พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ทรัสต์รีซีท และการกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอน
เดิมจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์แต่ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จึงได้ทำสัญญา ทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้า ไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท มิใช่เป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินอันเป็นหนี้ คนละส่วนแยกต่างหากจากกัน หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทยังไม่ขาดอายุความ ตามใบแจ้งยอดหนี้ทรัสต์รีซีทมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหนี้และการคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งสามารถทราบยอดหนี้ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจำนวนเท่าใดหนี้จำนวนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สิน: คิดจากราคาที่ยึดได้ หรือจำนวนหนี้? ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดจากราคาที่ยึดได้แต่ไม่เกินจำนวนหนี้
กรณีที่ยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายการเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์ที่ยึดนั้นคำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 3หมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7153/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการไถ่ที่ดินคืนจากผู้รับจำนอง แม้เสนอราคาไถ่ไม่ตรงกับจำนวนหนี้จริง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ไถ่ได้ตามจำนวนหนี้
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โจทก์จะขอไถ่ที่ดินพิพาทคืนในราคา4,400บาทก็ตามแต่ความประสงค์หลักตามฟ้องของโจทก์ก็คือขอไถ่ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1เนื่องมาจากล. มอบที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1ทำกินต่างดอกเบี้ยดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าล. เป็นหนี้จำเลยที่1จำนวน99,900บาทโจทก์ก็ต้องไถ่ที่ดินพิพาทคืนในราคา99,900บาทและศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้โจทก์ได้ไถ่คืนตามจำนวนเงินที่เป็นหนี้กันจริงได้โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินจำนวนหนี้ โจทก์ต้องรับผิด
จำเลยเป็นหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่ถึง60,000 บาท แต่โจทก์นำยึดที่ดินและบ้านของจำเลยราคากว่า 1,750,000 บาทโดยภายในบ้านของจำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถือได้ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีโจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284วรรคสอง และต้องรับผิดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: จำนวนหนี้ไม่มากเมื่อเทียบกับอาชีพและรายได้, ไม่มีเจ้าหนี้อื่น, เหตุไม่ควรล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยเป็นหนี้โจทก์เพียง 65,168.31 บาท ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักเมื่อคำนึงถึงอาชีพทนายความและรายได้ของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก รูปคดีมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2497 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของเจ้าหนี้จำนองในการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี โดยไม่จำเป็นต้องระบุจำนวนหนี้ในคำสั่ง
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ไม่จำเป็นต้องระบุจำนวนหนี้จำนองไว้ในคำสั่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวและจำนวนหนี้ที่แน่นอน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภรรยากันและเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วไม่ชำระ โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้ธนาคาร ก. ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอีก 3 คดี ซึ่งยังไม่มีการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองย้ายที่อยู่หลายครั้งโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบอีกทั้งจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นหนี้ที่สามารถคำนวณได้แน่นอนพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเป็นคำพิพากษา ซึ่งพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) บัญญัติให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลาย 50 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษา ซึ่งพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องจำนวนหนี้ที่ต่ำกว่าการรับสารภาพในชั้นศาล และหลักการไม่แก้ไขคำพิพากษาหากไม่มีการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์จำนวน 57,508.20 บาท จำเลยทั้งสองให้การรับว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวน 38,464.76 บาท จึงมีประเด็นข้อพิพาทกันแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้หรือไม่ จำเลยที่ 1จะฎีกาว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำนวน 15,144.66 บาทซึ่งต่ำกว่าที่จำเลยทั้งสองให้การรับไว้ไม่ได้ เพราะมิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนหนี้: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. จำนวนหนี้ที่ต่างกัน
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยให้การรับหนี้จำนวนหนึ่ง แม้โจทก์นำสืบจำนวนหนี้ไม่ชัดเจน ศาลตัดสินตามที่จำเลยรับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยให้การรับว่าได้กู้ยืมเงินตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ไปแล้วบางส่วน ยังคงค้างชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น ดังนี้แม้โจทก์นำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่เพียงไร แต่เมื่อจำเลยให้การรับเช่นนี้ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้หนี้ตามจำนวนเงินที่จำเลยให้การรับดังกล่าวแก่โจทก์
จำเลยฎีกาในข้อที่นอกเหนือไปจากที่ได้ให้การและนำสืบต่อสู้ ทั้งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาในข้อที่นอกเหนือไปจากที่ได้ให้การและนำสืบต่อสู้ ทั้งเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย