พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ยืมเงินหลังทำสัญญาแล้ว ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ หากจำเลยได้รับเงินกู้จริง
เดิมจำเลยทำสัญญากู้เงินไว้ให้โจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ลอบเติมเลข 1 ลงหน้าจำนวนเงินในเอกสารนั้น ทำให้จำนวนเงินกู้มากขึ้นแล้วเอาเอกสารนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนเดิม คือจำนวนที่จำเลยยืมไปได้ การเติมเลข 1 ลงเพื่อเพิ่มจำนวนเงินกู้เดิมไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเดิมเสียไป.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327-328/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบแก้ไขจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยที่ผิดจากเอกสาร ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตาม ป.วิ.แพ่ง ม.94
การสืบว่าสามีโจทก์ผู้ให้กู้ใส่จำนวนเงินในสัญญากู้ผิดจากที่ขอกู้ เป็นการสืบให้เห็นว่าจำนวนที่เขียนลงในสัญญากู้ผิดจากที่กู้จริง ถือว่าเท่ากับสืบว่าสามีโจทก์ปลอมจำนวนเงินกู้อันเป็นเรื่องสืบว่าเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ย่อมนำสืบได้ตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94
การนำสืบว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 มิใช่ร้อยละ 1.25 ดังที่ปรากฎในเอกสาร เป็นการสืบให้เห็นว่าเรียกดอกเบี้ยผิดกฎหมายย่อมนำสืบได้
การนำสืบว่าได้มีการใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญากู้ ต้องมีหลักฐานการรับเงินเป็นหนังสือมาแสดง
การนำสืบว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 มิใช่ร้อยละ 1.25 ดังที่ปรากฎในเอกสาร เป็นการสืบให้เห็นว่าเรียกดอกเบี้ยผิดกฎหมายย่อมนำสืบได้
การนำสืบว่าได้มีการใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญากู้ ต้องมีหลักฐานการรับเงินเป็นหนังสือมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองจำนวนเงินกู้ในสัญญากู้ และผลกระทบของการไม่ฟ้องขอให้ชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินตามราคาตลาด
จำเลยรับว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงิน 4,000 บาทและสัญญามีข้อความว่า จำเลยรับเงินไปครบถ้วนแล้วดังนี้จำเลยจะขอนำสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปเพียง 3850บาท ไม่ได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
สัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าเกินกำหนดจำเลยยอมไปโอนกรรมสิทธิที่นาให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยโอนชดใช้หนี้โจทก์โดยมิได้คำนึงถึงราคาตลาดโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้คืนด้วยตามมาตรา 656 วรรคสอง และ สามนั้น ข้อตกลงที่เป็นโมฆะก็เฉพาะในเรื่องคิดราคาทรัพย์ที่ชำระหนี้แทนเงิน หาทำให้สัญญากู้เสียไปทั้งฉบับไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าเกินกำหนดจำเลยยอมไปโอนกรรมสิทธิที่นาให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยโอนชดใช้หนี้โจทก์โดยมิได้คำนึงถึงราคาตลาดโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้คืนด้วยตามมาตรา 656 วรรคสอง และ สามนั้น ข้อตกลงที่เป็นโมฆะก็เฉพาะในเรื่องคิดราคาทรัพย์ที่ชำระหนี้แทนเงิน หาทำให้สัญญากู้เสียไปทั้งฉบับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบจำนวนเงินกู้ที่ไม่ตรงกับสัญญากู้ยืม ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร แต่เป็นการโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของหนี้
ที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 7,000,000 บาท แต่ถูกโจทก์และ น. ฉ้อฉลให้ทำสัญญากู้ยืมเงิน 16,000,000 บาท เป็นการนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินที่กู้จากโจทก์ว่าไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ถือว่าเป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
หนังสือสัญญาจำนองที่ดินถูกอ้างในฐานะเพียงหลักฐานในการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 อย่างหนึ่งเท่านั้น มิใช่เป็นลักษณะแห่งตราสารการกู้ยืมเงินอันจะพึงต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 แต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเกี่ยวกับจำนวนเงินกู้ยืมที่ไม่ตรงกับสัญญา การนำสืบเพื่อหักล้างความไม่สมบูรณ์ของหนี้
การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเพียง 15,000 บาท แต่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยระบุจำนวนเงินกู้ไว้ 40,000 บาท เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะดำเนินการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 40,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงความไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงิน ทั้งนี้เพราะสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยที่ 3 ย่อมนำสืบได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 3 นำสืบดังกล่าวเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 40,000 บาท จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้นำพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 มาวินิจฉัยเพื่อชั่งน้ำหนักกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าข้อเท็จจริงเชื่อฟังเป็นยุติอย่างไร ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ใช้อำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้น จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้ออื่นโดยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น ข้อฎีกาดังกล่าวมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้น จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้ออื่นโดยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น ข้อฎีกาดังกล่าวมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ยืม ศาลบังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย สัญญาขายฝากที่ดินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้นเงินกู้ไม่ได้ ต้องบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลยและโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากเป็นหลักฐาน แต่บังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้น เงินกู้ไม่ได้ แต่ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลย และโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น สำหรับการขายฝากที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองและจำเลยเมื่อตกเป็นโมฆะดังวินิจฉัยแล้ว ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสียได้โดยจำเลยยังคงยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสองไว้ได้จนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเงินกู้และดอกเบี้ยแก่จำเลยครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองไม่ตกเป็นโมฆะแม้จำนวนเงินกู้จริงไม่ตรงกับที่ระบุในสัญญา, ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2540 จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ให้หักเงินที่จำเลยนำเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 วันที่ 7 สิงหาคม 2540 วันที่ 10 กันยายน 2540 วันที่ 26 ธันวาคม 2540 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 วันที่ 15 มิถุนายน 2541 และวันที่ 9 กันยายน 2541 ครั้งละ 6,000 บาท ออกจากยอดเงินที่ต้องชำระ โดยหักใช้เป็นค่าดอกเบี้ยก่อน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเท่ากับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยหักด้วยเงินที่จำเลยชำระแล้วตามวิธีคำนวณที่กำหนดในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งคำนวณต้นเงินรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วเป็นเงิน 194,052.11 บาท คดีจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกากล่าวอ้างถึงความไม่สุจริตของโจทก์ในการดำเนินคดีและว่าจำเลยไม่ควรต้องรับผิดต่อโจทก์ในค่าฤชาธรรมเนียมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาที่โต้แย้งการใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในการกำหนดความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 150,000 บาท แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยให้การ ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินให้จำเลยรับผิดในจำนวนหนี้เท่าที่มีอยู่จริง และสิทธิของโจทก์ที่จะบังคับตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ก็ย่อมมีอยู่เพียงเท่าที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้เงิน สัญญาจำนองไม่ตกเป็นโมฆะ
การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 150,000 บาท แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยให้การ ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินให้จำเลยรับผิดในจำนวนหนี้เท่าที่มีอยู่จริง และสิทธิของโจทก์ที่จะบังคับตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ก็ย่อมมีอยู่เพียงเท่าที่จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้เงิน สัญญาจำนองไม่ตกเป็นโมฆะ