พบผลลัพธ์ทั้งหมด 327 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ, ฟ้องเท็จ, การจับกุม, และการไต่สวนมูลฟ้อง: ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานเพียงพอ
พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสามเกี่ยวกับการทำสัญญาจะขายที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเหตุทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกันหลอกลวงจำเลยที่ 1 ทั้งข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก็เป็นการแจ้งข้อความไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และการที่จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานฟ้องเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน และการพิพากษาคดีอาญา
การจับ ส. ที่บ้านได้กระทำโดยมีหมายจับที่พันตำรวจเอก ร. ออกโดยชอบและหมายค้นของศาลจังหวัดมีนบุรี เมื่อแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น ส. ซึ่งยืนอยู่ด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้าน แล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่า ส. ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้วเข้าไปจับ ส. จึงเป็นกรณีจำเป็น ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 94 วรรคสอง
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1388/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมโดยไม่มีหมาย และการพิจารณาความผิดฐานฆ่าโดยใช้อาวุธร้ายแรง
เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดคดีนี้ เจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่มีอำนาจจับจำเลยได้โดย ไม่ต้องมีหมายจับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 66 (2) ส่วนข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเป็นข้อตกลงในทางปฏิบัติเท่านั้น แม้เจ้าพนักงานตำรวจมิได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ ทำให้การจับจำเลยเสียไป เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การใช้ลูกระเบิดในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเป็นลักษณะที่จะทำให้ตายโดยใช้อาวุธร้ายแรงมีอำนาจแห่งการทำลายกว้างขวาง มิได้มีการกระทำอันแสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษแต่ประการใด กรณีจึงไม่เข้าลักษณะการกระทำโดยทารุณโหดร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 289 (5)
การใช้ลูกระเบิดในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเป็นลักษณะที่จะทำให้ตายโดยใช้อาวุธร้ายแรงมีอำนาจแห่งการทำลายกว้างขวาง มิได้มีการกระทำอันแสดงถึงความโหดร้ายทารุณเป็นพิเศษแต่ประการใด กรณีจึงไม่เข้าลักษณะการกระทำโดยทารุณโหดร้าย ตาม ป.อ. มาตรา 289 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมผู้ต้องหาในสภาพเมามายและการใช้กำลังเกินความจำเป็นของเจ้าพนักงาน
โจทก์เมาสุราส่งเสียงดัง เดินเตะเก้าอี้และพูดจาระรานจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ทั้งขณะที่อยู่ในร้านอาหารและขณะเดินกลับออกจากร้านเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 378 จำเลยทั้งสามจึงมีอำนาจจับกุมโจทก์ โจทก์ดิ้นรนขัดขืนไม่ยอมให้จับกุมโดยดี จึงเป็นมูลความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ การที่จำเลยทั้งสามแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีต่อโจทก์ในข้อหาเสพสุราจนเป็นเหตุให้เมาประพฤติวุ่นวายในสาธารณสถานและต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 310 แต่ในการจับกุมโจทก์ซึ่งอยู่ในสภาพเมามายครองสติไม่ได้และโจทก์ขัดขวางการจับกุม จำเลยทั้งสามมีอำนาจใช้วิธีหรือความป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุมซึ่งจำเลยทั้งสามควรใช้วิธีการจับตัวและจับมือโจทก์เพื่อใส่เครื่องพันธนาการไม่ให้หลบหนีเท่านั้น จำเลยที่ 1 หาได้มีอำนาจที่จะชกต่อยทำร้าย ร่างกายโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลบวมที่โหนกแก้มขวาและตามัว ซึ่งเกิดจากการที่ถูกจำเลยที่ 1
ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391
ชกในขณะจับกุมการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6421/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าจากการใช้อาวุธปืนเกินกว่าเหตุในการจับกุมผู้กระทำผิดจราจร
สิบตำรวจโท ส. จำเลยได้ใช้อาวุธปืนพกขนาด .357ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายของจำเลยยิงไปที่รถยนต์บรรทุกคันกระสุนปืนถูกที่ตัวถังรถบริเวณประตูด้านคนขับและประตูตู้ท้ายรถ ในขณะที่ผู้เสียหายนั่งอยู่ที่ที่นั่งคนขับ จุดที่กระสุนปืนถูกที่ประตูรถยนต์ที่ผู้เสียหายขับเป็นจุดที่อยู่ตรงที่นั่งคนขับในระดับที่จะถูกร่างกายของผู้เสียหายพอดี แต่เนื่องจากกระสุนปืนทะลุไปถูกเหล็กกันกระแทกด้านข้าง จึงไม่ทะลุต่อไปไม่เช่นนั้นกระสุนคงจะถูกร่างกายของผู้เสียหายแน่นอน จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมรู้อยู่แก่ใจดีแล้วว่า อาวุธปืนพกขนาด .357 เป็นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายร้ายแรงจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ถือได้ว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
สิบตำรวจโท ส. จำเลยเพียงแต่ต้องการจับกุมผู้เสียหายที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการจอดรถในที่ห้ามจอดซึ่งเป็นความผิดเพียงเล็กน้อย (ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท) จำเลยหามีสิทธิที่จะใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นการใช้มาตรการในการจับกุมที่รุนแรงที่สุดไม่ หากผู้เสียหายไม่ยอมให้จับกุมและจะขับรถหลบหนีไป จำเลยก็เพียงแต่ใช้วิทยุแจ้งป้อมยามข้างหน้าที่คาดว่ารถของผู้เสียหายจะขับผ่านให้ช่วยสกัดจับหรือขับรถจักรยานยนต์ติดตามไปสกัดจับก็น่าจะทำได้ แต่การที่จำเลยนำอาวุธปืนมาใช้ในกรณีนี้นอกจากจะไม่มีสิทธิจะกระทำได้แล้วยังเป็นการกระทำที่เกินจำเป็นที่จะใช้ในการจับกุมอีกด้วย
สิบตำรวจโท ส. จำเลยเพียงแต่ต้องการจับกุมผู้เสียหายที่กระทำความผิดเกี่ยวกับการจอดรถในที่ห้ามจอดซึ่งเป็นความผิดเพียงเล็กน้อย (ระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท) จำเลยหามีสิทธิที่จะใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นการใช้มาตรการในการจับกุมที่รุนแรงที่สุดไม่ หากผู้เสียหายไม่ยอมให้จับกุมและจะขับรถหลบหนีไป จำเลยก็เพียงแต่ใช้วิทยุแจ้งป้อมยามข้างหน้าที่คาดว่ารถของผู้เสียหายจะขับผ่านให้ช่วยสกัดจับหรือขับรถจักรยานยนต์ติดตามไปสกัดจับก็น่าจะทำได้ แต่การที่จำเลยนำอาวุธปืนมาใช้ในกรณีนี้นอกจากจะไม่มีสิทธิจะกระทำได้แล้วยังเป็นการกระทำที่เกินจำเป็นที่จะใช้ในการจับกุมอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและแจ้งข้อหาจำหน่ายยาเสพติดโดยไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
ก่อนจับกุมจำเลย พยานผู้จับกุมสืบทราบเพียงว่ามีหญิงคนหนึ่งลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงไปที่หมู่บ้านที่เกิดเหตุพบจำเลยยืนอยู่ข้างทางท่าทางมีพิรุธจะเดินหนีจึงแสดงตัวเข้าตรวจค้นจับกุมพบเมทแอมเฟตามีนอยู่ในมือจำเลยและเงินสดอยู่ในกระเป๋ากางเกง จึงแจ้งข้อหาว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ พยานผู้จับกุมก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าจำเลยจะเป็นหญิงตามที่สืบทราบมาหรือไม่ เหตุที่จับจำเลยได้น่าจะเป็นเหตุบังเอิญมากกว่า นอกจากจำเลยแล้วก็ยังมีการจับกุมผู้ต้องหารายอื่น ๆ อีก ทั้งบันทึกคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนก็มีร่องรอยการแก้ไขในช่องแจ้งข้อหา กรณียังมีเหตุน่าสงสัยอยู่ว่าจำเลยกระทำผิดในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่คงลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นและจับกุมโดยไม่มีหมายค้นและไม่ได้เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่าการตรวจค้นและจับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและไม่ได้เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า การตรวจค้นบ้านจำเลยและจับกุมจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บันทึกการตรวจค้นและ จับกุมจึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยได้นั้น จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจพบพฤติกรรมซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าจำเลยได้กระทำความผิดมาแล้วสด ๆ อันถือได้ว่าเป็นความผิด ซึ่งหน้าหรือไม่ จึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4370/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการสอบสวนและฟ้องร้อง พยานหลักฐานมั่นคงรับฟังได้
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอนกันการจับกุมที่ไม่ชอบนั้นไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้มีผลกระทบไปถึงการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าการจับกุมจำเลยในคดีนี้จะเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลคดีได้
โจทก์มีประจักษ์พยานสองปากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเบิกความยืนยันว่า เห็นจำเลยทั้งสองกำลังนั่งนับเมทแอมเฟตามีนอยู่ โดยไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์รู้จักจำเลยทั้งสองมาก่อน มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์อย่างไรในการแกล้งกล่าวหาให้จำเลยได้รับโทษในคดีนี้ จึงไม่มีข้อระแวงว่าพยานโจทก์จะสร้างหลักฐานขึ้นมาเบิกความปรักปรำจำเลยทั้งสอง ทั้งไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปหาเมทแอมเฟตามีนมาถึง 29 เม็ด ซึ่งมีราคานับพันบาทมากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสองขณะเกิดเหตุและก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นอยู่ภายในที่เกิดเหตุด้วย หลังเกิดเหตุพยานโจทก์ก็แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบเพื่อไปรับตัวจำเลยทั้งสองและของกลางทันทีโดยมีพันตำรวจตรี น. และนายดาบตำรวจ ว. เบิกความสนับสนุนพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครอง
โจทก์มีประจักษ์พยานสองปากเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเบิกความยืนยันว่า เห็นจำเลยทั้งสองกำลังนั่งนับเมทแอมเฟตามีนอยู่ โดยไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์รู้จักจำเลยทั้งสองมาก่อน มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์อย่างไรในการแกล้งกล่าวหาให้จำเลยได้รับโทษในคดีนี้ จึงไม่มีข้อระแวงว่าพยานโจทก์จะสร้างหลักฐานขึ้นมาเบิกความปรักปรำจำเลยทั้งสอง ทั้งไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปหาเมทแอมเฟตามีนมาถึง 29 เม็ด ซึ่งมีราคานับพันบาทมากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสองขณะเกิดเหตุและก่อนเกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลอื่นอยู่ภายในที่เกิดเหตุด้วย หลังเกิดเหตุพยานโจทก์ก็แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบเพื่อไปรับตัวจำเลยทั้งสองและของกลางทันทีโดยมีพันตำรวจตรี น. และนายดาบตำรวจ ว. เบิกความสนับสนุนพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีพรากผู้เยาว์และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ การจับกุมและสอบสวน
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คดีสำหรับข้อหานี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามฟ้องนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน เพราะการจับเป็นวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำผิด ส่วนการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.อ. ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ และป.วิ.อ.มาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ไม่ปรากฎว่าคดีนี้ไม่ได้มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน เพราะการจับเป็นวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำผิด ส่วนการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.อ. ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ และป.วิ.อ.มาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ไม่ปรากฎว่าคดีนี้ไม่ได้มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน การจับกุมไม่ชอบไม่กระทบการสอบสวนและอำนาจฟ้อง
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นวิธีการทางกฎหมายคนละขั้นตอนกัน โดยการจับกุมจะชอบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งอันเพื่อให้ได้ตัวมาเพื่อการฟ้องศาลตามที่สอบสวนไว้แล้วหรือที่จะทำการสอบสวนต่อไปเท่านั้น ไม่มีผลเกี่ยวข้องกับการสอบสวนไม่เหมือนกับการร้องทุกข์หรือการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 129ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวน เมื่อมีการสอบสวนจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล