พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ: ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันการที่โจทก์อุทธรณ์ว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจการจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838-3853/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะการจ้างงาน: การจ่ายค่าจ้างตามผลงานไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาจ้างทำของ หากมีอำนาจบังคับบัญชา
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามผลงานแต่จำเลยเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์ในการทำงาน ดังนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงเป็นลักษณะการจ้างแรงงานหาใช่จ้างทำของไม่ การที่จำเลยจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้โจทก์ตามผลงานที่ทำได้นั้นค่าตอบแทนดังกล่าวคงเป็นค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นค่าสินไหมทดแทน แต่เป็นเงินได้จากการจ้างงาน ต้องเสียภาษี
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาศัยฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างและจำเลยเป็นนายจ้าง เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับจากจำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน หาใช่เป็นค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด ตามมาตรา 42(13) ไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานโดยคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อาจถือเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิมจำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่งเป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่นรับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงาน กรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่งจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จ้างเข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานอิสระของคณะกรรมการอาคารชุด: ไม่อยู่ในบังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน
เดิม จำเลยที่ 1 จ้างเหมาบริษัทเอกชนดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยในบริเวณเคหะชุมชนคลองจั่นต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการอาคารชุดเคหะชุมชนคลองจั่น รับงานดังกล่าวมาดำเนินการเอง จำเลยที่ 1 เพียงแต่ ให้เงินอุดหนุนเท่านั้น ส่วนการบริหารงานจำเลยที่ 2ถึง ที่ 61 มีอำนาจอิสระอย่างเด็ดขาดไม่จำต้องฟังคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการบริหารงานกรณีไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบห้าซึ่ง จำเลยที่ 2ถึง ที่ 61 จ้าง เข้ามาทำงานดังกล่าว และแม้กิจการของจำเลยที่ 1เป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจก็หาทำให้กิจการของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 กลายเป็นกิจการที่แสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไปด้วยไม่ การจ้างงานของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 61 จึงไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: การจ่ายเงินเดือนให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทที่ถูกยึดทรัพย์ ไม่ถือเป็นการจ้างงาน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ข. เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยาน จึงชอบแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์สินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์สินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: การจ่ายเงินเดือนให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทลูกหนี้ ไม่ถือเป็นการจ้างงาน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ข. เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยาน จึงชอบแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์ส่ินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์ส่ินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอน หนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอ ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้น เป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์ แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่ เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้ว โจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144 และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้ กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้ว จะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจ้างงานใหม่ย่อมยกเลิกข้อตกลงเดิม การเลิกจ้างระหว่างทดลองงานไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์โดยเฉพาะเจาะจงให้มาทำงานกับจำเลยในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่แน่นอนหนังสือดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานั้นเป็นการให้โอกาสโจทก์ที่จะมีคำสนองต่อจำเลยหรือไม่เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยแล้วจึงเป็นคำสนองของโจทก์แต่การที่ต่อมาโจทก์ได้ทำใบสมัครงานกับจำเลยโดยกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขขึ้นใหม่เช่นนี้จึงมีผลเป็นว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงกันใหม่โดยยกเลิกข้อตกลงเดิมนั้นแล้วโจทก์ต้องผูกพันตามข้อตกลงใหม่ ข้อบังคับของบริษัทจำเลยมีว่า กรรมการของบริษัทที่ทำงานในโรงพยาบาลด้วยไม่ต้องทดลองงานมีความหมายว่ากรรมการซึ่งมีอำนาจจัดการตามข้อบังคับของบริษัทโดยอยู่ในความครอบงำ ของที่ประชุมใหญ่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1144และกรรมการผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นเช่นพนักงานคนหนึ่งของบริษัทด้วยเช่นนี้กรรมการผู้นั้นไม่ต้องทดลองงานโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยไม่ว่าโจทก์จะดำรงตำแหน่งใดในบริษัทจำเลย โจทก์ก็คงมีฐานะเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานคนหนึ่งของจำเลยเท่านั้นหาใช่ว่าตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้วจะมิใช่พนักงานของจำเลยไม่เมื่อโจทก์มิได้ทักท้วงเงื่อนไขที่จำเลยให้ทดลองปฏิบัติงานโจทก์ก็ต้องผ่านการทดลองปฏิบัติงานตามข้อตกลงใหม่ โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เขียนเงื่อนไขในใบสมัครงานเพิ่มเติมโดยพลการลับหลังโจทก์ เป็นการปลอมเอกสารโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงเงื่อนไขดังกล่าวต่อกันและ ส. เบิกความกลับไปกลับมาบิดเบือนความจริงหลายประการเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยโดยอยู่ในระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลา 3 เดือนจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานได้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน, ค่าจ้าง, และหนี้โมฆะจากกิจการผิดกฎหมาย: กรณีผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการ
จำเลยทำหนังสือแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นผู้รักษาการ กรรมการผู้จัดการของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างและโจทก์ ได้ทำงานตามหน้าที่ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จ่าย ค่าจ้างให้แก่โจทก์
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับ พวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงินไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับ พวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงินไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน