คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชลประทาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินตาม พ.ร.บ.การชลประทาน ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนก่อน และเวนคืนได้ตามกฎหมาย
ตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ที่ว่า เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน ถ้าไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีอื่น ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำหรือแหล่งน้ำใดมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ ในเมื่อนายช่างชลประทาน ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอได้อนุญาตและกำหนดให้โดยกว้างรวมทั้งที่ทิ้งดินด้วยไม่เกินสิบเมตร แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำผ่านนั้น หมายความว่าต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน จึงจะมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินได้
แม้ที่ดินของโจทก์จะถูกนายช่างชลประทานใช้รถขุดดินทำทางน้ำผ่านเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำ โดยยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ แต่เมื่อมีกฎหมายเวนคืนที่ดินของโจทก์ให้แก่กรมชลประทานแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้บังคับนายช่างชลประทานหรือกรมชลประทานกลบที่ดินที่ถูกขุดให้กลับคงคืนตามสภาพเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775-1776/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์ชลประทาน: การกันเขตที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะและการครอบครองก่อนหน้า
กรมชลประทานเป็นกรมในรัฐบาล ขึ้นกับกระทรวงเกษตราธิการและเป็นนิติบุคคล เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการทดน้ำไขน้ำ เมื่อมีผู้ละเมิด กรมชลประทานย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ 2. คำฟ้องที่กล่าวถึงเขตที่ดินที่กันไว้เพื่อการชลประทานโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการฯ และประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดหวงห้ามที่ดินชายทะเลโดยมีแผนที่ประกอบไว้ท้ายฟ้องด้วย นับว่าเป็นฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม 3. ที่พิพาทซึ่งอยู่ในเขตที่ดินของชลประทานจึงเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1306 4. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ให้หวงห้ามโดยวิธีการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ก่อนหน้านี้ไม่มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไร ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกประกาศหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าไม่ให้ผู้ใดจับจองหรือเข้าถือเอาโดยพลการ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายในที่ใดให้สิทธิราษฎรจับจองที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเอาตามชอบใจ 5. ส.ค.1 ไม่เป็นเอกสารแสดงสิทธิอย่างใดตามกฎหมาย (ซ้ำฎีกาที่ 1218/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707-1708/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายชลประทานคุ้มครองสาธารณสมบัติเหนือกว่าสิทธิเช่าเอกชน
บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง ฯ มีวัตถุประสงค์จะคุ้มครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสาธารณชนส่วนพระราชบัญญัติควบุคมค่าเช่าในภาวะคับขัน ฯ เป็นกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองสาธารณชนจึงมีผลบังคับเหนือกว่ากฎหมายที่คุ้มครองเอกชน การที่พระราชบัญญัติการชลประทานหลวงบัญญัติห้ามปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดรุกล้ำคันคลอง ชานคลองนั้น แม้จำเลยจะเช่าที่ดินกรมชลประทานปลูกเรือนอยู่อาศัยมาก่อนก็ตามก็ย่อมไม่ได้รับยกเว้นที่จะคงอยู่ต่อไป และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน ฯ ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อเหมืองชลประทานราษฎร์: ข้าหลวงจังหวัดและหัวหน้าชลประทานมีอำนาจฟ้องได้
ข้าหลวงประจำจังหวัดและหัวหน้าการชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานราษฎร์มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดที่กระทำแก่เหมืองฝ่ายที่อยู่ในเขตอำนาจของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีชลประทาน: ข้าหลวงจังหวัด-หัวหน้าชลประทานมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำลายเหมืองชลประทาน
ข้าหลวงประจำจังหวัดและหัวหน้าการชลประทานตาม พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดที่กระทำแก่เหมืองฝายที่อยู่ในเขตอำนาจของตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดคลองค้าขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และทำให้ทางชลประทานเสียหาย เป็นความผิดตามกฎหมายหลายฉบับ
ขุดคลอง ทำประตูน้ำเก็บเงินแก่เรือที่ผ่านไปมา ย่อมเป็นการขุกคลองเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ก็ย่อมเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 มาตรา4,5,8 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 24++ มาตรา 3 และเมื่อการกระทำดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้น้ำในทางชลประทานรั่วไหลออก โดยมิได้รับอนุญาต-เป็นหนังสือจากเจ้าพนักงาน ก็ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 26 อีกบทหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดคลองค้าขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดพ.ร.บ.ชลประทาน
ขุดคลองทำประตูน้ำ เก็บเงินแก่เรือที่ผ่านไปมา ย่อมเป็นการขุดคลองเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก็ย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณชนพ.ศ.2471 มาตรา 4,5,8 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2495 มาตรา 3 และเมื่อการกระทำดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้น้ำในทางชลประทานรั่วไหลออก โดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานก็ย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติชลประทานหลวงพ.ศ.2485 มาตรา 26 อีกบทหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายน้ำชลประทานที่ไม่ได้รับสัมปทานเป็นโมฆะตามกฎหมาย
สัญญาซื้อขายน้ำจากเหมืองฝายอันมีลักษณเป็นการชลประทานนั้นหากการทำเหมืองฝายรายนี้ผู้ทำมิได้รับสัมปทานสัญญาซื้อขายน้ำย่อมเป็นโมฆะตาม ม.113 แห่งประมวลแพ่งฯ ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.183-186 รับโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับเรื่องเหมืองฝายจำเลยต่อสู้ว่าเหมืองฝายของโจทก์มีลักษณเป็นการชลประทาน ฝ่ายโจทก์ก็รับในคำแถลงการณ์ชั้นศาลชั้นต้นว่าการเหมืองฝายเรียกได้ว่าเป็นการชลประทานเช่นนี้ประเด็นย่อมเป็นอันยุตติว่าการเหมืองฝายเป็นการชลประทานจริงดังคำรับของโจทก์
of 2