พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเสียหายหลังเกิดเหตุ ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังไม่ระงับ
การที่จำเลยนำเงินไปวางที่สำนักงานบังคับคดี และที่ศาลชั้นต้นเพื่อใช้ราคาทรัพย์คืนแก่ผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายไม่ได้ตกลงยินยอมด้วย ย่อมเป็นแต่เพียงการบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ไม่มีผลเป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วมกันและผลกระทบต่อการล้มละลาย
โจทก์กับจำเลยที่ 2 และ 3 ต่างเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อบรรษัทเงินทุน อ. แม้วงเงินค้ำประกันจะไม่เท่ากัน โจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อบรรษัทเงินทุน อ. อย่างลูกหนี้ร่วมกับ ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่บรรษัทเงินทุน อ. แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้ว4,838,567.40 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของบรรษัทเงินทุน อ. ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามส่วนเท่าๆ กัน ตามมาตรา 229 (3) และมาตรา 296 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์คนละ 1,612,855.80 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่บรรษัทเงินทุน อ. จนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย ถือเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องทั้ง 7 ฉบับ ที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ทุกฉบับ แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้ง 7 ฉบับจำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การยึดรถคืนและการผิดสัญญา โดยการไม่รับชำระหนี้และการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ
โจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจนถึงงวดที่ 12 แล้วไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 ถึง 15 ต่อมางวดที่ 16 โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับไว้โดยไม่ทักท้วง ไม่คิดดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับ แสดงว่า จำเลยมิได้ยึดถือข้อสัญญาที่ว่า หากผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จำเลยต้องบอกกล่าวไปยังโจทก์โดยให้ระยะเวลาแก่โจทก์พอสมควร แม้จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์นำเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยไม่รับชำระโดยอ้างว่าโจทก์ชำระน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระซึ่งมีดอกเบี้ย ค่าติดตามรถและค่าแอร์รวมอยู่ด้วยนั้น ก็ไม่ปรากฏข้อสัญญาหรือข้อนำสืบว่า ยอมให้คิดดอกเบี้ยจากการชำระล่าช้าได้หรือโจทก์ค้างชำระจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระหนี้อื่นนอกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เมื่อโจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปชำระให้แก่จำเลย แต่จำเลยไม่รับชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่มีเหตุจะอ้างตามกฎหมายจึงไม่ถือว่าโจทก์ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์ผู้เช่าซื้อชอบที่จะครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป จำเลยต้องส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ เมื่อจำเลยไม่รับชำระค่าเช่าซื้อและไม่คืนรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทนด้วย ขณะจำเลยยึดรถยนต์คืนนั้นโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยมีสิทธิยึดรถคืนได้ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยึดรถคืนแสดงว่าจำเลยไม่ยอมผ่อนผันให้โจทก์อีกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการใช้รถ แม้โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายวันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถยนต์คืนได้อีก
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทนด้วย ขณะจำเลยยึดรถยนต์คืนนั้นโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยมีสิทธิยึดรถคืนได้ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยยึดรถคืนแสดงว่าจำเลยไม่ยอมผ่อนผันให้โจทก์อีกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียหายจากการใช้รถ แม้โจทก์นำค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก็เป็นเพียงทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาต่อไปเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นรายวันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถยนต์คืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4091/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การฟ้องบังคับชำระหนี้ขัดต่อหลักความยุติธรรม
จำเลยติดต่อขอชำระหนี้ และส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่รับชำระหนี้กลับยื่นฟ้องจำเลย การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เพื่อบังคับจำเลยชำระหนี้ทั้งหมดเป็นการอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้ตามสัญญาเช่าและการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายจำนวน 17,500,000 บาท โดยระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินฯ ด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ว่าให้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินรวม 17 แปลง กับเจ้าหนี้ และจดทะเบียนการเช่าเป็นเวลา 15 ปี หากปฏิบัติไม่ได้ให้ชำระค่าเสียหายตามที่ขอรับชำระหนี้โดยเจ้าหนี้อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าฉบับเดิมว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ชอบที่จะดำเนินการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ก่อน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 92 ประกอบมาตรา 122 วรรคสอง เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีชำระหนี้: การรู้ถึงการตายของลูกหนี้เป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ และผลกระทบต่อทายาทผู้รับผิดชอบ
โจทก์ได้รู้ถึงการตายของ จ. เจ้ามรดก ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ทายาทของ จ. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แม้จะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันหรือไม่: การชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาหากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและอาคารของโจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า จำเลยครอบครองที่ดินและอาคารโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันด้วยว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วหรือไม่ หากสัญญาดังกล่าวเลิกกันโดยชอบย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น ปัญหาว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วโดยชอบหรือไม่ จึงเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเอารถจักรยานยนต์ไปเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่ลักทรัพย์ แม้ใช้วิธีการไม่ชอบธรรม
จำเลยที่ 1 ทวงเงินจาก อ. ไม่ได้ จึงพาพวกไปทวงเงินจาก อ. ในเวลาที่ต่อเนื่องกัน เมื่อ อ. ไม่ยอมคืนเงินและไม่ยอมออกมาพบจึงใช้อำนาจบังคับโดยพลการเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปขณะนั้น แม้ข้อเท็จจริงปราฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกใช้กุญแจที่ไม่ใช้กุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางติดเครื่องยนต์นำรถจักรยานยนต์ของกลางออกไป อีกทั้งรถจักรยานยนต์ของกลางมีราคา 26,000 บาท สูงกว่าจำนวนหนี้ 300 บาท อยู่มากก็ตาม จำเลยที่ 1 กับพวกคงไม่ได้คิดว่ารถจักรยานยนต์ของกลางมีราคาสูงเท่าใด หากแต่ต้องการเพียงให้ อ. ที่จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์นำเงินมาชำระหนี้ตนเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงมิได้มีเจตนาเอารถจักรยานยนต์ของกลางไปโดยทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง และเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย และการปลดเปลื้องหนี้ตามหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 180,000 บาท โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับระบุว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 155,505 บาท จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระต้นเงินที่ค้างชำระแต่ละคราวไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท ไม่ได้กำหนระยะเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้สินรายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 155,505 บาท จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระต้นเงินที่ค้างชำระแต่ละคราวไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท ไม่ได้กำหนระยะเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้สินรายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง