุธปืน ซึ่งถึงที่สุดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576-577/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยทรมาน/ทารุณโหดร้าย พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับการทำร้ายและทิ้งศพลงน้ำ
แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่มีพยานมาเบิกความให้เห็นว่านับจากเวลาที่ผู้ตายทั้งสามถูกนำตัวขึ้นรถไปจนถึงเวลาที่ผู้ตายทั้งสามถูกฆ่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกที่หลบหนีได้กระทำอย่างไรบ้าง แต่จากบาดแผลที่ผู้ตายทั้งสามได้รับตามรายงานการตรวจศพของแพทย์ ปรากฏว่าผู้ตายทั้งสามมีบาดแผลที่บริเวณศีรษะเป็นจำนวนมาก บาดแผลส่วนใหญ่เกิดจากถูกตีด้วยของแข็งที่มีน้ำหนักมากจนกะโหลกศีรษะของแต่ละคนแตกกระจายทั่วไปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีเนื้อสมองออกมาจากบาดแผล สำหรับ ส.และ ช.ผู้ตายยังพบเศษดินโคลนและน้ำในหลอดลมซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่า ผู้ตายทั้งสามถึงแก่ความตายเนื่องจากสมองถูกทำลายจากของแข็งกระทบกระแทกและขาดอากาศหายใจจากการจมน้ำ ชี้ให้เห็นว่าก่อนผู้ตายทั้งสามจะถึงแก่ความตายได้ถูกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 กับพวกใช้ของแข็งไม่มีคมทุบตีที่บริเวณศีรษะอย่างรุนแรงหลายครั้งจนกระโหลกศีรษะแตกกระจายเนื้อสมองไหลออกมาจากบาดแผล หลังจากนั้นยังถูกนำไปทิ้งน้ำทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มีเจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสามโดยการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวหลายบท กรณีมีอาวุธปืนผิดกฎหมายและใช้ฆ่าผู้อื่น ศาลต้องลงโทษฐานความผิดที่หนักที่สุด
การที่จำเลยมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น-พยายามฆ่า-มีจิตบกพร่อง-การปรับบทลงโทษ-ความผิดอาวุธปืน
ก่อนเกิดเหตุประมาณ 6 ถึง 7 เดือน จำเลยเคยมีอาการผิดปกติทางจิตและเคยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และตามคำเบิกความของแพทย์หญิง ก. พยานจำเลยกับใบรับรองแพทย์ซึ่งระบุว่าจำเลยเป็นโรคจิตประเภทชนิดหวาดระแวงประกอบกับรายงานการวินิจฉัยโรคของโรงพยาบาลนิติจิตเวชซึ่งระบุเช่นกันว่าป่วยเป็นโรคจิต จึงเชื่อว่าจำเลยกระทำไปเพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต แต่ข้อเท็จจริงได้ความอีกว่า ขณะเกิดเหตุ อ. อยู่ใกล้กับจำเลยและเข้าแย่งอาวุธปืนจากจำเลยด้วย แต่จำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงหรือทำร้าย อ. แต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าภาวะจิตใจของจำเลยขณะกระทำความผิดยังสามารถรู้สึกผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปด้วย การปรับบทลงโทษแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปด้วย การปรับบทลงโทษแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่า และพกพาอาวุธปืน โดยประเด็นสำคัญคือการวินิจฉัยภาวะจิตของผู้กระทำผิด
จำเลยซึ่งเป็นคนวิกลจริตกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นฐานพยายามฆ่าผู้อื่นฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่น: การกระทำร่วม การช่วยเหลือ และการมีส่วนร่วมในความผิด
จำเลยที่ 1 นั่งอยู่โต๊ะเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ต่อสู้กับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ชักอาวุธมีดออกมาเข้าไปช่วยจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ก็อยู่กับจำเลยที่ 2 โดยตลอด อีกทั้งเข้าร่วมต่อสู้ด้วยและหลบหนีไปด้วยกัน เมื่อการตายของผู้ตายเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธมีดแทงร่างกายบริเวณที่สำคัญ ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นด้วย
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น: การกระทำร่วมและเจตนาในการทำร้าย
จำเลยที่ 1 นั่งอยู่โต๊ะเดียวกันกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 ต่อสู้กับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ชักอาวุธมีดออกมาเข้าไปช่วยจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ก็อยู่กับจำเลยที่ 2 โดยตลอด อีกทั้งเข้าร่วมต่อสู้ด้วยและหลบหนีไปด้วยกัน เมื่อการตายของผู้ตายเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธมีดแทงร่างกายบริเวณที่สำคัญ ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นด้วย
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ตามพฤติการณ์แห่งคดีการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันฆ่าผู้ตาย มีสาเหตุจากการทะเลาะวิวาทกันและผู้ตายก็มีอาวุธมีดต่อสู้ด้วย โทษจำคุกที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดมานั้นหนักเกินไป สมควรลดลงให้เหมาะสมแก่รูปคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐาน และการกำหนดความผิดฐานทำร้ายร่างกายร่วมกับฆ่าผู้อื่น
คำให้การชั้นสอบสวนของพยาน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีประกอบข้อพิจารณาของศาล เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. และ ว. สอดคล้องตรงกับคำให้การของ ข. ประจักษ์พยานโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนสั้นยิงฆ่าผู้ตาย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225