พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารหนังสือมอบอำนาจเพื่อจดทะเบียนที่ดิน ศาลฎีกาตัดสินเรื่องบทลงโทษที่ถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดา ซึ่งผู้มอบมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งมีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทนผู้มอบเท่านั้น ไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิอย่างใด จึงไม่ใช่เอกสารสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน: อำนาจสอบสวนและคำสั่งไม่อนุมัติกรณีมีเหตุเชื่อได้ว่าซื้อเพื่อประโยชน์คนต่างด้าว
เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าพน้าที่ที่จะสอบสวนคู่กรณีในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดได้สอบสวนโจทก์ ก่อนที่จะดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการกระทำชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อปรากฏจากการสอบสวนตามถ้อยคำของโจทก์เองว่า โจทก์มีภริยาเป็นคนสัญชาติจีนซึ่งเป็นคนต่างด้าว อยู่กันกันมาจนมีบุตรถึง 12 คน แล้ว และโจทก์ก็จะซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกบ้านอยู่จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินควรเชื่อได้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเอก ได้บันทึกเรื่องเสนอกรมที่ดินจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ได้เสนอต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 5 เพื่อพิจารณา จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยที่ 5 โดยรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุมัติให้มีการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาท คำสั่งเช่นว่านี้จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 5 ปฏิบัติการดังกล่าวโดยเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่สั่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 74 กรณีมีเหตุเชื่อว่าซื้อเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว
เมื่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะสอบสวนคู่กรณีในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดได้สอบสวนโจทก์ ก่อนที่จะดำเนินการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อปรากฏจากการสอบสวนตามถ้อยคำของโจทก์เองว่า โจทก์มีภริยาเป็นคนสัญชาติจีนซึ่งเป็นคนต่างด้าว อยู่กินกันมาจนมีบุตรถึง 12 คน แล้ว และโจทก์ก็จะซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกบ้านอยู่จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินควรเชื่อได้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเอก ได้บันทึกเรื่องเสนอกรมที่ดินจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ได้เสนอต่อไปยังกระทรวงหมาดไทยจำเลยที่ 5 เพื่อพิจารณา จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและเมื่อจำเลยที่ 5 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุมัติให้มีการจดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาท คำสั่งเช่นว่านี้จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 74 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4ปฏิบัติการดังกล่าว โดยเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5ที่สั่งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรื่องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน - กรณีควรเชื่อได้ว่าซื้อเพื่อประโยชน์คนต่างด้าว - อำนาจหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์และจ.ยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดิน ดังนี้ เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยทราบมาโดยการสืบสวนและสอบสวนทำให้จำเลยเห็นว่ามีกรณีควรเชื่อได้ว่าโจทก์จะซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ก็ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะดำเนินการต่อไปเพื่อขอคำสั่งรัฐมนตรีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 วรรค 2 และเมื่อได้ความว่าจำเลยกำลังดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อเสนอรัฐมนตรีอยู่ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว จึงย่อมไม่อาจบังคับจำเลยให้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามที่โจทก์ฟ้องบังคับได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินโดยฉ้อฉล บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ย่อมมีสิทธิในที่ดินนั้น
การที่จำเลยได้จดทะเบียนที่ดินในโฉนดของจำเลยว่า จ.มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ 209 ส่วนในจำนวน 4,200 ส่วนของที่ดินแปลงนี้นั้น ย่อมเป็นหลักฐานทางทะเบียนว่า จ.มีกรรมสิทธิ์รวมตามจำนวนที่ได้จดทะเบียนไว้ แม้ว่าการจดทะเบียนจะเกิดจากการฉ้อฉลของ จ. แต่การจดทะเบียนนั้นก็มีผลเพียงเป็นโมฆียะ โจทก์เป็นบุคคลภายนอกรับโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนที่เป็นของ จ.ตามทะเบียนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต โจทก์จึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเต็มจำนวน 209 ส่วนตามที่ได้จดทะเบียนไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินโดยกลฉ้อฉล บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต ได้กรรมสิทธิ์เต็มจำนวน
การที่จำเลยได้จดทะเบียนที่ดินในโฉนดของจำเลยว่า จ.มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ 209 ส่วนในจำนวน 4,200 ส่วนของที่ดินแปลงนี้นั้น ย่อมเป็นหลักฐานทางทะเบียนว่า จ.มีกรรมสิทธิ์รวมตามจำนวนที่ได้จดทะเบียนไว้ แม้ว่าการจดทะเบียนจะเกิดจากการฉ้อฉลของ จ. แต่การจดทะเบียนนั้นก็มีผลเพียงเป็นโมฆียะ โจทก์เป็นบุคคลภายนอกรับโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนที่เป็นของ จ.ตามทะเบียนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต โจทก์จึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเต็มจำนวน 209 ส่วนตามที่ได้จดทะเบียนไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนที่ดินโดยมีการฉ้อฉล บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ย่อมมีสิทธิในที่ดินเต็มจำนวน
การที่จำเลยได้จดทะเบียนที่ดินในโฉนดของจำเลยว่า จ.มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ 209 ส่วนในจำนวน 4,200 ส่วนของที่ดินแปลงนี้นั้น. ย่อมเป็นหลักฐานทางทะเบียนว่า จ.มีกรรมสิทธิ์รวมตามจำนวนที่ได้จดทะเบียนไว้. แม้ว่าการจดทะเบียนจะเกิดจากการฉ้อฉลของ จ.. แต่การจดทะเบียนนั้นก็มีผลเพียงเป็นโมฆียะ. โจทก์เป็นบุคคลภายนอกรับโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนที่เป็นของ จ.ตามทะเบียนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต. โจทก์จึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเต็มจำนวน 209 ส่วนตามที่ได้จดทะเบียนไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินที่เคยถูกไต่สวนออกโฉนดแล้วแต่ถูกทำลาย การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอแทน นายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิมซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลยโดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 6 คือเป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถอ้างระเบียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อขัดขวางการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินได้
กฎกระทรวงต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจะมีผลบังคับได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 41 ฉะนั้นจะอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 อันไม่ปรากฏว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไม่ได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 41 ฉะนั้นจะอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 อันไม่ปรากฏว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินและการจดทะเบียนที่ดิน: พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจขัดขวางการจดทะเบียนโดยไม่ชอบ
ไม่มีบทกฎหมายในที่ใดว่า คนไทยจะถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนก่อน หรือว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนให้หน่วงเหนี่ยวขัดขวางการรับจดทะเบียนไว้ได้ตามอำเภอใจพระราชบัญญัติว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2486 ซึ่งแก้ไข พ.ศ.2492 ก็ได้แต่เพียงบัญญัติให้บุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ระบุไว้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นตามประมวลกฎหมายเท่านั้น หาได้มีข้อความใดที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาตการซื้อขาย หรือหน่วงเหนี่ยวขัดขวางการขอจดทะเบียนนิติกรรมของราษฎรไว้ได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 26 ระบุไว้อีกว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สินฯลฯ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย" ฉะนั้นการที่ราษฎรคนไทยขอให้นายอำเภอในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการเพื่อทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินให้ตน แต่นายอำเภออ้างว่าผู้ร้องมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จึงต้องทำการสอบสวน และส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินก่อนตามที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้ โดยที่ปรากฏอยู่ตามคำพิพากษาของศาลแล้วว่า ผู้นั้นเป็นคนสัญชาติไทย นั้น ย่อมเป็นข้ออ้างที่ปราศจากมูลที่จะหน่วงเหนี่ยวขัดขวางการรับจดทะเบียนนิติกรรมเสียเลยการกระทำของนายอำเภอจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นการกระทำละเมิด และจะอ้างว่า มีบุคคลอื่นใช้ให้ทำก็หาทำให้พ้นจากความรับผิดไม่ และระเบียบของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหากจะมีจริงก็มิใช่กฎหมาย และไม่มีกฎหมายอันใด ให้อำนาจให้ออกระเบียบเช่นนั้นได้ ฉะนั้นจะใช้บังคับแก่ประชาชน จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขานั้น ไม่ได้