พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถแซงแล้วหักเลี้ยว ทำให้รถชนท้าย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถยนต์ โดย แซง รถยนต์บรรทุกซึ่ง แล่น เกือบจะถึง เชิงสะพาน เมื่อแซง พ้นแล้ว และขณะที่รถยนต์โดยสาร เพิ่งแล่นเข้าทางด้านซ้ายมือตาม ปกติยังแล่นนำหน้ารถยนต์บรรทุก เพียงเล็กน้อยจำเลยก็ห้ามล้อ รถยนต์โดยสารอย่างกะทันหัน เป็นเหตุ ให้รถยนต์บรรทุกซึ่งแล่นตาม หลังหยุดรถไม่ทัน พุ่ง เข้าชนท้าย รถยนต์ โดยสารที่จำเลยขับทันที ดังนี้ เป็นความประมาทในการขับรถของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาททั้งสองฝ่าย รถจอดบนผิวจราจรกลางคืน ไม่เปิดสัญญาณไฟ ชนท้าย ทำให้เกิดความเสียหาย
ยางรถยนต์บรรทุกแตก คนขับจึงจอดรถบนผิวจราจรถนนที่เป็นทางตรงในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ แสงไฟสูงของรถเก๋งส่องได้ไกลไม่น้อยกว่า 50 เมตร การที่เพิ่งเริ่มมีรอยห้ามล้อของรถเก๋งในระยะห่างรถบรรทุกประมาณ 30 เมตรแสดงว่าคนขับรถเก๋งซึ่งขับด้วยความเร็วสูงเห็นรถบรรทุกในระยะกระชั้นชิด เหตุที่รถชนกันจึงเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับรถยนต์บรรทุกด้วยดังนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงใช้แก่กันจึงเป็นพับทั้งสองฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071-3072/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และความรับผิดทางละเมิดแยกส่วน กรณีชนท้าย
โจทก์สามคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดทำให้รถยนต์ของโจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะรวมฟ้องมาในคดีเดียวกันก็ต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคน ถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เล็กน้อยก็ฎีาข้อเท็จจริงไม่ได้ ส่วนทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบเพราะปัญหาดังกล่าวยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้น พยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรกจึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมา เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้น พยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรกจึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมา เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถจอดกีดขวาง-ชนท้ายกลางคืน: ไม่ต้องแจ้งเหตุตาม พรบ.จราจร
รถที่จอดอยู่เกือบกึ่งกลางถนนในเวลากลางคืนโดยไม่มีไฟให้เห็น ถูกรถที่ขับมาชนท้าย รถที่จอดและถูกชนมิใช่รถที่ขับอยู่ในทางผู้ขับรถคันนี้ไม่ต้องแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 30 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถบรรทุกไม่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุจากรถคันอื่นที่ชนท้ายรถที่จอดอยู่ หากไม่ได้มีส่วนก่อให้เกิดเหตุ
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกหยุดอยู่ในเส้นทางมีรถยนต์ส่วนบุคคลมาหยุดอยู่ท้ายรถยนต์บรรทุกของจำเลย ป. ขับรถยนต์โดยสารอีกคันหนึ่งฝ่าฝืนกฎหมายชนรถยนต์ส่วนบุคคลดังกล่าวอัดเข้ากับรถบรรทุกของจำเลย เป็นเหตุให้คนบนรถยนต์ส่วนบุคคลได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายแก่บุคคลอื่น ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 30 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 59 ข้อ 6 เมื่อจำเลยไม่กระทำการช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถบรรทุกไม่ต้องรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุจากรถคันอื่น ชนท้ายรถที่จอดอยู่ แม้มีการบาดเจ็บเกิดขึ้น
จำเลยขับรถยนต์บรรทุกหยุดอยู่ในเส้นทาง มีรถยนต์ส่วนบุคคลมาหยุดอยู่ท้ายรถยนต์บรรทุกของจำเลย ป. ขับรถยนต์โดยสารอีกคันหนึ่งฝ่าฝืนกฎหมายชนรถยนต์ส่วนบุคคลดังกล่าวอัดเข้ากับรถบรรทุกของจำเลย เป็นเหตุให้คนบนรถยนต์ส่วนบุคคลได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายแก่บุคคลอื่น ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 30 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ 6 เมื่อจำเลยไม่กระทำการช่วยเหลือและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถราง ชนท้ายรถโดยสาร การประพฤติผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยขับรถรางเร็ว ไม่ระมัดระวัง เป็นการประมาทเลินเล่อจึงชนรถยนต์ประจำทางตอนท้ายเสียหาย การประมาท ของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก 2477 มาตรา 29 ข้อ 4 ฉะนั้นความผิดของจำเลยจึงต้องผิด ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 336 (15) อีกบทหนึ่งด้วย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8938/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนท้ายรถยนต์: ศาลฎีกาพิจารณาความเสียหายจากการชนครั้งแรก และความรับผิดของผู้ขับขี่
แม้คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 แต่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ตรงตามที่โจทก์นำสืบ เท่ากับโจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคดีนอกสำนวน อันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ชนท้ายรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า ในขณะที่หยุดรถ โจทก์ได้ยินเสียงเบรกและเสียงดังเพียงครั้งเดียว และรถยนต์โจทก์ถูกชนเพียงครั้งเดียว เมื่อลงมาดูปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 ชนรถยนต์โจทก์ และยังมีรถยนต์ของจำเลยที่ 3 มาชนท้ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถชนรถยนต์จำเลยที่ 2 แล้วรถยนต์จำเลยที่ 2 จึงมาชนรถยนต์โจทก์แต่อย่างใด ศาลจำเป็นจะต้องพิจารณาว่ารถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายจากการชนในครั้งใด ซึ่งตามพยานหลักฐานโจทก์ รถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายที่กันชนหลัง ไฟท้ายหลัง และกระโปรงหลังบุบยุบเข้าไป แสดงให้เห็นว่ามีการชนโดยแรงพอสมควรจึงได้รับความเสียหายขนาดนี้ หากรถยนต์จำเลยที่ 3 ชนรถยนต์จำเลยที่ 2 ก่อน แล้วรถยนต์จำเลยที่ 2 จึงกระเด็นไปกระแทกรถยนต์โจทก์ รถยนต์โจทก์ไม่น่าจะได้รับความเสียหายมากขนาดนี้ เพราะรถยนต์จำเลยที่ 2 รับแรงกระแทกไว้ก่อนแล้ว ความเสียหายส่วนใหญ่จึงน่าจะอยู่ที่ท้ายรถยนต์จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้นำสืบถึงความเสียหายของรถยนต์ของตนว่ามีมากน้อยเพียงใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์จำเลยที่ 2 ถูกชนจนกระเด็นไปกระแทกรถยนต์โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความเร็วสูง การถูกชนเพียงครั้งเดียวจึงเกิดจากจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ชนท้ายรถยนต์จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้รถยนต์จำเลยที่ 2 เคลื่อนไปกระแทกรถยนต์โจทก์นั้น ไม่ตรงกับคำเบิกความของโจทก์ ศาลฎีกาจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงใหม่
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ขับรถไปตามถนนในช่องขวาสุด เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุโจทก์หยุดรถเนื่องจากรถติด ขณะที่โจทก์เหยียบเบรกไว้ประมาณ 1 นาที จำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังมาเบรกไม่อยู่ ชนรถยนต์โจทก์ด้านท้าย ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์จำเลยที่ 2 มา ชนด้านท้ายรถยนต์จำเลยที่ 2 อีกต่อหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วไม่ระมัดระวังรถด้านหน้าว่าจะหยุดรถหรือไม่ทั้งที่การจราจรติดขัด การที่รถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ชนท้ายรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า ในขณะที่หยุดรถ โจทก์ได้ยินเสียงเบรกและเสียงดังเพียงครั้งเดียว และรถยนต์โจทก์ถูกชนเพียงครั้งเดียว เมื่อลงมาดูปรากฏว่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 ชนรถยนต์โจทก์ และยังมีรถยนต์ของจำเลยที่ 3 มาชนท้ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถชนรถยนต์จำเลยที่ 2 แล้วรถยนต์จำเลยที่ 2 จึงมาชนรถยนต์โจทก์แต่อย่างใด ศาลจำเป็นจะต้องพิจารณาว่ารถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายจากการชนในครั้งใด ซึ่งตามพยานหลักฐานโจทก์ รถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายที่กันชนหลัง ไฟท้ายหลัง และกระโปรงหลังบุบยุบเข้าไป แสดงให้เห็นว่ามีการชนโดยแรงพอสมควรจึงได้รับความเสียหายขนาดนี้ หากรถยนต์จำเลยที่ 3 ชนรถยนต์จำเลยที่ 2 ก่อน แล้วรถยนต์จำเลยที่ 2 จึงกระเด็นไปกระแทกรถยนต์โจทก์ รถยนต์โจทก์ไม่น่าจะได้รับความเสียหายมากขนาดนี้ เพราะรถยนต์จำเลยที่ 2 รับแรงกระแทกไว้ก่อนแล้ว ความเสียหายส่วนใหญ่จึงน่าจะอยู่ที่ท้ายรถยนต์จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้นำสืบถึงความเสียหายของรถยนต์ของตนว่ามีมากน้อยเพียงใด จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์จำเลยที่ 2 ถูกชนจนกระเด็นไปกระแทกรถยนต์โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความเร็วสูง การถูกชนเพียงครั้งเดียวจึงเกิดจากจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ชนท้ายรถยนต์จำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้รถยนต์จำเลยที่ 2 เคลื่อนไปกระแทกรถยนต์โจทก์นั้น ไม่ตรงกับคำเบิกความของโจทก์ ศาลฎีกาจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงใหม่
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ขับรถไปตามถนนในช่องขวาสุด เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุโจทก์หยุดรถเนื่องจากรถติด ขณะที่โจทก์เหยียบเบรกไว้ประมาณ 1 นาที จำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังมาเบรกไม่อยู่ ชนรถยนต์โจทก์ด้านท้าย ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์จำเลยที่ 2 มา ชนด้านท้ายรถยนต์จำเลยที่ 2 อีกต่อหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วไม่ระมัดระวังรถด้านหน้าว่าจะหยุดรถหรือไม่ทั้งที่การจราจรติดขัด การที่รถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์