คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพงาน: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและการรักษาสิทธิทางธุรกิจ
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนาทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่จะพึงปรับได้กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ตนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับโจทก์ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้นไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยชอบธรรม: การกระทำทุจริตต่อหน้าที่และขัดคำสั่งนายจ้าง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีคำสั่งเรื่อง ใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคห้ามพนักงานซึ่งมิใช่พนักงานขับรถ ขับรถของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา และให้ใช้รถของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการปฏิบัติงานเฉพาะกิจการเท่านั้นและข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงานข้อ 43กำหนดว่า "การลงโทษปลดออกนั้น จะกระทำได้เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ 41 และข้อ 42 แต่โทษยังไม่ถึงกับจะต้องถูกไล่ออก หรือถึงกับจะต้องถูกไล่ออก แต่มีเหตุผลอันควรลดหย่อน" การที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งพนักงานช่างนำรถของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไปปักเสา 2 ต้น และยกหม้อแปลงขึ้นบนคานนั่งร้านหม้อแปลงให้แก่เอกชน การกระทำของโจทก์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการผิดข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน หมวด 5 เรื่องวินัย ข้อ 38(3) ที่กำหนดว่า "ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบหรือวิธีปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้ามขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง..."แล้ว ยังต้องด้วยข้อ 41(3) ที่กำหนดว่า "ทุจริตต่อหน้าที่การงาน"ด้วย เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่นซึ่งมีโทษถึงไล่ออก ดังนั้น การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยมีคำสั่งปลดออกจึงเป็นการลงโทษที่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับดังกล่าวแล้วไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรายวันเนื่องจากลาป่วยบ่อยจนหย่อนสมรรถภาพ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรมได้
โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลย ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์โดยสารประจำทาง ในปีงบประมาณ 2530 โจทก์ลาป่วยทุกเดือนรวม 38 วัน และยังลากิจอีกเป็นบางเดือนซึ่งรวมแล้วเป็นเวลา 20 วัน การที่โจทก์ลาป่วยโดยไม่เว้นเดือนและยังลาป่วยเกินสิทธิตามข้อบังคับของจำเลยด้วย แสดงว่าสุขภาพของโจทก์ไม่สมบูรณ์ แม้เป็นการลาป่วยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย และโจทก์ยังสามารถทำงานต่อไปได้ ก็ถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานอันเป็นเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรม: ภยันตรายใกล้ถึง การใช้สิทธิป้องกันตนเองด้วยอาวุธ
เวลาประมาณ 23 นาฬิกาของคืนเกิดเหตุผู้ตายพกมีดปลายแหลมตัวมีดยาวคืบเศษ และเพื่อนผู้ตายถืออาวุธปืนมาร้องเรียกจำเลยให้ออกไปนอกบ้าน ถ้าไม่ออกไปจะเข้ามาฆ่าจำเลย เมื่อจำเลยไม่ยอมออกไป ผู้ตายถีบประตูระเบียงบ้านจำเลยอยู่ประมาณ 10 นาทีเพื่อจะพังเข้ามาทำร้ายจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย1 นัดในระยะห่างกันเพียง 3 วา พฤติการณ์ฟังได้ว่าผู้ตายกับพวกมีเจตนาจะเข้ามาทำร้ายจำเลย นับว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยชอบที่จะใช้สิทธิป้องกันตัวได้ และการที่จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงเพียง 1 นัดในทันทีนั้น เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวจากการข่มขืน: การใช้มีดคัตเตอร์เพื่อระงับการประทุษร้ายโดยชอบธรรม
จำเลยเป็นหญิงอายุ20ปีรูปร่างเล็กกว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นชายอายุ31ปีและถูกผู้เสียหายปลุกปล้ำเพื่อร่วมประเวณีด้วยในห้องพักของโรงแรมจำเลยได้ต่อสู้ดิ้นรนกับการกระทำของผู้เสียหายขณะที่ถูกผู้เสียหายนอนกดทับพยายามจะข่มขืนอยู่นั้นจำเลยดึงมีดคัตเตอร์ออกจากกระเป๋ากางเกงด้านหลังมาทำร้ายผู้เสียหายเป็นบาดแผลที่บริเวณคอความยาว12เซนติเมตรกว้าง1/2เซนติเมตรและลึก1เซนติเมตรแม้เป็นการกระทำโดยแรงถึงขั้นมีดคัตเตอร์หักแต่จำเลยก็กระทำครั้งเดียวเหตุที่มีดคัตเตอร์หักก็เป็นไปตามสภาพของมีดคัตเตอร์นั่นเองทั้งในสภาพที่ถูกกดทับพยายามจะข่มขืนอยู่นั้นจำเลยย่อมไม่มีทางจะเลือกกระทำต่อส่วนอื่นของร่างกายผู้เสียหายได้คงกระทำได้แต่ส่วนบนที่ไม่ได้กดทับจำเลยเท่านั้นการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุจำเลยจึงไม่มีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่จากการใช้ลูกจ้างปฏิบัติงานส่วนตัว ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
โจทก์ใช้สอยลูกจ้างของจำเลยซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของโจทก์ไปจ่ายกับข้าวให้แก่ร้านขายอาหารในเวลาทำงานช่วงเช้าคนหนึ่งและช่วงบ่ายคนหนึ่งเป็นเวลานานประมาณ10วันเป็นการแสวงหาประโยชน์จากหน้าที่การงานเพื่อประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่นเกินสมควรที่ผู้บังคับบัญชาจะพึงกระทำและเสียหายแก่นายจ้างถือว่าทุจริตต่อหน้าที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลิกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ตามข้อ47(1)แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานและกรณีลูกจ้างกระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวสำหรับหญิงสาวที่ถูกทำร้าย: การกระทำเพื่อหยุดยั้งการคุกคามทางเพศเป็นเหตุป้องกันโดยชอบธรรม
จำเลยเป็นหญิงสาวแม้จะเคยเป็นคู่รักของผู้เสียหายมาก่อนแต่เมื่อจำเลยไม่ยินยอมผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิที่จะกอดปล้ำทำมิดีมิร้ายจำเลยได้ได้ความว่าขณะที่จำเลยยืนหั่นหัวหอมอยู่ผู้เสียหายเข้ามาข้างหลังโอบกอดจำเลยสะบัดและพูดห้ามพร้อมกับแกว่งมีดผู้เสียหายไม่ยอมฟังเมื่อจำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายครั้งที่สองถูกที่ทอ้งน้อยและผู้เสียหายล้มลงแล้วจำเลยก็ไม่ได้แทงซ้ำทั้งๆที่มีโอกาสแทงได้อีกคงปล่อยให้มีดปักคาท้องผู้เสียหายแล้ววิ่งลงจากบ้านไปดังนี้การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุจำเลยไม่มีความผิด.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรม: ภยันตรายใกล้จะถึงจากการประทุษร้ายด้วยขวานและการตอบโต้ด้วยมีด
แม้จำเลยและผู้ตายจะได้โต้เถียงกันก่อน แต่การโต้เถียงก็หาใช่เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายสมัครใจทำร้ายซึ่งกันและกันไม่ การที่ผู้ตายจะใช้ขวานฟันจำเลยจึงเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เมื่อจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายไปเพียงทีเดียว แม้จะถูกที่สำคัญก็เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการฉุกเฉินเพื่อให้ตนเองพ้นอันตราย จำเลยย่อมไม่มีโอกาสไตร่ตรองว่าอวัยวะส่วนใดสำคัญหรือไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบธรรม: ภยันตรายใกล้จะถึงจากการถูกทำร้ายด้วยขวาน
แม้จำเลยและผู้ตายจะได้โต้เถียงกันก่อน แต่การโต้เถียงก็หาใช่เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายสมัครใจทำร้ายซึ่งกันและกันไม่ การที่ผู้ตายจะใช้ขวานฟันจำเลยจึงเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง เมื่อจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายไปเพียงทีเดียว แม้จะถูกที่สำคัญก็เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการฉุกเฉินเพื่อให้ตนเองพ้นอันตราย จำเลยย่อมไม่มีโอกาสไตร่ตรองว่าอวัยวะส่วนใดสำคัญหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายจ้างในการย้ายลูกจ้างและการเลิกจ้างโดยชอบธรรมเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
การที่ลูกจ้างแจ้งความชำนาญหรือความถนัดของตนในการสมัครงานและนายจ้างมีคำสั่งรับเข้าทำงานในแผนกใดแล้ว ไม่เป็นการผูกพันนายจ้างที่จะต้องให้ลูกจ้างทำงานในแผนกนั้นตลอดไป หากต่อมามีความจำเป็น มีความเหมาะสม นายจ้างมีอำนาจย้ายลูกจ้างไปทำงานในแผนกอื่นในบริษัทเดียวกันโดยลูกจ้างคงได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมได้
โจทก์ไม่สามารถเข้ากันได้กับผู้บังคับบัญชา จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีอำนาจย้ายโจทก์ไปทำงานในแผนกใหม่เพื่อความเหมาะสมได้ และโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ยอมลงชื่อทราบคำสั่ง ไม่ไปรายงานตัวเพื่อทำงานในแผนกใหม่ และจำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือมากกว่า 3 ครั้งแล้ว จำเลยจึงมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การเลิกจ้างดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
of 5