พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ชั่วคราวเพื่อใช้ส่วนตัว จำเป็นต้องขออนุญาตตามกฎหมายหรือไม่
จำเลยที่ 1 ติดตั้งเครื่องจักรทำการแปรรูปไม้ในสวนของกลางที่ยึดได้มีไม้สัก 88 แผ่น ไม้รัง 14 แผ่นและยังไม่มีไม้สักยังไม่ได้แปรรูป 12 ท่อน ถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 4(13) แล้ว แม้จำเลยที่ 1 ตั้งโรงงานเพื่อแปรรูปไม้เป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ปลูกบ้านของตนเองก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายเป็นการก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามว่า คำว่า อาคารหมายถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานและสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ จำเลยปลูกเพิงเป็นที่อยู่อาศัยและขายเครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมืองขึ้นชั่วคราวในที่ดิน ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้เพิงดังกล่าวใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้มีลักษณะเป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายบัญญัติไว้ส่วนคำว่า ก่อสร้างนั้นพ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 4 ให้คำนิยามว่า หมายถึงสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด แม้จะเป็นการชั่วคราวก็เป็นการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารชั่วคราวบนที่สาธารณะ: นิยาม 'อาคาร' และ 'ก่อสร้าง' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 คำว่าอาคารหมายความถึง ตึก บ้าน เรือน โรง แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ จำเลยปลูกเพิงหลังคามุงสังกะสีและตีฝาด้วยสังกะสี ขนาดกว้าง6 เมตร ยาว 6 เมตร เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการค้าขายขึ้นในที่ดินในเขตเทศบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะใช้วัสดุค้ำหลังคาไว้ อันมีลักษณะเป็นการชั่วคราวสามารถรื้อถอนได้โดยง่ายก็ตาม ก็มีสภาพเป็นอาคารตามความหมายที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ส่วนคำว่าก่อสร้าง นั้น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามไว้ว่า หมายถึงสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คำนิยามไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมจะนำเอาความหมายตามพจนานุกรมมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยสร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมดจึงเป็นการก่อสร้างอาคารแม้จะเป็นการชั่วคราวก็ไม่อาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวได้รับการอนุญาตให้อยู่ในไทยชั่วคราว ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการอนุญาตยังไม่สิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาและการขอเฉลี่ยทรัพย์ตามคำพิพากษา โดยมีข้อจำกัดด้านระยะเวลา
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามฟ้อง คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษายังคงมีผลต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) การที่บุคคลภายนอกส่งเงินมาตามคำสั่งอายัดชั่วคราวภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อโจทก์ได้ขอออกคำบังคับและขอหมายบังคับคดีถึงที่สุดแล้วจึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้หลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่บุคคลภายนอกชำระเงินตามที่อายัดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290 วรรคห้า จึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการใช้ทรัพย์ของผู้อื่นชั่วคราว ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์ หากไม่มีเจตนาตัดกรรมสิทธิ์
การกระทำที่จะถือว่าเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ตลอดไป จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย มีหน้าที่ตรวจสภาพรถยนต์นำรถไปส่งให้ผู้เช่าและติดตามรถคืน ได้นำรถยนต์ของผู้เสียหายไปทำความสะอาด ต่อมาจำเลยได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อรับน้าชายกับครอบครัวไปจังหวัดนครราชสีมา แต่เฟืองท้ายรถเสียจำเลยไม่สามารถหาเฟืองท้ายไปซ่อมรถยนต์คันดังกล่าว ตำรวจจึงให้ลากรถยนต์ไปจอดไว้ที่ฟาร์มเลี้ยงไก่ จำเลยมอบกุญแจรถยนต์ไว้กับเจ้าของฟาร์มเก็บใบขับขี่ บัตรประจำตัวและหลักฐานเกี่ยวกับทะเบียนรถไว้ในรถแล้วจำเลยกลับกรุงเทพมหานคร และไปทำงานที่ห้างผู้เสียหายตามปกติจำเลยพยายามหาซื้อเฟืองท้ายแล้ว แต่ซื้อไม่ได้ ต่อมาผู้เสียหายได้รับรถยนต์คืนจากตำรวจท้องที่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการพารถยนต์ของผู้เสียหายเคลื่อนที่ไป อาจเป็นการแย่งการครอบครองไปจากผู้เสียหาย ถือเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปอันอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ แต่ตามพฤติการณ์จำเลยเจตนาเอารถของผู้เสียหายไปใช้ชั่วคราว มิได้กระทำเพื่อเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายตลอดไป จึงมิใช่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปอันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6093/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ไม่เป็นการอายัดซ้ำ แม้มีการอายัดทรัพย์สินภายหลัง
การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเป็นวิธีการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254(1) มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 บทบัญญัติใน ป.วิ.พ.ลักษณะ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับคดีที่มาตรา 259 ให้นำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวนั้นหา รวมถึงบทบัญญัติมาตรา 290 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษา: ผู้ร้องขอบังคับชำระค่าธรรมเนียมเมื่อศาลยกเลิกอายัด
การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลสั่งอายัดเงินที่บุคคลภายนอกต้องชำระให้จำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 เมื่อต่อมาศาลสั่งให้ยกเลิกอายัดชั่วคราวตามคำร้องขอของจำเลย โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่ออายัดเงินแล้วไม่มีการจำหน่ายตามมาตรา 5 ข้อ 4 ท้าย ป.วิ.พ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวสงวนเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิ
ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้น ผู้ร้องสอดเพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวสงวนไว้สำหรับคู่ความในคดีเท่านั้น ผู้ร้องสอดที่ยังไม่เป็นคู่ความไม่มีสิทธิขอ
การขอให้ศาลมีคำสั่ง เพื่อคุ้มครองประโยชน์ตามวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น ผู้ที่จะขอได้ต้องเป็นคู่ความในคดี.