พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุราคาทรัพย์สินเกินสองแสนบาท และฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จะมีคำขอตามฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ตามแต่ประเด็นข้อพิพาทที่แท้จริงของคดีก็คือ โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ส่วนคำขอที่ขอให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นว่าสิทธิครอบครองเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสองแสนบาท จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจให้การรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงและไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะฎีกาได้ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องแย้งขอคืนใบสำคัญรับบิล ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์แต่ถูกจำกัดสิทธิฎีกาเนื่องจากข้อเท็จจริงพิพาท
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองขอให้โจทก์ส่งมอบใบสำคัญรับบิลอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ของโจทก์จำนวน123,119บาทคืนแก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ตามใบสำคัญรับบิลดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วถือได้ว่าเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนหนี้ในใบสำคัญรับบิลดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น และประเด็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อหา พา อาวุธปืน ศาลชั้นต้น จำคุก 6 เดือน ข้อหา วางเพลิง เผาทรัพย์ และ ทำลาย ศพ เพื่อ ปิดบัง การ ตาย ศาลชั้นต้น ลงโทษ ฐาน วางเพลิงเผา ทรัพย์ ซึ่ง เป็น กฎหมาย บท ที่ มี โทษ หนัก ที่สุด ให้ จำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลย จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ที่ จำเลย ฎีกา ว่าพยาน หลักฐาน โจทก์ ยัง มี ข้อสงสัย เชื่อ ไม่ได้ ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ผู้กระทำผิด คดี นี้ เป็น ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ความผิด ทั้ง สาม ข้อหา ดังกล่าวจึง ต้องห้าม มิให้ จำเลย ฎีกา ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย การ ที่ จำเลย กับ ผ. มี เรื่อง ทะเลาะ วิวาท และ เรื่อง ยุติ กัน ไปแล้ว จำเลย ขับ รถ ตาม ไป ยัง ผ. เช่นนี้ การ ทะเลาะ วิวาท ได้ ขาดตอนไป แล้ว จำเลย มี เวลา คิด ไตร่ตรอง ที่ จะ ฆ่า ผ. และ ติดตาม ไป ฆ่าการ กระทำ ของ จำเลย จึง เป็น การ ฆ่า ผ. โดย ไตร่ตรอง ไว้ ก่อน แต่ที่ จำเลย ฆ่า ม. และ ว. ด้วย นั้น ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย กับ ม. และว. ทะเลาะ วิวาท กัน จน ถึง กับ จำเลย จะ ต้อง คิด ฆ่า บุคคล ทั้งสอง การที่ จำเลย ฆ่า บุคคล ทั้งสอง ก็ เพราะ บุคคล ทั้งสอง นั่ง รถ มา กับ ส.จำเลย จึง ฆ่า เพื่อ ปกปิด การ กระทำ ความผิด ของ จำเลย แต่ โจทก์ มิได้ฟ้อง จำเลย ใน ข้อหา ฆ่า ม. และ ว. เพื่อ ปกปิด การ กระทำ ความผิดจึง ลงโทษ จำเลย ใน ข้อหา นี้ ไม่ได้ คง ลงโทษ ได้ เพียง ฐาน ฆ่า บุคคลทั้งสอง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์, อำนาจศาลแก้ไขความบกพร่องความสามารถคู่ความ, และการแก้ไขคำพิพากษาตามฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นรวมคดีพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สิทธิในการฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่ฟ้องโดยแยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนรวมทั้งฟ้องแย้งของจำเลยในแต่ละสำนวนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า ส. มิใช่ลูกจ้างและมิได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของอ. ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดตามฟ้องแย้งของจำเลยและฎีกาโต้เถียงในเรื่องค่าเสียหายล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและพิพากษาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลย แล้วพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการพิพากษาใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับจุดที่รถยนต์ชนกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ทุกคนมีอายุเกิน 20 ปีแล้วแม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์บกพร่อง และศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งให้แก้ไขความบกพร่องให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ โดยศาลฎีกาไม่จำต้องสั่งแก้ไขเรื่องความสามารถ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในงานศพ และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นสรุปในตอนท้ายของคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องและในส่วนที่เกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เท่าที่ปรากฎในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท คดีรถหาย
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยขับรถของโจทก์ไปราชการแล้วสูญหายไปทั้งจำเลยและรถ โดยโจทก์ไม่มีพยานยืนยันให้รับฟังได้ว่ารถของโจทก์สูญหายไปเพราะการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยโจทก์ฎีกาว่าจำเลยเอารถของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวมิใช่เป็นการใช้ในราชการหรือได้รับอนุญาตให้เอาไปใช้โดยจำเลยไม่มีเหตุจะอ้างได้เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: ศาลไม่รับวินิจฉัยฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีน กระทงละ 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และอายุความสัญญา
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินจำนวน50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ค้ำประกันการทำงานของ อ.ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกัน อ.จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ไว้ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ.ที่ให้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ส่วนความรับผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อน การบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699
อ.ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยยอมให้โจทก์หักเงินเดือนชดใช้เป็นรายเดือนจนกว่าจะครบจำนวนและโจทก์ได้หักเงินเดือนของ อ.ชดใช้ตลอดมาจน อ.ถึงแก่ความตาย ความรับผิดของ อ.ที่มีต่อโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ไว้ต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ.ที่ให้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันเท่านั้น ส่วนความรับผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อน การบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699
อ.ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยยอมให้โจทก์หักเงินเดือนชดใช้เป็นรายเดือนจนกว่าจะครบจำนวนและโจทก์ได้หักเงินเดือนของ อ.ชดใช้ตลอดมาจน อ.ถึงแก่ความตาย ความรับผิดของ อ.ที่มีต่อโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน และความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปี คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นกักขังและการจำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง 20 วัน แทนโทษจำคุก เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกา: จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาในความรับผิดของจำเลยที่ 3 เนื่องจากเป็นคู่ความร่วมกัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ในวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ส่งต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ชอบที่จะรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐาน ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวนด้วยนั้น จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะเป็นคู่ความคนละฝ่ายกับจำเลยที่ 3. จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 3 และปัญหานี้โจทก์มิได้ฎีกา การที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำแก้ฎีกาไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีค่าปรับจากสัญญาประกันตัว เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินค่าปรับตามสัญญาประกันตัว จ.ผู้ต้องหา 30,000 บาท และฟ้องเรียกเงินค่าปรับตามสัญญาประกันตัว ฉ.ผู้ต้องหา 30,000 บาท โดยฟ้องจำเลยเรียกเงินดังกล่าวมาในฟ้องฉบับเดียวกัน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยชำระค่าปรับราย จ. 5,000 บาท และราย ฉ.20,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยทุนทรัพย์ในคดีนี้ต้องถือตามจำนวนเงินในสัญญาประกันแต่ละฉบับ เพราะค่าปรับตามสัญญาประกันทั้ง 2 ฉบับเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดกัน เมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248