พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดจำนวนรถสามล้อรับจ้างและการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนตามกฎกระทรวงและนโยบายรัฐ
กฎกระทรวงฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2504) ข้อ 4 ที่ออกตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 มีความว่าในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้กำหนดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาที่จะจดทะเบียนได้ไม่เกิน 8,000 คันนั้น มีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารโดยให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 8,000 คันจะรับจดทะเบียนเกินกว่านี้ไม่ได้ หาได้หมายความว่าถ้ายังจดทะเบียนไม่ครบจำนวนดังกล่าวแล้ว หากมีผู้มาขอจดทะเบียนอีกก็จะต้องรับจดทะเบียนให้จนครบจำนวนดังกล่าวไม่ เพราะอยู่ในดุลพินิจของนายทะเบียนที่จะเห็นสมควรตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสารผู้ใช้ถนนสัญจรไปมา และความสะดวกในการจราจร
คณะกรรมการพิจารณาปัญหารถผิดกฎหมายและการประกอบการรถยนต์รับจ้างของ กระทรวงมหาดไทย เคยมีมติว่า ไม่ควรเพิ่มโควต้าป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีที่จะให้จำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครค่อย ๆ ลดลงไปตามลักษณะและการสิ้นสภาพของรถ ทั้งหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2530) โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5 (12) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ให้งดรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่านอกจากจะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครแล้วยังต้องการให้ลดจำนวนลงไปตามลักษณะการสิ้นสภาพของรถด้วยดังนั้น การที่จำเลยใช้ดุลพินิจไม่รับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาให้โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเพื่อสนองนโยบายของ รัฐบาล ถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2504) ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คณะกรรมการพิจารณาปัญหารถผิดกฎหมายและการประกอบการรถยนต์รับจ้างของ กระทรวงมหาดไทย เคยมีมติว่า ไม่ควรเพิ่มโควต้าป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีที่จะให้จำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครค่อย ๆ ลดลงไปตามลักษณะและการสิ้นสภาพของรถ ทั้งหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2530) โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5 (12) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ให้งดรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่านอกจากจะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครแล้วยังต้องการให้ลดจำนวนลงไปตามลักษณะการสิ้นสภาพของรถด้วยดังนั้น การที่จำเลยใช้ดุลพินิจไม่รับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาให้โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเพื่อสนองนโยบายของ รัฐบาล ถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2504) ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดจำนวนรถสามล้อรับจ้างและการใช้ดุลพินิจของนายทะเบียนตามกฎกระทรวง
กฎกระทรวงฉบับที่ 28(พ.ศ. 2504) ข้อ 4 ที่ออกตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473 มีความว่าในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้กำหนดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาที่จะจดทะเบียนได้ไม่เกิน 8,000 คันนั้น มีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารโดยให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกิน 8,000 คันจะรับจดทะเบียนเกินกว่านี้ไม่ได้ หาได้หมายความว่าถ้ายังจดทะเบียนไม่ครบจำนวนดังกล่าวแล้ว หากมีผู้มาขอจดทะเบียนอีกก็จะต้องรับจดทะเบียนให้จนครบจำนวนดังกล่าวไม่ เพราะอยู่ในดุลพินิจของนายทะเบียนที่จะเห็นสมควรตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้โดยสารผู้ใช้ถนนสัญจรไปมา และความสะดวกในการจราจร คณะกรรมการพิจารณาปัญหารถผิดกฎหมายและการประกอบการรถยนต์รับจ้างของ กระทรวงมหาดไทย เคยมีมติว่า ไม่ควรเพิ่มโควต้าป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีที่จะให้จำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครค่อย ๆ ลดลงไปตามลักษณะและการสิ้นสภาพของรถ ทั้งหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5(12) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ข้อ 2 ให้งดรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อในเขตกรุงเทพมหานคร แสดงให้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่านอกจากจะจำกัดจำนวนรถยนต์รับจ้างสามล้อในกรุงเทพมหานครแล้วยังต้องการให้ลดจำนวนลงไปตามลักษณะการสิ้นสภาพของรถด้วยดังนั้น การที่จำเลยใช้ดุลพินิจไม่รับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างสามล้อบรรทุกคนโดยสารแบบใช้เพลาให้โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบเพื่อสนองนโยบายของ รัฐบาล ถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 28(พ.ศ. 2504) ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้ของผู้ค้ำประกัน, การรับผิดชอบจำกัดจำนวน, และดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามป.พ.พ.มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เป็นนิติกรรมอำพรางเพื่อเปลี่ยนความรับผิดจากค่าเช่านา ความรับผิดจำกัดเฉพาะจำนวนค้างชำระ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์จำเลยเช่านาโจทก์ให้นายตึ๋งทำโดยโจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ไว้แทนสัญญาเช่านา ดังนี้เมื่อฟังว่าสัญญากู้ที่โจทก์จำเลยกระทำขึ้นก็เพื่อประสงค์จะให้เรียกร้องกันได้เมื่อนายตึ๋งค้างชำระค่าเช่านาเป็นการเปลี่ยนความรับผิดจากการค้ำประกันค่าเช่านามาเป็นการกู้เงินโดยเงื่อนไขที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ยังค้างอยู่มิได้ชำระเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็รับผิดเพียงนั้น
ฎีกาที่ 799/2493 รูปคดีไม่ตรงกับคดีนี้ เพราะเป็นเรื่องที่นิติกรรมสัญญากู้ที่ทำขึ้นผูกพันคู่กรณีโดยสมบูรณ์แต่คดีนี้ความรับผิดของจำเลยตามกฎหมายมีอยู่สมบูรณ์เพียงจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวมาข้างต้นเท่านั้น หาใช่เป็นการสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารนั้นไม่
ฎีกาที่ 799/2493 รูปคดีไม่ตรงกับคดีนี้ เพราะเป็นเรื่องที่นิติกรรมสัญญากู้ที่ทำขึ้นผูกพันคู่กรณีโดยสมบูรณ์แต่คดีนี้ความรับผิดของจำเลยตามกฎหมายมีอยู่สมบูรณ์เพียงจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวมาข้างต้นเท่านั้น หาใช่เป็นการสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10935/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งให้คืนเงินในคดีอาญา: คืนได้เฉพาะเงินที่เสียหายจริงเท่านั้น
คดีนี้ผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แต่เป็นกรณีที่พนักงานอัยการขอให้จำเลยคืนเงินจำนวน 400,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหาย อันเป็นการเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดคืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจพนักงานอัยการสามารถเรียกทรัพย์สินหรือใช้ราคาแทนผู้เสียหายเพียงเท่าจำนวนที่ผู้เสียหายเสียไปเท่านั้น ค่าเสียหายอย่างอื่นหรือดอกเบี้ยไม่อาจเรียกคืนแทนผู้เสียหายได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 580,000 บาท แก่ผู้เสียหายซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้เสียหายเสียไปนั้น จึงขัดต่อมาตรา 43 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 162,000 บาท คงมีแต่โจทก์ที่อุทธรณ์ ส่วนที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 270,000 บาท จำเลยที่ 1 ฎีกา ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระแก่โจทก์ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซองกระสุนเกิน 10 นัด เป็นอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตได้ แม้ใช้กับปืนที่มีใบอนุญาตได้
ซองกระสุนปืนเป็นอาวุธปืนตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (1) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 1 แม้ซองกระสุนปืนของกลางสามารถใช้ร่วมกับอาวุธปืนของกลางที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้เกินกว่า 10 นัด แล้วก็เป็นซองกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2491) ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 2 (12) จำเลยจึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง และซองกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบตาม ป.อ. มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีอากรต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ แม้มีการผ่อนชำระหนี้
ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่กำหนดจำนวนเงินขั้นสูงสุดที่ผู้เสียภาษีต้องรับผิดในส่วนของเงินเพิ่มสำหรับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่ว่าจะคำนวณเงินเพิ่มอย่างไร เงินเพิ่มที่คำนวณได้ทั้งหมดต้องมีจำนวนไม่เกินไปกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ อันเป็นไปเพื่อมิให้ผู้เสียภาษีต้องรับผิดในส่วนนี้มากไปกว่ามูลหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นเหตุให้มีการเสียเงินเพิ่มนั้น จำนวนเงินขั้นสูงสุดดังกล่าวย่อมต้องเป็นจำนวนที่แน่นอนสอดคล้องกับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้เสียภาษีต้องชำระหรือนำส่ง ส่วนการผ่อนชำระหนี้ภาษีซึ่งอาจทำให้จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้เสียภาษีต้องชำระหรือนำส่งลดลงนั้น ก็เป็นเพียงกรณีที่การคำนวณเงินเพิ่มต้องเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนที่ลดลงของภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้เสียภาษีต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แต่หาเป็นเหตุให้จำนวนเงินขั้นสูงสุดที่ผู้เสียภาษีต้องรับผิดในส่วนของเงินเพิ่มสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเปลี่ยนแปลงไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อโจทก์นำสืบว่า เจ้าพนักงานของโจทก์ได้เร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างและนำเงินที่ยึดหรืออายัดไปชำระหนี้ภาษีอากรตามบัญชีแสดงรายละเอียดการผ่อนชำระหนี้ คงมีหนี้ค้างคงเหลือเป็นค่าภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยเมื่อรวมเงินเพิ่มเก่าและเงินเพิ่มใหม่ยังไม่เกินจำนวนภาษีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมิน และเจ้าพนักงานของโจทก์ได้คำนวณหนี้ภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคงค้างชำระหนี้ทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แล้ว การคำนวณเงินเพิ่มของโจทก์จึงชอบแล้ว