คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำเลยอื่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์นายจ้างควบคู่กับการสูบถ่ายน้ำมันโดยมิชอบ ศาลลดโทษและขยายผลถึงจำเลยอื่น
จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นสูบถ่ายน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษจากรถยนต์บรรทุกน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1เป็นคนขับ อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะบรรทุกน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัดก. การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานสูบถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มาตรา3,4,8 ประกอบคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 1/2522 ข้อ 15(1)อีกบทหนึ่งด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ทำการสูบถ่ายน้ำมันดังกล่าวชี้ชัดว่าเป็นความต้องการเดียวกันกับเอาน้ำมันของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ไป และโดยลักษณะของการกระทำ คือ การสูบถ่ายน้ำมันไปดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นการเอาน้ำมันไปด้วยในตัวจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน หาได้มีเจตนาให้มีผลแยกต่างหากจากกันไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำเลยไว้หนักไปศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เบาลงได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดีให้มีผลตลอดถึงจำเลยอื่นซึ่งมิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4093/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีจำเลยอื่น แม้จำเลยหนึ่งถอนอุทธรณ์ โดยอาศัยลักษณะคดีตามมาตรา 213
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้ถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 202 ก็ตาม แต่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานเดียวกัน ถ้าศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษจำเลยที่ 2 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์ยังมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213บัญญัติให้อำนาจไว้
คำว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดเฉพาะผู้ถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 202 หมายความเพียงว่าจำเลยที่ถอนอุทธรณ์แล้วจะยื่นอุทธรณ์อีกไม่ได้ หาได้ห้ามศาลอุทธรณ์ใช้อำนาจตามมาตรา 213 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4093/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีจำเลยอื่น แม้จำเลยหนึ่งถอนอุทธรณ์ โดยอาศัยเหตุในลักษณะคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้ถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 202ก็ตาม แต่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานเดียวกัน ถ้าศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษจำเลยที่ 2 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์ยังมีอำนาจพิจารณาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213บัญญัติให้อำนาจไว้
คำว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมเด็ดขาดเฉพาะผู้ถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 202 หมายความเพียงว่าจำเลยที่ถอนอุทธรณ์แล้วจะยื่นอุทธรณ์อีกไม่ได้ หาได้ห้ามศาลอุทธรณ์ใช้อำนาจตามมาตรา213 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งกรรมสิทธิ์รวม และผลบังคับใช้กับจำเลยอื่น
โจทก์กับจำเลยทั้งสามมีกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินพิพาท การกำหนดลงไปในเอกสารรวมสองฉบับว่า ผู้ใดได้ที่ดินส่วนใด ย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไป เพราะเป็นการตกลงเพื่อให้เป็นที่แน่นอนไม่โต้เถียง แย่งกันเอาที่ดินส่วนนั้นส่วนนี้ ทั้งตามข้อตกลงก็ระบุว่าจะนำช่าง รังวัดทำการปักหลักเขตแสดงว่า มีการตกลงกันแน่นอนแล้วมิฉะนั้นย่อมจะนำช่าง รังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกมิได้ และหลังจากรังวัดแล้วจึงจะรู้เนื้อที่ของแต่ละคนเป็นที่แน่นอน เอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ฟ้องแย้งเป็นเรื่องจำเลยขอให้บังคับโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยด้วยกันมิได้เพราะขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 178.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646-1649/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีซ้ำ แม้ผู้เสียหายฟ้องแล้ว และฟ้องจำเลยอื่นได้
แม้ผู้เสียหายจะได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาไว้สำนวนหนึ่งแล้วก็ไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจของพนักงานอัยการมิให้ฟ้องจำเลยนั้นในเรื่องเดียวกันเป็นคดีใหม่อีกสำนวนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีชำระหนี้จากการส่งมอบช้างของกลาง เริ่มนับแต่วันที่สั่งให้ส่งมอบ ชำระหนี้แบ่งแยกไม่ได้ ผลกระทบต่อจำเลยอื่น
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะอุทธรณ์ว่าโจทก์หมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1374, 1375 และ 1382 ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะยกมาตรา 164 ขึ้นมาปรับแก่คดีได้ เพราะจำเลยได้บรรยายข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว การจะปรับบทกฎหมายมาตราใดเป็นหน้าที่ของศาล
ผู้ว่าราชการจังหวัดตัวแทนโจทก์สั่งให้จำเลยส่งมอบข้างของกลางให้แก่อำเภอเพื่อขาดทอดตลาดตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 อายุความต้องเริ่มนับแต่ พ.ศ. 2494 อันเป็นวันที่สั่งให้จำเลยส่งมอบ เพราะตั้งแต่วันที่สั่งให้ส่งนั้น โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับจำเลยได้แล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยร่วมกันส่งมอบช้างคืน มูลแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยคนอื่นยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยอื่นจึงได้รับผลแห่งอายุความด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาในการพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา เมื่อเหตุยกฟ้องเป็นเหตุในลักษณะคดี
คดีที่จำเลยคนหนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่พอฟังลงโทษจำเลยคนใดได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา กรณีเหตุในลักษณะคดี
คดีที่จำเลยคนหนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยคนใดได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนฯ มีผลแม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่น
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 9 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต นำปืนไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ จึงต้องถือว่า ในระหว่างนั้นกฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมยกฟ้องได้ และแม้จะอ่านคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภายหลังระยะเวลา 90 วัน ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็หาทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 766/2490) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2503)
จำเลยที่ต้องโทษไม่ได้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ออกใหม่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ นับว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพในคดีสมคบกันลักทรัพย์ ศาลพิจารณาตามฟ้อง แม้ศาลสงสัยพยานจำเลยอื่น
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยทั้งสามคนสมคบกันลักทรัพย์ของผู้มีชื่อ ขอให้ลงโทษ จำเลยคนหนึ่งรับสารภาพตามฟ้อง ส่วนจำเลยอีกสองคนปฏิเสธ ครั้นเมื่อพิจารณาไป ศาลสงสัยพยานโจทก์จึงปล่อยจำเลยทั้ง 2 คนที่ปฏิเสธไป ส่วนจำเลยที่รับสารภาพนั้น ศาลย่อมพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์โดยมีพรรคพวกได้
of 3