คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,884 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บัตรภาษีเท็จชำระภาษีอากรทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินและดอกเบี้ย
จำเลยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ ความจริงจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร จึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตามคำขอของจำเลย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ได้นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดและโจทก์ได้ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีเป็นค่าภาษีอากรแทนแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทำละเมิด ซึ่งจำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับอำนาจศาลโดยปริยาย: จำเลยมิได้โต้แย้งอำนาจศาลตั้งแต่แรก จึงถือว่ายอมรับ
จำเลยมีโอกาสโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตั้งแต่จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้อง วันนัดชี้สองสถาน แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งจนกระทั่งวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงโต้แย้งเขตอำนาจศาลแพ่งว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับอำนาจศาล: จำเลยโต้แย้งอำนาจศาลภายหลังการดำเนินกระบวนการพิจารณา ถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลเดิม
จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้โต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง ศาลแพ่งชี้สองสถานกำหนดประเด็นและนัดสืบพยานแบบต่อเนื่อง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง และถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4479/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การรับเงินเพื่อไม่ต้องควบคุมตัวจำเลยในศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 นำตัวจำเลยทั้งสามมาที่ศาลชั้นต้นเพื่อส่งตัวตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์แล้ว น. ภริยาของจำเลยที่ 3 ได้มอบเงิน 300 บาท ให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เพื่อไปดำเนินการให้จำเลยทั้งสามไม่ต้องถูกนำตัวเข้าห้องควบคุม และผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 บอกให้จำเลยทั้งสามรออยู่บริเวณหน้าห้องควบคุมโดยมิได้ส่งตัวจำเลยทั้งสามให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจประจำศาล การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 และ 26 และไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่รายงานการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทำการไต่สวนพยานและพิพากษาคดีดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งไม่เข้ากรณีที่จะเป็นเหตุให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 คัดค้านผู้พิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 11 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4396/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายจำกัดเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อหา/จำนวนทุนทรัพย์/จำเลยเดิม ไม่สามารถเพิ่ม/เปลี่ยนตัวจำเลยได้
การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลายต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 โดยจะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลยโดยการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (2) คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการแก้ไขโดยเปลี่ยนตัวจำเลยซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4019/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยอายุต่ำกว่า 18 ปี และหลักการลดมาตราส่วนโทษเนื่องจากอายุในทุกกระทงความผิด
ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 3 อายุต่ำกว่าสิบแปดปีจึงเข้าหลักเกณฑ์ ตาม ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม ที่จะเปลี่ยนระวางโทษสำหรับจำเลยที่ 3 เป็นจำคุกห้าสิบปี แต่กรณีของจำเลยที่ 2 มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม ที่จะเปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปีเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 ได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำความผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วก็จำต้องลดโทษให้ทุกกระทงความผิด แม้ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม และต้องแสดงการโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง กล่าวคือ ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 อย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งอ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ไม่อาจพิจารณารวมไปกับคำฟ้องเดิมได้และการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและแสดงสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ไม่ใช่สิทธิของผู้อื่น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง การบรรยายฟ้องแย้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยอย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์จึงต้องจดทะเบียนให้เด็กชาย ก. ทายาทของจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนใส่ชื่อเด็กชาย ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น คงมีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งจนสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวต้องมีเหตุจากการกระทำของจำเลยโดยตรง ไม่ใช่บุคคลภายนอก และต้องเคารพสิทธิผู้ทรงสิทธิบัตร
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองโจทก์เนื่องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี แต่ผู้ที่ทำให้โจทก์เดือดร้อนคือ บริษัท ด. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่จำเลย ศาลจึงมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของโจทก์ให้กระทบกระเทือนถึงบริษัท ด. หาได้ไม่ การที่จำเลยออกสิทธิบัตรให้บริษัท ด. เป็นเหตุให้บริษัท ด. อ้างสิทธิจากสิทธิบัตรมาออกหนังสือบังคับมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาออกสิทธิบัตร ทั้งจำเลยไม่ได้ร่วมกับบริษัท ด. ออกหนังสือห้ามมิให้โจทก์ทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร ส่วนการที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทำการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้โดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ด. ศาลก็มิอาจสั่งได้เพราะตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนสิทธิบัตร บริษัท ด. ย่อมมีสิทธิห้ามมิให้บุคคลอื่นทำการซื้อขายหรือผลิตผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรได้ ศาลจะอนุญาตให้โจทก์กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรโดยมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรไม่ได้ โจทก์จึงไม่อาจขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบ – ผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 289