พบผลลัพธ์ทั้งหมด 298 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานเนื่องจากประวิงคดี มิใช่ขาดนัด ไม่มีสิทธิขอพิจารณาใหม่
กรณีที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้วมีพฤติการณ์ประวิงคดี จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลย แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ มิใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามขอเป็นคนอนาถา: การงดสืบพยานและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้อง จำเลยทั้งสามทราบวันนัดไต่สวนคำร้องโดยชอบแล้วไม่มาศาล และไม่ขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยไม่นำพยานมาสืบจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนอนาถา ให้จำเลยทั้งสามนำค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 15 วันนั้น เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของจำเลยทั้งสามแล้วว่า จำเลยทั้งสามไม่ใช่คนอนาถา จะใช้สิทธิดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสาม คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องระหว่างไต่สวนมูลฟ้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลเพิกถอนคำสั่งอนุญาตแก้ไขและงดสืบพยานไม่ชอบ
การยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้องซึ่งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคท้าย ย่อมไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพราะศาลชั้นต้นยังมิได้ประทับฟ้องไว้พิจารณา และจำเลยก็ยังไม่ได้ต่อสู้คดีหรือนำพยานเข้าสืบ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้ จึงเป็นคำสั่งโดยชอบหาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้หรือเพิ่มเติมคำฟ้องและให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้มีการสืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความก่อน ย่อมเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลยผู้เป็นพนักงานอัยการ ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาได้
ตามพฤติการณ์แห่งคดี จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยมาโดยตลอด ทั้งที่พยานจำเลยมีเพียง 2 ปาก ซึ่งรวมทั้งตัวจำเลยด้วย ทั้งคดีเช็คนี้เป็นคดีไม่ยุ่งยาก ศาลชั้นต้นก็ให้โอกาสจำเลยเพื่อนำพยานมาสืบ ครั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้สืบพยานจำเลยใหม่ก็มีการขอถอนทนายจำเลยและเมื่อจำเลยทราบเรื่องการถอนตัวของทนายจำเลยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2542 จำเลยก็ไม่ขวนขวายแต่งทนายความคนใหม่จนกระทั่งถึงวันนัดจึงได้แต่งทนายความคนใหม่ ทั้งที่ศาลนับสืบพยานจำเลยวันที่ 8 ตุลาคม 2542 และในวันนัดจำเลยก็ไม่มาศาลทั้งที่จำเลยเป็นพนักงานอัยการทำงานอยู่ใกล้กับศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่จำเลยฎีกาว่าทนายความคนใหม่ติดว่าความคดีอื่นนั้น ตามพฤติการณ์แล้วน่าเชื่อว่าจำเลยจงใจที่จะแต่งตั้งทนายความที่ติดว่าความคดีอื่นเพื่อขอเลื่อนคดีต่อไป จำเลยเป็นพนักงานอัยการคดีแพ่งก็ย่อมทราบเรื่องคดีตัวเองดี ถึงแม้ทนายจำเลยจะติดว่าความคดีอื่น จำเลยสามารถที่จะมาศาลและอ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานได้ด้วยตนเองและจำเลยทราบล่วงหน้าแล้วว่าศาลนัดสืบพยานจำเลย จำเลยย่อมมีเวลาที่จะหาทนายความคนใหม่ที่มีวันว่างที่จะมาศาลได้ เหตุที่จำเลยอ้างจึงไม่เป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และจำเลยก็ไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลได้ว่าถ้าศาลไม่ให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประวิงคดี-งดสืบพยาน: ศาลชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยไม่ติดใจขอเลื่อนคดี
จำเลยขอเลื่อนคดีมาแล้ว 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นได้อนุญาต และนัดสืบพยานโจทก์เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งจำเลยทราบ ล่วงหน้าแล้วว่า ในวันนั้นตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ แต่ก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดี เพียงให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอถอนทนายเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและสั่งงดสืบพยานจำเลยพร้อมมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานโดยมิชอบและการละเมิดสิทธิครอบครอง การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐต้องอยู่ภายใต้กระบวนการยุติธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 พร้อมผู้ใต้บังคับบัญชาตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ได้ปิดล้อมหน่วงเหนี่ยว กักขัง บุกรุกทำลายทรัพย์สินของโจทก์ในบริเวณสถานีบริการน้ำมัน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามหยุดการรบกวนการครอบครองของโจทก์และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งหากได้ความตามฟ้องโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นละเมิดและต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จึงต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายให้เสร็จสิ้นเสียก่อน การที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าการที่พลตรี น. ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22คนก่อน ยินยอมให้โจทก์เข้าไปดำเนินการสถานีบริการน้ำมันไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามเพราะโจทก์เข้าไปดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันเป็นการไม่ชอบมาตั้งแต่ต้น จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งแม้จะฟังได้เช่นนั้นจำเลยทั้งสามก็จะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้โจทก์ออกไป ไม่มีอำนาจบังคับคดีเองโดยพลการหากขืนทำไปก็ย่อมเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสามจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการพิจารณาคดีต่อเนื่อง ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
การขอเลื่อนคดีของโจทก์นัดแรกสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกระทรวงการคลังเพิกถอนใบอนุญาตและปิดกิจการลง คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้เข้ามาควบคุมกิจการของโจทก์ และเก็บเอกสารต่าง ๆ ไว้ ไม่สามารถจะนำมาสืบได้ ส่วนจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่น ส่วนการเลื่อนคดีครั้งที่สองก็สืบเนื่องมาจากโจทก์จำเลยขอเลื่อน อ้างว่าคดีมีทางตกลงกันได้ การเลื่อนคดีทั้งสองครั้งนั้นจำเลยก็ขอเลื่อนด้วยทุกครั้ง ส่วนในการขอเลื่อนคดีครั้งที่สามโจทก์อ้างว่า พยานทั้งสองคนของโจทก์มีกิจธุระจำเป็นไม่สามารถมาศาลได้ เป็นการอ้างเหตุที่พยานไม่มาศาลเป็นครั้งแรก โดยจำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน จึงรับฟังได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสองมีกิจธุระจำเป็นไม่สามารถมาศาลได้ เป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์นั้น เป็นที่เห็นว่าจะทำให้เสียความยุติธรรม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปนั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยาน, อายุความค่าจ้าง, และดอกเบี้ยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ต้องนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมในคดีแรงงานตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ ภายหลังจากศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความและคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าคดีไม่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยาน จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยกับพยานโจทก์ และให้นัดฟังคำพิพากษาในวันซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเกือบ 2 เดือน จำเลยมีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาได้ แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ต่อมาจำเลยได้ลดค่าจ้างผู้บริหารรวมทั้งโจทก์ลง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 การลดเงินเดือนโจทก์และไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดแก่โจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ เป็นการผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และผิดสัญญาจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ค่าจ้างส่วนที่ถูกลด โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าจ้างที่จำเลยไม่มีอำนาจจะลดดังกล่าวเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2543 ดังนั้นเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2540 ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกเอาจากจำเลยจึงขาดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี จำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการงดสืบพยาน, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และสิทธิการได้รับค่าชดเชยจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลย จำเลยยื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของจำเลยว่า คำร้องคัดค้านใช้ถ้อยคำที่ไม่สมควรในทำนองดูหมิ่นศาลว่าไม่ให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาและเป็นถ้อยคำฟุ่มเฟือย จึงให้คืนกลับไปทำมาใหม่ภายใน 7 วัน มิฉะนั้นไม่รับคำคัดค้าน เมื่อจำเลยมิได้ทำคำร้องโต้แย้งเข้ามาใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งที่ให้งดสืบพยาน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ย่อมไม่อาจอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลในการงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปากอ.และ น.กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่าพยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ.และ น.มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ.เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่