คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนหย่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าที่ไม่สมบูรณ์และมีเจตนาหลอกลวง ทำให้การหย่าไม่มีผลผูกพัน โจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภรรยา
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่า แต่ยังคงอยู่ร่วมเรือนเดียวกันและร่วมกันสร้างเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันอีก 1 หลัง ปรับปรุงที่พิพาททำเป็นนาขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกต้นผลอาสินเยี่ยงสามีภรรยา ต่างฝ่ายไม่มีคู่ครองใหม่พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าการจดทะเบียนหย่าก็โดยเจตนาไม่ประสงค์จะให้มีผลผูกพันกัน จึงใช้บังคับกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ทั้งคู่ยังคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรือนพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
การที่จำเลยและผู้ร้องขัดทรัพย์จดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สินกันโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์และผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยนั้นเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตการกระทำดังกล่าวจึงไม่มีผลทำให้เรือนพิพาทซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยตกเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์แต่ผู้เดียวตามที่สมยอมกันผู้ร้องขัดทรัพย์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยเรือนพิพาทจากการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการจดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สิน เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ปลอมใบมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 สามี นำโฉนดที่ดินจำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมขายฝากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงฟ้องขอเพิกถอนการขายฝาก ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและฉ้อโกงเกี่ยวกับการขายฝากนั้นย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าขายฝากที่ดินคืนและจำเลยที่ 2 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นอีกดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการหย่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการขายฝากเพียง 20 วันเศษ และบันทึกระบุเรื่องทรัพย์สินระหว่างจำเลยทั้งสองว่าให้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาดังกล่าวเพียง 7 วันจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเหตุนี้จึงเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความสมัครใจ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ไปจดทะเบียน
สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ได้ทำหนังสือหย่ากันเองด้วยความสมัครใจ มีพยาน 2 คนลงชื่อในหนังสือหย่า อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยสมัครใจ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม
สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ได้ทำหนังสือหย่ากันเองด้วยความสมัครใจ มีพยาน 2 คนลงชื่อในหนังสือหย่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ ศาลบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือหย่าตาม ป.พ.พ. บรรพ 5: การบังคับให้จดทะเบียนหย่าหลังทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันภายหลังใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ต่อมาได้ตกลงทำหนังสือหย่ากันไว้โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนถูกต้องตาม ม.1498 วรรค 2 แต่จำเลยบิดพริ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่า ตาม ม.1499 โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่าเพื่อความสมบูรณ์ตาม ม.1499 ได้ และถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ.มาตรา 213
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกเป็นบริวารจากการกระทำต่อเนื่อง แม้มีการจดทะเบียนหย่า ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการบังคับคดีได้
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่นางเจิมในคดีแดงที่ 722/2493 ศาลพิพากษาให้ขับไล่นางเจิม โจทก์อ้างว่าจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นสามีภรรยาเป็นบริวารของนางเจิมขอให้ขับไล่ด้วยจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของนางเจิม นางอุไร ภรรยาเป็นผู้เช่าจากนางเจิมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ
โจทก์จึงฟ้องขอให้ขับไล่สามีที่สุดโจทก์กับสามีตกลงประนีประนอมยอมความกันที่ศาล คือโจทก์ยอมให้สาลีเช่าอยู่ต่อไปอีก 2 ปี ครบกำหนดโจทก์ขอให้ศาลบังคับสามีและภรรยา สามียอมออกแต่ภรรยาไม่ยอมออก อ้างว่าตนเป็นผู้เช่าได้รับความคุ้มครอง คำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันตนเพราะตนเป็นผู้เช่าสามีไม่มีอำนาจไปทำยอม และได้หย่าขาดจากสามีภรรยาก่อนศาลพิพากษาตามยอมแล้ว
ดังนี้แม้จะได้ความว่าภรรยามีชื่อเป็นผู้เช่า แต่ขณะนั้นสามีภรรยายังอยู่กินในห้องพิพาท เวลาทำสัญญาสามีก็มาด้วยและลงชื่อเป็นพยานในสัญญาเช่า เมื่อคราวศาลเรียกสามีภรรยามาสอบในคดีก่อนคือคดีแดงที่ 722/2493 ภรรยาทราบแต่ไม่มา สามีมาแถลงต่อศาลว่าตนกับภรรยาอยู่ในห้องโดยตนเป็นผู้เช่าจากนางเจิม เมื่อสามีทำยอมกับโจทก์ที่ศาลภรรยาก็ทราบระหว่างนั้นภรรยายังนำค่าเช่ามาชำระให้โจทก์ด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นชัดว่าภรรยายอมถือว่าสามีเป็นผู้เช่าห้องพิพาทภรรยาย่อมตกเป็นบริวาร ที่ภรรยาอ้างว่าหย่าขาดนั้นเป็นเพียงโล่ห์บังหน้าเพื่อเลี่ยงการบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8333/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าโมฆะ ผลต่อกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สิน และสิทธิการรับมรดก
ภายหลังจากจำเลยกับ ส. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยกับ ส. ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเดียวกัน ทั้งจำเลยยังเป็นผู้ดูแล ส. เมื่อยามเจ็บไข้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจนกระทั่ง ส. ถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า การจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยกับ ส. กระทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะไม่ประสงค์ให้ผูกพันตามนั้น จึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะเบิกความว่า เหตุที่จำเลยจดทะเบียนหย่าเพราะเหตุผลทางธุรกิจการค้าของจำเลย แตกต่างจากเหตุผลการหย่าในคำให้การก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยเสียไป เพราะเหตุผลการหย่าไม่ได้เป็นสาระสำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การแสดงเจตนา เมื่อการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะ การสมรสยังคงมีอยู่ มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเกี่ยวกับการยกที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้ ส. ใช้บังคับมิได้ จำเลยอ้างความเป็นโมฆะดังกล่าวใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกของ ส. ที่จะต้องรับไปทั้งสิทธิและความรับผิดต่าง ๆ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนมีความสัมพันธ์กับสามี แม้จดทะเบียนหย่าแล้ว ไม่เป็นการละเมิด แต่ต้องมีการแสดงตนโดยเปิดเผย
โจทก์ในฐานะภริยามีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้ขณะฟ้องจะได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว กรณีมิใช่การกระทำละเมิด
ส่วนปัญหาจำเลยต้องใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์หรือไม่ เห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานกันเสร็จสิ้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงบังคับคดี: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าการแสดงเจตนาจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองทำขึ้นมีเจตนาลวงโดยสมรู้กันมิได้มีเจตนาหย่ากันจริงแต่จดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับคดี การจดทะเบียนหย่าตกเป็นโมฆะ และเป็นการจดทะเบียนหย่าโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ย่อมต้องด้วยกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเรื่องการแสดงเจตนาและโมฆะกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ..." และตามมาตรา 172 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า "โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้" ศาลจึงต้องใช้บทกฎหมายเฉพาะดังกล่าวเป็นหลักในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ตามที่มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ โดยไม่จำต้องอาศัยมาตรา 5 เรื่องการใช้สิทธิแห่งตนที่ให้บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต อันเป็นบทกฎหมายทั่วไปมาใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้
การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดีนี้นั้น กฎหมายบัญญัติทางแก้ไว้หลายกรณีด้วยกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสังคมสงบสุข แม้จำเลยทั้งสองอยู่ในสถานะจดทะเบียนหย่า แต่สิทธิของโจทก์ทั้งสองในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการที่จะบังคับแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น โจทก์ทั้งสองชอบที่จะบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ด้วยการร้องขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีการบังคับคดี โดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับโดยวิธีอื่นแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ แม้ว่ามีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียนหรือปรากฏตามหลักฐานอย่างอื่นว่าเป็นของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง, 296 (1) (2) (3), 297 (1) และมาตรา 298 ส่วนขั้นตอนในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความและป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าทำให้สิทธิในการบังคับคดีของโจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่ กรณียังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ หากจำเลยทั้งสองจดทะเบียนหย่าโดยเจตนาลวงอันมีผลให้การหย่าเป็นโมฆะ และมีการทำนิติกรรมใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง เนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ แต่ในคดีนี้โจทก์ทั้งสองไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำนิติกรรมใดลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ รวมทั้งไม่ได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ คงฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถกระบะภายหลังการจดทะเบียนหย่าทำให้โจทก์ทั้งสองยึดรถคันดังกล่าวไม่ได้ และมีคำขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่าเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง และศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการเป็นเจ้าของรถของจำเลยที่ 2 ในทะเบียนรถ เพราะจะเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง ดังนั้น แม้ศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียนหย่าเป็นโมฆะและให้เพิกถอนการจดทะเบียนหย่า แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถเช่นเดิม ผลของคำพิพากษาดังกล่าวทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองยังมีเท่ากับการไม่ได้ฟ้อง ซึ่งแสดงได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างได้ว่าการจดทะเบียนหย่าระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นโมฆะ
of 2