พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการศพของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง vs. ผู้ที่ผู้ตายตั้งไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะมีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตายได้ ต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายได้ตั้งไว้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ส. ผู้ตาย หาใช่ ส. ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของส. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพ ส. ผู้ตาย แม้โจทก์จะได้จัดการทำศพและใช้จ่ายในการปลงศพ ส. ผู้ตายไปจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่าทำศพแก่โจทก์
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ส. ผู้ตาย หาใช่ ส. ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของส. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพ ส. ผู้ตาย แม้โจทก์จะได้จัดการทำศพและใช้จ่ายในการปลงศพ ส. ผู้ตายไปจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่าทำศพแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการจัดการศพ: ต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้ตายหรือศาลเท่านั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะมีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตายได้ ต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายได้ตั้งไว้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกส. ผู้ตาย หาใช่ ส.ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของส. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพ สผู้ตาย แม้โจทก์จะได้จัดการทำศพและใช้จ่ายในการปลงศพส. ผู้ตายไปจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่าทำศพแก่โจทก์
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกส. ผู้ตาย หาใช่ ส.ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของส. ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพ สผู้ตาย แม้โจทก์จะได้จัดการทำศพและใช้จ่ายในการปลงศพส. ผู้ตายไปจริง โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่าทำศพแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการศพของผู้มรณภาพตกแก่ทายาทโดยธรรมเมื่อไม่มีผู้จัดการมรดกหรือพินัยกรรม
โจทก์เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับพระภิกษุผู้มรณภาพ จึงเป็นทายาทอันดับ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งผู้อื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ
พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจแก่วัดที่พระภิกษุจำพรรษาอยู่ขณะมรณภาพมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพไว้ ดังนั้น อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุผู้มรณภาพ
อำนาจและหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตายนั้น มาตรา 1649 บัญญัติไว้ตามลำดับดังนี้คือ ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งไว้ เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งผู้อื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการทำศพ ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้โดยเฉพาะ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรม หรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอ
พระภิกษุผู้มรณภาพไม่มีทรัพย์สินเป็นมรดก ไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นให้จัดการทำศพโดยเฉพาะ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจแก่วัดที่พระภิกษุจำพรรษาอยู่ขณะมรณภาพมีอำนาจและหน้าที่จัดการศพไว้ ดังนั้น อำนาจและหน้าที่ดังกล่าวจึงตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทโดยธรรมของพระภิกษุผู้มรณภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีอำนาจจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องต่อศาลหากไม่มีข้อพิพาท
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายมาตรา 1649 นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ อำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบทีจะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการศพ: ทายาทโดยธรรมมีสิทธิจัดการศพได้เอง ไม่ต้องร้องขอต่อศาล
กรณีร้องขอเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายตามมาตรา 1649นั้น ต้องปรากฏว่าผู้ตายไม่ได้ตั้งผู้จัดการมรดก หรือตั้งบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ ทั้งทายาทก็ตกลงกันไม่ได้ที่จะมอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพอำนาจและหน้าที่นี้จึงตกได้แก่ผู้ที่ได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนมากที่สุด และกรณีนี้ถ้าผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า ผู้ได้รับมรดกเป็นจำนวนมากที่สุดนั้นไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายจึงอาจร้องขอต่อศาลได้ แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายมีอำนาจจัดการทำศพหรือมอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ทั้งปรากฏว่าก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอได้ไปขอรับศพผู้ตาย แต่ส.ซึ่งรับศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจไปก่อน ไม่ยอมมอบให้โดยอ้างว่าเป็นภรรยาผู้ตาย จึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับ ส. ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินคดีกับ ส. อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 ที่ร้องเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการศพ: การพิสูจน์สถานะทายาทและผู้มีสิทธิจัดการศพตามกฎหมาย
ผู้มีอำนาจและหน้าที่จัดการศพคือผู้ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1649โจทก์ระบุในฟ้องไม่พอแสดงว่าโจทก์ได้รับมรดกผู้ตายมากที่สุด แม้จำเลยทำศพโดยไม่มีอำนาจก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจัดการศพ แม้ไม่มีข้อต้านการเรียกคืน
ทายาทโดยธรรมต้องรับผิดในฐานะทายาทชดใช้เงินแก่ผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายจัดการศพผู้ตาย ทายาทไม่ได้ยกข้อต่อสู้ว่าผู้จัดการศพไม่มีเจตนาเรียกคืน ศาลยกข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ เป็นนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงป้องกันตัวเกินสมควร, ความผิดเจ้าพนักงาน, การจัดการศพ: ความรับผิดทางอาญา
จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุ เมื่อผู้ตายเดินมาหาพวก ซึ่งพากันออกมายืนหน้าร้านพร้อมกับจำเลย ผู้ตายก้มลงเก็บของตกห่างจำเลยประมาณ 2 วา จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุราอยู่ด้วย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้ายตนจึงชักปืนยิงผู้ตาย เช่นนี้เป็นการเข้าใจโดยไม่มีเหตุอันควร และแม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาทก็เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบท เมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบท เมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนกับการจัดการศพ: สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกของผู้จัดการศพ
มารดาของผู้ตาย ซึ่งได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว ย่อมมีหน้าที่เป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1649 วรรคท้าย ฉะนั้น เมื่อมารดาผู้ตายทำสัญญามอบทรัพย์ของผู้ตายทั้งหมดให้ภรรยาอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โดยให้ภรรยาคนนั้นรับทำศพผู้ตาย ดังนี้ ย่อมถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน มารดาผู้ตายไม่มีสิทธิจะเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากภรรยานั้นในภายหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการศพ, ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าขาดไร้อุปการะ, และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะมีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตายได้ จะต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายได้ตั้งไว้ คดีนี้ ปรากฏว่าศาลได้ตั้งโจทก์ที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หาใช่ผู้ตายตั้งโจทก์ที่ 3 ไม่ ดังนั้น โจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 จัดการและใช้จ่ายในการปลงศพผู้ตาย โจทก์ที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจ่ายค่าทำศพให้โจทก์ที่ 3 ส่วนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกจึงเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ
ป.พ.พ. มาตรา 433 บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นด้วย ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวศาลจะต้องพิเคราะห์ถึงค่าปลงศพตามประเพณีและตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดทั้งหมด
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะศาลย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู และต้องพิจารณาว่าหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้อุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใดและเป็นเวลานานเท่าใด
อนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 โดยมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามสิทธิของแต่ละคน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ป.พ.พ. มาตรา 433 บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นด้วย ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวศาลจะต้องพิเคราะห์ถึงค่าปลงศพตามประเพณีและตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดทั้งหมด
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะศาลย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู และต้องพิจารณาว่าหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้อุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใดและเป็นเวลานานเท่าใด
อนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 โดยมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามสิทธิของแต่ละคน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข