คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรนอกกฎหมาย: ข้อจำกัดตามกฎหมายแพ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้กระทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่มาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3751/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษโดยศาลอุทธรณ์และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทกฎหมายที่ใช้ในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยและแก้โทษจำคุกให้น้อยลงสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจาก 6 ปี เป็น 5 ปี และความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจาก 5 ปี เป็น 4 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหรือหากศาลเห็นว่าจำเลยจะทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: การครอบครองแทนโจทก์และผลของการโอนที่ดินก่อนครบกำหนด
การครอบครองที่ดินของ ส. เป็นการครอบครองโดยได้รับอนุญาตจากสหกรณ์นิคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของสหกรณ์นิคม หากมิได้ปฏิบัติตาม ส. อาจถูกสั่งให้ออกจากนิคมสหกรณ์ได้ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐหรือสหกรณ์ผู้ได้รับมอบอำนาจทางกฎหมายให้จัดที่ดินให้แก่สมาชิก มิได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่สมาชิกแต่อย่างใด การครอบครองของ ส. จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์และไม่สามารถขายหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ใดได้ การที่ ส. ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์มานั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารสิทธิที่แสดงว่า ส. ได้ทำประโยชน์ในที่ดินและเป็นสมาชิกสหกรณ์มาเกินห้าปี และสามารถนำเอกสารนี้ไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองทำประโยชน์ได้เท่านั้น มิใช่เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงถึงการครอบครอง ดังนั้น ถึงแม้ผู้ร้องจะได้รับมอบการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินก็เป็นเพียงเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส. เท่านั้น เมื่อ ส. ไม่มีสิทธิครอบครองผู้ร้องก็ไม่ได้สิทธิครอบครองด้วย และเมื่อภายหลัง ส. ถึงแก่กรรมจำเลยได้เข้าสวมสิทธิของ ส. นำหนังสือแสดงการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท และได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่ผู้ร้องไว้ก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายได้กระทำลงยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 12 จึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่อาจใช้บังคับได้ ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์พิพาทเกิน 50,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์
ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย มีเนื้อที่ 20 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,250 บาท คิดเป็นทุนทรัพย์พิพาท 25,000 บาท ดังนี้ทุนทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยตามคำฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท คู่ความจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าที่ดินในส่วนที่พิพาทกับโจทก์ที่ 2 เป็นที่ดินของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมกระทงความผิดทางอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษเมื่อลดโทษหนึ่งในสี่แล้วจำคุกจำเลยฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 9 เดือน ฐานข่มขืนกระทำชำเรามีกำหนด 4 ปี 6 เดือน และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังมีกำหนด 9 เดือน ซึ่งกำหนดโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกจำเลย 1 ปี รวมกับโทษจำคุก 6 ปี ฐานข่มขืนกระทำชำเราตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำคุกจำเลย 7 ปี ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสี่ คงจำคุก 5 ปี 3 เดือน ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อยในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้โดยลดโทษให้หนึ่งในสาม ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้เฉพาะโทษ กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ขอให้ลงโทษประหารชีวิต เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องคดีใหม่หลังศาลชั้นต้นยกคำขอไม่สมฟ้อง และการไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบไม่สมฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำขอส่วนนี้เสียทั้งหมด เพราะสามารถที่จะวินิจฉัยในคดีนี้ได้อยู่แล้ว การที่ศาลชั้นต้นให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองฟ้องใหม่ในประเด็นนี้อีกจึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งโจทก์ทั้งสองชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาในส่วนนี้ เมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่เลือกที่จะฟ้องใหม่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ โจทก์ทั้งสองจะขอให้ศาลฎีกากลับให้สิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบแก่โจทก์ทั้งสองหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจังหวัดนครราชสีมาจำเลยที่ 18 และพิพากษาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์คืนมาคำขอในส่วนที่ขอให้พิพากษาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาด้วย แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 ก็ต้องได้ความว่าหนองน้ำในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ไม่ใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน ถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ค่าเสียหายปีต่อ ๆ ไปนับแต่วันฟ้องปีละ 20,000 บาท เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นจำนวนทุนทรัพย์ได้
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์มิได้ออกทับที่สาธารณประโยชน์เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกา: ข้อหาใหม่/ข้อเท็จจริงไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ที่โจทก์ร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่จำเลยเตะบริเวณแก้มของผู้ตายเป็นการเล็งเห็นผลว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ ในข้อหาที่โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้อง และเป็นข้อหาที่โจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจะลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และโจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ข้อที่สองที่ว่า จำเลยทำร้ายผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้ายและอุทธรณ์ข้อที่สามที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายในสถานหนัก ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อที่สองและข้อที่สามของโจทก์ร่วม จึงไม่ชอบ
โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยเด็กหญิงไม่ยินยอมจำคุก 6 ปี ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายจำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวแล้วแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
of 33