คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดใช้เงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้เงินจากการดำเนินการฝากเข้ารับราชการ ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 กับพวกหลอกลวงโจทก์ว่ารู้จักกับผู้ใหญ่ในกรมตำรวจสามารถฝากบุตรโจทก์ให้เข้ารับราชการตำรวจได้โดยขอค่าวิ่งเต้น200,000 บาท โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบเงินให้ไป เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เงินเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับพวกนำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ถือไม่ได้ว่า โจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้สินบนแก่เจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งการกระทำดังกล่าวก็หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 กับพวกไม่สามารถดำเนินการได้และต่อมาได้ทำบันทึกโดยมีข้อความว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดตามพวกของจำเลยที่ 1 ให้มาชดใช้เงินคืนแก่โจทก์ภายในกำหนด 6 เดือนจำเลยที่ 1 จะรับผิดชดใช้แทนโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำบันทึก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้เงินคืนและการค้ำประกัน, ความสำคัญผิดในสัญญาค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นมารดาของร้อยตรี ท. เพื่อขอรับเงินบำนาญพิเศษจากโจทก์ ความจริงมิได้เป็นมารดา อาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินบำนาญพิเศษให้จำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยอมจะชดใช้เงินที่รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือส่วนที่ได้รับเกินสิทธิคืนเป็นการจะชดใช้เงินคืนตามสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่ามีอายุความเท่าใด จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชดใช้เงินดังกล่าวคืน จึงมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1ต้องชดใช้เงินบำนาญพิเศษคืนแก่โจทก์แต่ไม่สามารถชดใช้เงินคืนได้ จำเลยที่ 2 จะชดใช้แทน จำเลยที่ 2 เข้าใจถูกต้องทุกประการที่จะยอมรับผิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 เข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1เป็นมารดาของร้อยตรี ท. มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ความเข้าใจผิดของจำเลยที่ 2 มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาค้ำประกัน ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีฉ้อโกง: แม้เงินมัดจำจ่ายให้จำเลยอื่น จำเลยที่ร่วมกระทำผิดต้องรับผิดชดใช้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จำเลยเพียงบางคนเป็นผู้รับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยทุกคนก็ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายทุกคน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย ศาลไม่สามารถสั่งให้ชดใช้เงินหากกลับสู่ฐานะเดิมไม่ได้
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองของลูกหนี้คู่กรณีตาม สัญญาจำนองย่อมกลับสู่ฐานะเดิมศาลจะสั่งให้มีการ ชดใช้เงินในกรณีที่ ไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิมอีกไม่ได้และเป็นการสั่งที่นอกเหนือไปจาก บทบัญญัติของมาตรา115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้เงินกับการถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่า หากโจทก์ถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. แล้ว จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชดใช้เงินให้โจทก์จำนวนหนึ่ง โดยจำเลยที่ 1 จะออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยที่ 2 จะค้ำประกันสลักหลัง และจะนำมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าวต่อมาจำเลยที่ 1 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาเงินตามเช็คได้ ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้ทำความตกลงกับจำเลยทั้งสองตามที่บรรยายในฟ้องจริง มิใช่เกิดจากการที่จำเลยทั้งสองแสดงข้อความเท็จหลอกลวงโจทก์ การที่ภายหลังจำเลยไม่สามารถหาเงินตามเช็คได้ หาทำให้ข้อตกลงที่ทำกันไว้กลายเป็นความเท็จไม่แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทำผิดข้อตกลงที่ให้คำมั่นสัญญาไว้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์ชอบที่จะว่ากล่าวจำเลยทั้งสองในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นักเรียนทุนผิดสัญญาและผิดวินัย ก.พ. ต้องชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับ
สำนักงาน ก.พ. โจทก์ที่ 1 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่จัดการควบคุมการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ผู้รับทุน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน เรื่องการรับทุนรัฐบาลไปศึกษา ต่อในต่างประเทศตามความต้องการของกรมไปรษณีย์โทรเลขโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาการรับทุนนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องกระทำตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มิใช่กระทำในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 กับจำเลยทั้งสอง เป็นคู่สัญญาต่อกัน เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ตามข้อบังคับของ ก.พ.กำหนดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนักเรียนทุน ในความดูแลของรัฐบาล ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์จนถูกศาลอาญาแห่งประเทศฝรั่งเศส พิพากษาลงโทษจำคุกและปรับ ย่อมถือว่าเป็นเรื่องผิดวินัยของ ก.พ.อันเป็น การผิดสัญญาที่ได้กระทำไว้แล้ว ต้องรับผิดชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับ
เงินทุนและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่าง เวลาผิดนัดได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการลาศึกษาต่างประเทศผิดสัญญาต้องชดใช้เงินคืน แม้ถูกไล่ออก
ข้าราชการไม่กลับมารับราชการจนครบเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ลาตามที่ทำสัญญาไว้เมื่อลาไปศึกษาต่างประเทศ ต้องรับผิดใช้เงินคืนแม้เป็นเงินที่รัฐบาลไทยรับมาจัดการจากต่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบ การที่ข้าราชการผู้นั้นถูกไล่ออกเพราะไม่กลับมารับราชการไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาการศึกษาและทำงานชดใช้เงิน - การอนุมัติลาต่อต้องทำสัญญาเป็นหลักฐาน
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทุนการศึกษาและการผิดสัญญาชดใช้เงินทุน กรณีจำเลยไม่ทำสัญญาเพิ่มเติมและลาออก
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี. โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา. เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ. ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี. โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์.จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา. ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น. ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา. และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ. แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด. โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว. ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์.ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก. การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา.
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯเรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป. กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน. ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ. โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป. ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำรุดเสียหายของสินค้าหลังส่งมอบ การลดจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ และสิทธิในการรับคืนสินค้า
คดีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ขายขายทรัพย์มีคุณภาพไม่ตรงตามคำโฆษณา ให้ผู้ขายรับทรัพย์คืนและคืนเงินให้ผู้ซื้อพร้อมด้วยดอกเบี้ยนัน เมื่อผู้ซื้อได้เอาทรัพย์นั้นไปใช้โดยไม่สุจริตจนชำรุดเสียหาย ผู้ขายก็ชอบที่จะชดใช้คืนเงินลดลงตามส่วนแห่งสภาพความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ซื้อได้ แต่จะบังคับให้ผู้ซื้อรับคืนทรัพย์โดยผู้ขายไม่ต้องชดใช้เงินอย่างใดไม่ได้ ในเมื่อทรัพย์นั้นยังอยู่ในสภาพที่พอจะซ่อมแซมได้
of 3