คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดใช้ค่าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530-1532/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการขายแบตเตอรี่และการชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง
หนี้ค้างชำระอันเกิดจากการขายแบตเตอรี่ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปขายต่อเพื่อแสวงหากำไรอันเป็นการประกอบธุรกิจการค้าของลูกค้ามีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) มิใช่กรณีลูกค้าซื้อไปเพื่อใช้เองอันมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยทวงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ หนี้ที่ค้างชำระยังไม่ครบอายุความ 5 ปี แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะทวงหนี้จากลูกหนี้ไม่ครบทุกรายและเมื่อลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 2 ปีแล้ว โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ตั้งสำรองหนี้สูญอันเป็นการผิดระเบียบก็ตาม แต่ผลเสียหายที่จำเลยติดตามหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระไม่ได้เกิดจากจำเลยเข้าใจผิดว่าหนี้ที่ลูกค้าค้างชำระนั้นมีอายุความ 2 ปี และขาดอายุความแล้วจึงไม่ได้ฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่ติดตามฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ มิใช่เป็นผลมาจากโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ทวงหนี้ และไม่ตั้งสำรองหนี้สูญ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอายัดเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินบำเหน็จของโจทก์ตามมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขับรถแข่งประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลไม่รอการลงโทษจำคุก แม้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยทั้งสองขบรถแข่งขันกันด้วยความเร็ว ทำให้รถที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของ ว. ที่กำลังขับขึ้นมาจากทางแยกอย่างแรง รถของ ว. เสียหลักล้มลง ว. กระเด็นตกจากรถล้มลงและถูกรถที่จำเลยที่ 2 ขับแข่งขันกันมาในระยะกระชั้นชิดพุ่งเข้าชนขณะล้มลงอยู่บนถนน รถทั้งสามคันได้รับความเสียหาย ว. ถึงแก่ความตาย ส่วน ป. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถของจำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมจนเป็นที่พอใจและโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลย แต่จำเลยนำเงินมาวางศาลจำนวน 10,000 บาท หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและจำเลยทั้งสองเพิ่งจะตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมในวันที่ยื่นฎีกา ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่ได้สำนึกในการกระทำความผิดของตนโดยให้การปฏิเสธและสู้คดีตลอดมา จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิก ผลคือจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการขายรถยนต์ของโจทก์
โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อแต่จำเลยก็รับไว้ แสดงว่าจำเลยมิได้ยึดถือเอาข้อสัญญาเช่าซื้อที่ว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวเป็นสาระสำคัญ โดยจำเลยยังถือว่าสัญญาเช่าซื้อมีผลบังคับต่อไปจึงรับค่าเช่าซื้อไว้ ดังนั้น หากจำเลยมีความประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์โดยให้ระยะเวลาแก่โจทก์พอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ เพราะหวังเพียงได้รับค่าดอกเบี้ยที่ชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าและเบี้ยปรับ และการที่พนักงานของจำเลยไปยึดรถยนต์บรรทุกพิพาทคืน โจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านมิได้ยินยอมด้วยโดยไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกันและมีผลบังคับกันต่อไป โจทก์ผู้เช่าซื้อชอบที่จะครอบครองรถยนต์บรรทุกพิพาทต่อไป และจำเลยต้องส่งมอบรถยนต์บรรทุกดังกล่าวคืนโจทก์ แต่จำเลยได้ขายรถยนต์บรรทุกดังกล่าวให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว จึงเป็นการพ้นวิสัยที่จะนำรถยนต์บรรทุกพิพาทกลับมาคืนโจทก์ เพราะพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 218 วรรคแรก และการครอบครองรถยนต์บรรทุกพิพาทของโจทก์เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ยังมิได้เลิกกัน การใช้รถยนต์บรรทุกพิพาทของโจทก์จึงไม่อาจคิดเป็นค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยและนำไปหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าซื้อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญาจากความเสียหายที่ชดใช้ และการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 20 เครื่อง ราคาทรัพย์รวม 90,000 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 45,000 บาท จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป นับว่าจำเลยที่ 2 ได้พยายามบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร่วมกันกระทำความผิดจึงเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 76 โดยวางโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี ก่อนลดโทษให้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษที่หนักเกินไป เห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3684/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์กระทบสาธารณูปโภค ลดโทษเมื่อชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งผ่านสายสัญญาโทรศัพท์ จากสายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณะ 7,192 หน่วย มีมูลค่าราคารวม 7,192 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ลักษณะของการกระทำความผิดเป็นผลเสียต่อกิจการที่เป็นประโยชน์ในทางสาธารณะ เกิดผลกระทบต่อระบบการสื่อสารในสังคม พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงลำพังแต่การที่จำเลยมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว ซึ่งเป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัว ยังไม่เหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกจ้างธนาคาร และสิทธิไล่เบี้ยของธนาคารต่อลูกจ้าง
หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำกับ ส. ระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป จึงตกลงคืนเงินที่ยักยอกไปให้แก่ ส. นั้น เป็นเพียงหนังสือที่จำเลยที่ 1 รับว่าเป็นหนี้ ส. และยอมชำระหนี้แก่ ส. ไม่มีข้อความที่จำเลยที่ 1 กับ ส. ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้หนี้จากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
โจทก์เป็นธนาคารซึ่งได้รับฝากเงินของ ส. ผู้เป็นลูกค้า ย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ ส. ฝากไว้เมื่อ ส. ทวงถาม การที่จำเลยที่ 1 ได้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของ ส. แล้วยักยอกเงินดังกล่าวไป ทำให้เงินในบัญชีเงินฝากของ ส. ขาดหายไป โจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ขาดหายไปให้แก่ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 การที่โจทก์คืนเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปให้แก่ ส. จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าไม่มีหนี้ต้องชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส. ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินที่ชำระไปได้ตามมาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษทางอาญา: การบรรเทาโทษ, ความสามารถในการรู้ผิดชอบ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดข่มขู่หรือชักชวนให้จำเลยกระทำความผิด และจำเลยสามารถหลบหนีไปโดยว่าจ้างรถสามล้อเครื่องให้ไปส่งที่บ้านเพื่อน แสดงว่าระดับเชาวน์ปัญญาของจำเลยไม่ได้อยู่ในระดับปัญญาอ่อนรุนแรง จำเลยกระทำความผิดในขณะสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ จึงไม่เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 65
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าเพื่อสร้างวัด: ความรับผิดของวัดและเจ้าอาวาส
ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง พระเทพปัญญามุนีไม่ใช่ผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระลูกวัดและมีพรรษาอาวุโสสูงสุดของวัดจำเลยที่ 1 จึงต้องทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสคำฟ้องโจทก์ที่ระบุว่าฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 รักษาการแทนเจ้าอาวาส จึงเป็นคำฟ้องที่ถูกต้อง ทั้งการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยโดยมิได้ระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลมาด้วยหรือระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลผิดตัว ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยผิดตัว
ขณะที่วัดจำเลยที่ 1 บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อสร้างกุฏิ ศาลาและสิ่งปลูกสร้าง ในเขตอุทยานแห่งชาติ อันไม่ใช่เขตพื้นที่ของวัดจำเลยที่ 1 ตามที่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมมีส่วนให้ความเห็นชอบหรือเป็นผู้กระทำการดังกล่าว เมื่อเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจหน้าที่ของวัดจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กรมป่าไม้โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าสร้างและชดใช้ค่าเสียหาย แม้ทรัพย์สินถูกเวนคืน ก็ต้องบังคับคดีตามส่วนที่เหลือ
ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถ้าไม่สามารถเพิกถอน การโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงิน 3,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากเพิกถอนการ โอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้โจทก์ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้จำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยตามจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นแก่โจทก์ จำเลย ทั้งสามมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล แต่ก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาดังกล่าว ที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 เช่าสร้างอาคารถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ เมื่อที่ดินตามสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวถูกเวนคืนทำให้ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้เพิกถอนเพื่อโอนให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่เปิดช่อง ให้กระทำได้ กรณีจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาในลำดับต่อมา คือ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกัน ชดใช้เงิน 3,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนของคำพิพากษาศาลฎีกาและเป็นการบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง
ขณะจำเลยนำสินค้าถ่านไม้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษขนาดใหญ่มาส่งมอบให้แก่ตัวแทนของโจทก์ที่ท่าเรือกรุงเทพ จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายอันแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษดังกล่าว ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้นั้น อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 33 ที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ส่งสินค้าอันตรายจะต้องปฏิบัติ และมาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ดังนั้นผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบด้วยมาตรา 33
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
of 33