พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาก่อสร้าง - การเปลี่ยนแปลงงาน - สิทธิในการรับเงินค่าจ้าง - การชำระหนี้
หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามข้อตกลงหมาย ล.3จำเลยที่ 1 ยังก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ แม้ว่าข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจะกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ระบุให้สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ทั้งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำข้อตกลงหมาย ล.11 ให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างต่อไป แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างไม่ถือเอากำหนดเวลาในการก่อสร้างตาม ข้อตกลงเอกสารหมาย ล.3 เป็นข้อสำคัญ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านไม่ถูกแบบแปลนโจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ลงมือก่อสร้างโดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 แก้ไข ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไข โจทก์จึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากงานก่อสร้างที่ไม่มีสัญญาณเตือน
จำเลยที่ ๑ รับเหมาก่อสร้างปรับปรุงถนน ขณะถนน กำลังก่อสร้างจำเลยที่ ๑ ไม่จัดให้มีสัญญาณไฟเตือน ทั้ง ๆ ที่มีข้อสัญญากับ กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๒ ผู้ว่าจ้างไว้ และจำเลยที่ ๒ ได้ เตือนหลายครั้งแล้ว จำเลยที่ ๑ ย่อมคาดได้ ว่าหากไม่มีสัญญาณไฟเตือนให้เห็นอย่างชัดเจนก็อาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้การที่ อ. ไม่เห็นเกาะกลางถนนที่กำลังก่อสร้างและขับรถยนต์ขนเกาะกลางถนนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๑
กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๒ ในฐานะ ผู้ดูแลถนน ในเขต กรุงเทพมหานคร ย่อมมีหน้าที่ควบคุมจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้างหรือซ่อมแซม ถนน แม้จะจัดให้จำเลยที่ ๑รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว จำเลยที่ ๒ ก็ยังมีหน้าที่ติดตั้ง เครื่องหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจร เมื่อจำเลยที่ ๒ ควบคุมแล้วยังมีข้อบกพร่อง จำเลยที่ ๒ ก็ต้อง รับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ ๑
ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดคราวเดียวกัน เมื่อจัดซ่อมไปแล้วหากตรวจ พบภายหลังว่ายังมีส่วนชำรุด ที่ยังมิได้ซ่อมหลงเหลืออยู่ ก็ยังจัดซ่อมต่อไปอีกได้ จะอ้างว่ามีสิทธิซ่อมเพียงครั้งเดียวไม่ว่าซ่อมแล้วจะดี ดัง เดิม หรือไม่ก็ตามหาได้ไม่.
กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๒ ในฐานะ ผู้ดูแลถนน ในเขต กรุงเทพมหานคร ย่อมมีหน้าที่ควบคุมจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้างหรือซ่อมแซม ถนน แม้จะจัดให้จำเลยที่ ๑รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว จำเลยที่ ๒ ก็ยังมีหน้าที่ติดตั้ง เครื่องหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจร เมื่อจำเลยที่ ๒ ควบคุมแล้วยังมีข้อบกพร่อง จำเลยที่ ๒ ก็ต้อง รับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ ๑
ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดคราวเดียวกัน เมื่อจัดซ่อมไปแล้วหากตรวจ พบภายหลังว่ายังมีส่วนชำรุด ที่ยังมิได้ซ่อมหลงเหลืออยู่ ก็ยังจัดซ่อมต่อไปอีกได้ จะอ้างว่ามีสิทธิซ่อมเพียงครั้งเดียวไม่ว่าซ่อมแล้วจะดี ดัง เดิม หรือไม่ก็ตามหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและหน่วยงานรัฐต่อความเสียหายจากงานก่อสร้างที่ขาดความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 รับเหมาก่อสร้างปรับปรุงถนน ขณะถนน กำลังก่อสร้างจำเลยที่ 1 ไม่จัดให้มีสัญญาณไฟเตือน ทั้ง ๆ ที่มีข้อสัญญากับ กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้างไว้ และจำเลยที่ 2 ได้ เตือนหลายครั้งแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมคาดได้ ว่าหากไม่มีสัญญาณไฟเตือนให้เห็นอย่างชัดเจนก็อาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้การที่ อ. ไม่เห็นเกาะกลางถนนที่กำลังก่อสร้างและขับรถยนต์ขนเกาะกลางถนนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ในฐานะ ผู้ดูแลถนน ในเขต กรุงเทพมหานคร ย่อมมีหน้าที่ควบคุมจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้างหรือซ่อมแซม ถนน แม้จะจัดให้จำเลยที่ 1รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังมีหน้าที่ติดตั้ง เครื่องหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจร เมื่อจำเลยที่ 2 ควบคุมแล้วยังมีข้อบกพร่อง จำเลยที่ 2 ก็ต้อง รับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดคราวเดียวกัน เมื่อจัดซ่อมไปแล้วหากตรวจ พบภายหลังว่ายังมีส่วนชำรุด ที่ยังมิได้ซ่อมหลงเหลืออยู่ ก็ยังจัดซ่อมต่อไปอีกได้ จะอ้างว่ามีสิทธิซ่อมเพียงครั้งเดียวไม่ว่าซ่อมแล้วจะดี ดัง เดิม หรือไม่ก็ตามหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจรับงานเท็จ เบิกจ่ายเงินเสียหาย
จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการตรวจ การจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีหน้าที่ตรวจ และควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญา แบบแปลนและแผนผัง เมื่อตรวจ เห็นเป็นการถูกต้องแล้ว ให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อ ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง ทราบพร้อมด้วย หลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 6 ได้ ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ ก่อสร้างบ้านพักครูแล้วเสร็จตาม สัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดย งานยังไม่แล้วเสร็จ เป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162(4) และเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรุงเทพมหานครต่ออุบัติเหตุจากงานก่อสร้างถนน แม้จะมอบหมายงานให้เอกชน
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ รวมทั้งการวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 มาตรา 66(2) และ (12) ย่อมมีหน้าที่ควบคุมและจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ประชาชนผู้ใช้ถนนได้เห็นชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติ เหตุ ถึงแม้จำเลยที่ 4 จะได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาเป็นผู้ดูแลพื้นที่ในถนนที่ทำการซ่อมปรับปรุง จำเลยที่ 4 ก็ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 2 ติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้อง การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีความประมาทมิได้ติดตั้งสัญญาณไฟไว้ในบริเวณหลุมที่ขุดในถนนเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ขับรถยนต์มาตกหลุมดังกล่าวทำให้ผู้ที่โดยสารมาถึงแก่ความตายโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 สูญหายถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลิ่นเล่อในการไม่ควบคุมให้มีการติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้องเป็นเหตุให้ความเสียหายดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสิ้นผลเมื่องานก่อสร้างเสร็จและรับเงินครบถ้วน สิทธิเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างเป็นเรื่องระหว่างโจทก์-จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจรับเงินค่าก่อสร้างโรงเรียนจากกรมสามัญศึกษาตลอดไปจนเสร็จงานเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าการก่อสร้างโรงเรียนได้แล้วเสร็จ และจำเลยได้รับเงินค่าก่อสร้างงวดสุดท้ายไปหมดสิ้นแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าก่อสร้างจากกรมสามัญศึกษา โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยทำให้ไว้ได้อีก ดังนี้ ย่อมไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไป ฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิรับเงินจากกรมสามัญศึกษาตามหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละทิ้งงานก่อสร้างและอำนาจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียม
แม้จะไม่ได้ความชัดว่าหากไม่มีการเลิกสัญญากันโจทก์จะได้กำไรจากการขายอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จ้างจำเลยก่อสร้างเป็นจำนวนเท่าใด แต่เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ก่อสร้างศูนย์การค้าเพื่อหากำไร เมื่อสร้างไม่เสร็จก็ย่อมเกิดผลเสียหาย ซึ่งเป็นความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการละทิ้งงานของจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรได้
แม้ว่าคู่ความฝ่ายใดชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งแพ้คดีเพียงบางส่วนรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด
แม้ว่าคู่ความฝ่ายใดชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยซึ่งแพ้คดีเพียงบางส่วนรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมดจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการซ่อมแซมงานก่อสร้าง: สัญญาเฉพาะ vs. กฎหมายทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้าง ตามที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาไว้ เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างธรรมดาซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งมีตามมาตรา 601 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215-2216/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าจ้างงานก่อสร้าง: การคำนวณเบี้ยปรับและการชำระค่าจ้างเมื่องานไม่เรียบร้อย
เมื่อข้อความตามสัญญาระบุว่า หากผู้รับจ้างไม่อาจก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จภายในกำหนดดังกล่าว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้จ้างปรับเป็นรายวัน วันละ 1,000 บาท จนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จนั้นเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์ผู้รับจ้างสัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรฉะนั้น นอกจากเรียกให้ชำระหนี้แล้ว จำเลยผู้จ้างจะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381
การที่จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์ภายหลังวันครบกำหนดที่โจทก์ต้องทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ 3-4 วัน และต่อจากนั้นก็ไม่ได้ว่าจ้างบุคคลใดซ่อมแซมก่อสร้างงานที่ขาดตกบกพร่องให้แล้วเสร็จไปโดยพลันจึงมีส่วนผิดที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาถึง 360 วันศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ให้เพียง 60 วัน คิดเป็นเงิน 60,000 บาท
เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ทำงานงวดสุดท้ายตามสัญญาไปแล้ว หากแต่ทำงานไปโดยยังไม่เรียบร้อยมีข้อบกพร่องอยู่และไม่ส่งมอบงานให้จำเลย จำเลยจึงบอกเลิกสัญญา จำเลยคงมีสิทธิหักค่าจ้างเท่าที่ต้องเสียไป แต่ไม่มีสิทธิจะงดจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายเสียทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
การที่จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์ภายหลังวันครบกำหนดที่โจทก์ต้องทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ 3-4 วัน และต่อจากนั้นก็ไม่ได้ว่าจ้างบุคคลใดซ่อมแซมก่อสร้างงานที่ขาดตกบกพร่องให้แล้วเสร็จไปโดยพลันจึงมีส่วนผิดที่ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาถึง 360 วันศาลเห็นสมควรกำหนดเบี้ยปรับที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ให้เพียง 60 วัน คิดเป็นเงิน 60,000 บาท
เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ทำงานงวดสุดท้ายตามสัญญาไปแล้ว หากแต่ทำงานไปโดยยังไม่เรียบร้อยมีข้อบกพร่องอยู่และไม่ส่งมอบงานให้จำเลย จำเลยจึงบอกเลิกสัญญา จำเลยคงมีสิทธิหักค่าจ้างเท่าที่ต้องเสียไป แต่ไม่มีสิทธิจะงดจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายเสียทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13619/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของงานก่อสร้าง: แยกพิจารณาตามสัญญาหรือกฎหมายทั่วไป
การฟ้องร้องให้ผู้รับจ้างรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องตามสัญญาจ้างทำของอันมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 นั้น ใช้บังคับแก่เฉพาะกรณีความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 กล่าวคือ ในกรณีที่มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาและงานที่ทำปรากฏการชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลัง 1 ปี นับแต่วันส่งมอบหรือที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปี สำหรับสิ่งปลูกสร้างในพื้นดิน กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดความรับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องไว้เป็นอย่างอื่น กรณีดังกล่าวจึงไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ