คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชั้นศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือจากที่ยกขึ้นในชั้นศาล และสิทธิเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบ กลับแถลงรับว่าโจทก์มีการมอบอำนาจจริงคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ฎีกาของจำเลยในเรื่องนี้จึงเป็นฎีกานอกประเด็น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ก่อสร้างอาคารตามผังและแบบแปลนถูกต้องสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้แล้ว จำเลยมิได้กระทำผิดสัญญา แต่จำเลยให้การยอมรับว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวลงในที่ดินของโจทก์แล้วเสร็จไปเกินกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ของผังและแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตต่อเทศบาลเมืองอุดรธานี คงเหลือการก่อสร้างอีกเพียงเล็กน้อยเกิดภาวะทางด้านเศรษฐกิจตกต่ำ จำเลยจึงงดการก่อสร้างไว้ก่อนและแจ้งให้โจทก์ทราบ โจทก์ก็ตกลง ดังนั้นข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือและขัดแย้งกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะสร้างอาคาร...ให้ครบตามผังและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองอุดรธานีให้แล้วเสร็จภายใน 1,460 วัน นับจากวันเริ่มสัญญานี้ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนี้ ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้เช่าได้ทันที และผู้ให้เช่าอาจให้ผู้เช่าต่อสัญญาหรือจะให้บุคคลอื่นดำเนินการต่อไปก็ได้" ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่แสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่า หากจำเลยสร้างอาคารไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แม้สัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งกำหนดว่าโจทก์ต้องให้จำเลยเช่ามีกำหนด21 ปี กำหนดเวลาเช่า 21 ปี ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดสัญญาเพราะสร้างอาคารไม่เสร็จภายในกำหนดตามข้อตกลงนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาดังกล่าวได้ ส่วนผลของการเลิกสัญญาจะทำให้จำเลยหรือผู้เช่าช่วงจะเสียหายมากน้อยอย่างไร ได้มีบทกฎหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาจะพึงปฏิบัติต่อกันหลังเลิกสัญญาไว้แล้ว ความเสียหายตามข้ออ้างของจำเลยไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การที่จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องการบอกกล่าวทวงถามในชั้นศาลต้นน้ำและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยกข้อนี้ขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และปัญหาดังกล่าวมิใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นในชั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินและจำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาค้ำประกันนั้นในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม แต่ศาลชั้นต้นสั่งว่าไม่มีเหตุจะเพิ่มประเด็นตามคำแถลง จำเลยก็มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวทั้งมิได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้น ถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ามาแต่ศาลชั้นต้น แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยอาจยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ก็ตามแต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะไม่ยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากไม่ทำตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งในชั้นศาล
การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 แต่กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจจัดเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพื่อโจทก์ที่ 2 ได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและส่งออก หากจำเลยไม่พอใจการประเมินนั้นก็ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วจำเลยไม่พอใจคำวินิจฉัย ก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยการที่จำเลยไม่ดำเนินการผ่านขั้นตอนตามที่กล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว ยังรวมทั้งการโต้แย้งให้การต่อสู้คดีด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะมิได้คำนวณมาจากยอดเงินอากรขาเข้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดโดยชอบ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่อาจโต้แย้งการประเมินดังกล่าวในชั้นพิจารณาของศาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาล และการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อสู้ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเรื่องอายุความเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในการชี้สองสถาน และจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจหาได้ไม่เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อจำเลยอ้างเหตุผลที่ไม่เคยโต้แย้งในชั้นศาล
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง มิได้โต้เถียงว่าผู้ใดเป็นผู้เสียหาย ปัญหาเรื่องผู้ใดจะเป็นผู้เสียหายจึงยุติไปแล้ว ที่จำเลยฎีกามาเพียงประการเดียวว่า ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาที่โจทก์นำสืบในเรื่องผู้เสียหายแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้องนั้นเป็นการยกข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้โต้เถียงไว้ในศาลชั้นต้นมาอ้างอันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในชั้นศาล การพิจารณาประเด็นส่วนควบ และการรอการลงโทษ
การฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จหาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลในคดีนั้นแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองแถลงหมดพยานบุคคล และขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท โจทก์แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีความจำเป็น แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้ทนายของคู่ความถ่ายภาพบ้านพิพาททั้งสองหลังส่งศาล แสดงว่าจำเลยทั้งสองพอใจคำสั่ง ศาลชั้นต้น และไม่ติดใจขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท การที่ศาลจะไปเดินเผชิญสืบหรือไม่เป็นดุลพินิจ ของศาล การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2แสดงว่า บ้านพิพาทไม่ได้เป็นส่วนควบกับบ้านเลขที่ 75 อยู่ในตัวถือได้ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นเรื่องส่วนควบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การผู้เสียหายในชั้นสอบสวนมีน้ำหนักน้อยกว่าคำเบิกความในชั้นศาล หากไม่มีพยานแวดล้อมยืนยัน ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยได้
คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนซึ่งมีข้อความแสดงว่าขณะเกิดเหตุผู้เสียหายเห็นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย และผู้เสียหายเบิกความรับว่าได้อ่านและลงลายมือชื่อไว้นั้น เป็นพยานบอกเล่ารับฟังได้แต่เพียงเป็นพยานประกอบคำเบิกความของพยานในชั้นศาล เมื่อผู้เสียหายเบิกความต่อศาลว่าตนได้บอก ว. กับตำรวจหลังเกิดเหตุเพียงว่าสงสัยว่าจำเลยยิง โดยมี ว. พยานซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเบิกความสนับสนุนว่า ผู้เสียหายวิ่งมาแจ้งเหตุหลังเสียงปืนดังเล็กน้อยโดยไม่ระบุว่าถูกใครยิง โจทก์จึงขาดประจักษ์พยานเมื่อโจทก์ไม่มีพยานแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งมัด ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้าย ลำพังแต่คำให้การผู้เสียหายในชั้นสอบสวน ยังไม่มั่นคงเพียงพอจะฟังลงโทษจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จในชั้นศาลต้องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหลักฐานต่อคดี
ฟ้องว่าแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแต่มิได้บรรยายว่าพยานหลักฐานอันเป็นเท็จที่จำเลยแสดงต่อศาลนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร อีกทั้งเมื่ออ่านคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดแล้วก็ไม่อาจเข้าใจได้เช่นนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613-2614/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยร่วมในคดีชิงทรัพย์ จำเลยต้องมีส่วนลงมือกระทำความผิดโดยตรง คำให้การชั้นสอบสวนใช้ลงโทษไม่ได้หากให้การปฏิเสธในชั้นศาล
พยานโจทก์ชั้นศาลฟังไม่ได้ว่าพยานจำพวกของจำเลยที่ 1ได้ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดแต่คำให้การชั้นสอบสวนเป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้การปฏิเสธในชั้นศาล ดังนี้ จะนำคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มาฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 หาได้ไม่
การที่วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่2 ที่ 3 ได้ถอนอุทธรณ์ไปแล้วก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาแก้ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 7