พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และการพิจารณาคำสั่งระหว่างพิจารณา
การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้งดการพิจารณาคดีชั่วคราวและให้งดสืบพยานจำเลยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท: การฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งและข้อห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วยดังนั้น ที่จำเลยฎีกาถึงความเข้าใจของตนว่ามีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเพื่อแสดงว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและข้อจำกัดในการขอขยายซ้ำ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแม้จะน้อยกว่าระยะเวลาที่จำเลยขอ ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะอุทธรณ์ให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์และฎีกา: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 34273 จากชื่อบิดาจำเลยเป็นชื่อโจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินระหว่างบิดาจำเลยกับจำเลยในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 ดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์ทั้งห้าและจำเลยร่วมกัน กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับส่วนแบ่งข้าวลดลง โจทก์ทั้งห้าเสียค่าขึ้นศาลโดยตีราคาที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวรวมกับค่าเสียหายแล้ว เป็นทุนทรัพย์ตามคำฟ้องทั้งสิ้น226,800 บาท ปรากฏตามที่โจทก์ทั้งห้าอ้างในคำฟ้องว่าบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 และ 34273ดังกล่าวไว้แทนทายาททุกคนด้วย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีเพราะจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินนั้นแทนบิดาจำเลย โจทก์ทั้งห้าในฐานะทายาทซึ่งมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวจึงขอให้จำเลยแบ่งที่ดินทั้งสองแปลงโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยด้วย จึงเท่ากับโจทก์ทั้งห้าอ้างว่าโจทก์แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงนั้นร่วมกับจำเลยโดยมีส่วนคนละเท่า ๆ กัน ทุนทรัพย์ตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละคนย่อมคำนวณแบ่งแยกจากกันได้เป็นจำนวนเท่า ๆกัน คนละ 45,360 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งห้าและพิพากษายืนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อปรากฏตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงมีจำนวนเพียง 45,360 บาท หาใช่จำนวน 226,800 บาทไม่ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งทั้งเป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่งด้วย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อปรากฏตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงมีจำนวนเพียง 45,360 บาท หาใช่จำนวน 226,800 บาทไม่ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งทั้งเป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่งด้วย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806-5807/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่จำกัด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ทรัพย์มรดกของ อ. มีเพียงใดและโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกหรือไม่ เพียงใด โดยมิได้กำหนดวิธีการแบ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ตามที่จำเลยให้การต่อสู้ ซึ่งก็ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด โดยวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสิบส่วนครบตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ ก็ย่อมไม่จำต้องวินิจฉัยถึงวิธีการแบ่งเพราะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 อยู่แล้ว อีกทั้งก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้วินิจฉัยเกี่ยวกับวิธีการแบ่งตามที่จำเลยให้การต่อสู้มาด้วย ก็เป็นเรื่องวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทและไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาฉะนั้น ข้อฎีกาของจำเลยย่อมถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในคดีรังนกอีแอ่น: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตฐานมีรังนกอีแอ่นไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และฐานขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ตามธรรมชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นฯมีโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแยกข้อหาความผิดของจำเลยทั้งสามฐานดังกล่าวกับความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นกรณีต่างกรรมกันและการพิจารณาว่าอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ หรือไม่ ต้องพิจารณาความผิดแต่ละกระทงแยกเป็นรายกระทงความผิด ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่นฯ ซึ่งเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยจำกัดประเด็น ทำให้สละสิทธิในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทเป็นการทำตามมติเสียงข้างมากของที่ประชุมชาวบ้านที่อยู่อาศัยในศูนย์การค้า โจทก์คดีดังกล่าวแม้ไม่เห็นด้วยก็ต้องปฏิบัติตาม การปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยชอบ ไม่เป็นการละเมิด เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ท้ากันให้ถือเอาคำพิพากษาคดีดังกล่าวมาเป็นข้อวินิจฉัยคดีนี้ จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ซึ่งออกตามมติของที่ประชุมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาจำกัดในคดีสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยเบื้องต้น
การสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ กฎหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย และให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าไม่ประสงค์ให้ศาลฎีกาเข้าไปวินิจฉัยในเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ประกาศรายชื่อผู้ร้องให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตรงกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ6,000 บาท ซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ 3,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้ว และประเด็นการโอนสิทธิการเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ 3,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง และ248 วรรคสอง