พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652-2653/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อน/หลังจดทะเบียนบริษัท: สิทธิลูกจ้างแม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
แม้สัญญาจ้างโจทก์ที่1จะได้ทำขึ้นก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเป็นบริษัทก็ตามแต่ก็อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อตั้งบริษัทและสัญญาดังกล่าวมีส.ผู้เริ่มก่อการของบริษัทซึ่งต่อมาได้เป้นกรรมการบริษัทเมื่อจดทะเบียนแล้วเป็นผู้ลงชื่อในนามของบริษัทจำเลยในฐานะผู้ว่าจ้างและได้ทำสัญญากันก่อนจดทะเบียนตั้งบริษัทเพียง7วันทั้งหลังจากบริษัทมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้วก็ยอมรับผลแห่งสัญญาจ้างดังกล่าวจ้างโจทก์ที่1และจ่ายค่าจ้างให้ต่อมาดังนี้โจทก์ที่1จึงเป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575หาได้บัญญัติว่าสัญญาจ้างแรงงานจะต้องทำเป็นหนังสือไม่เพียงแต่ตกลงจ้างและให้สินจ้างกันสัญญาจ้างแรงงานย่อมเกิดแล้วส.กรรมการบริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่2ซึ่งโจทก์ที่2ได้ทำงานให้บริษัทจำเลยและจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่2ตลอดมาเป็นเวลา4เดือนถือได้ว่าโจทก์ที่2เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าสัญญาที่ทำเป็นหนังสือดังกล่าวส.ทำไปโดยชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทจำเลยหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพและการจดทะเบียนบริษัท: การจำกัดสิทธิโดยมติคณะรัฐมนตรีขัดต่อกฎหมาย
การที่โจทก์มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและการเล่นแชร์ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเช่นว่านี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ต้องห้ามหรือต้องควบคุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิจารณาว่าคำขอของโจทก์ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1019 บัญญัติไว้หรือไม่เท่านั้น จำเลยจะสั่งให้รอการรับจดทะเบียนไว้ก่อนตามมติของคณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้ควบคุมถึงการประกอบอาชีพของโจทก์ดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัทและการเรียกเก็บเงินค่าหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น. ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไป.ผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่. และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว.แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา. ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด.ฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัทอันเป็นเท็จ การกระทำที่เป็นการโต้แย้งสิทธิกรรมการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทอันเป็นเท็จและนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาคร และเปลี่ยนกรรมการรวมทั้งอำนาจกรรมการตามเอกสารเท็จที่จำเลยทำขึ้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ถูกถอดถอนออกจากการเป็นกรรมการของจำเลย ส่วนจำเลยให้การว่า ข้อความที่ระบุในคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดถูกต้องตรงความเป็นจริง ดังนั้น ตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะกรรมการ ซึ่งการกระทำของจำเลยทำให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาครรับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่จำเลยยื่นคำขอ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาคร และนายทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย แม้จะฟังว่ารายงานการประชุมนั้นเป็นเท็จก็ตาม แต่นายทะเบียนดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการรับจดทะเบียนนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องบังคับให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาครดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียน
การทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนสำนักงานหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาคร และนายทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลย แม้จะฟังว่ารายงานการประชุมนั้นเป็นเท็จก็ตาม แต่นายทะเบียนดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการรับจดทะเบียนนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องบังคับให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสาครดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3298/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารปลอมประกอบการจดทะเบียนบริษัท แม้ไม่ใช่เอกสารราชการ แต่ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมยังคงมี
หนังสือบริคณห์สนธิเป็นเพียงหนังสือที่จำเลยจัดทำขึ้น เพื่อจะนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ยังไม่มีเจ้าพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ และไม่ใช่สำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงไม่เป็นเอกสารราชการตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (8)
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในหนังสือบริคณห์สนธิเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยก็ยังส่งมอบหนังสือดังกล่าวให้แก่ จ. เพื่อนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จ. นายทะเบียน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในหนังสือบริคณห์สนธิเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยก็ยังส่งมอบหนังสือดังกล่าวให้แก่ จ. เพื่อนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จ. นายทะเบียน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10274/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่กินฉันสามีภริยา การแบ่งทรัพย์สินหลังจดทะเบียนบริษัท และอำนาจฟ้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 จึงมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 และทรัพย์สินอื่นที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ประเด็นจึงมีว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 กับทรัพย์สินอื่นตามฟ้องและมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยกึ่งหนึ่งหรือไม่ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคดีทั้งสองมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากถูกแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี แต่คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลย จำเลยมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ ซึ่งการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยต้องยอมรับก่อนว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์ แต่จำเลยแย่งการครอบครอง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันโดยเหตุผลว่า ศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยแล้วว่า เป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน ผลของคำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยมิให้โต้เถียงสิทธิในที่ดินพิพาทอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลยโดยอ้างพยานและเหตุผลอื่น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีการจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ท. จึงมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์และจำเลย นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนบริษัท แม้จำเลยจะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ก็เป็นเพียงผู้บริหารในนามบริษัทไม่ใช่บริหารเป็นการส่วนตัว ทั้งมีบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีส่วนแห่งความเป็นเจ้าของในบริษัท ท. ด้วย การที่ไม่ปรากฏว่า มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยแบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ท. จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกเอาส่วนของโจทก์จากหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในบริษัท ท. เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น กิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นของบริษัท ท. มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรของบริษัท ท. ทั้งสองกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้
แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากถูกแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี แต่คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลย จำเลยมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ ซึ่งการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยต้องยอมรับก่อนว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์ แต่จำเลยแย่งการครอบครอง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันโดยเหตุผลว่า ศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยแล้วว่า เป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน ผลของคำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยมิให้โต้เถียงสิทธิในที่ดินพิพาทอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลยโดยอ้างพยานและเหตุผลอื่น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีการจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ท. จึงมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์และจำเลย นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนบริษัท แม้จำเลยจะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ก็เป็นเพียงผู้บริหารในนามบริษัทไม่ใช่บริหารเป็นการส่วนตัว ทั้งมีบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีส่วนแห่งความเป็นเจ้าของในบริษัท ท. ด้วย การที่ไม่ปรากฏว่า มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยแบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ท. จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกเอาส่วนของโจทก์จากหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในบริษัท ท. เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น กิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นของบริษัท ท. มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรของบริษัท ท. ทั้งสองกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-จดทะเบียนบริษัท: ผู้เสียหาย-อำนาจฟ้อง-การแย่งอำนาจจัดการ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 267 โจทก์ได้บรรยายไว้ในตอนท้ายของฟ้องข้อ 2 ว่า ข้อความที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนบริษัทและคำรับรองการจดทะเบียนล้วนเป็นความเท็จ เพราะแท้ที่จริงแล้วโจทก์ไม่เคยทราบถึงการบอกกล่าวนัดประชุมเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 และไม่ได้เข้าประชุมเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมครบจำนวน 3 คน และนับจำนวนหุ้นได้ 40,000 หุ้น ตามที่จำเลยทำคำรับรอง อันเป็นการบรรยายชี้ชัดลงไปแล้วว่าข้อความใดเป็นจริงและข้อความใดเป็นเท็จ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วเมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนว่าได้มีการบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและจัดให้มีการประชุม เป็นเหตุให้นายทะเบียนหลงเชื่อว่ามีการประชุมจริงจึงรับจดทะเบียนแก้ไขให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการลงชื่อผูกพันบริษัทได้ ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทเป็นว่าไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทอีกต่อไปแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ได้โจทก์และจำเลยร่วมกันก่อตั้งบริษัท อ. มีโจทก์ จำเลยและ ด. ญาติของจำเลยเป็นผู้ถือหุ้น อันมีลักษณะเป็นบริษัทของครอบครัว การกระทำของจำเลยที่อ้างส่งเอกสารเท็จและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนเพื่อให้รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทไว้ในสารบบรายการจดทะเบียนของบริษัท จึงเป็นเพียงการแย่งเอาอำนาจการบริหารจัดการบริษัทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ ของบริษัท รวมตลอดถึงหุ้นก็ยังคงเป็นของบริษัท และผู้ถือหุ้นรายเดิมในสัดส่วนจำนวนหุ้นเท่าเดิม ข้อเท็จจริงไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อลวงให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (2)