คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชี้สองสถาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีหลายครั้งในคดีเดียว การคำนวณค่าขึ้นศาล และการข้อยกเว้นการเลื่อนวันชี้สองสถาน
อ.ได้ยื่นคำขอถอนตัวเองออกจากการเป็นทนายโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์จะแต่งตั้งทนายความใหม่ และได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตัวโจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบการถอนตัวออกจากการเป็นทนายความของ อ. จึงต้องถือว่า อ.ยังมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายผู้มาถอนตัวได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง การที่ศาลภาษีอากรยังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ อ.ถอนตัวออกจากการเป็นทนายโจทก์แต่รอไว้สั่งในวันนัดชี้สองสถานจึงชอบแล้ว
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 หมวด 3 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานไว้โดยชัดเจนในข้อ 16ซึ่งเป็นบทบัญญัติในกรณีที่คู่ความมาศาล เพื่อศาลจะได้สอบถามให้ได้ความชัดเจนในประเด็นข้อพิพาท และข้อเท็จจริงบางอย่างที่คู่ความอาจแถลงร่วมกันได้ อย่างไรก็ดีถ้าในวันนัดชี้สองสถานคู่ความไม่มาศาล ก็ให้ศาลทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 17 และถือว่าคู่ความผู้ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ดังนี้ การที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน จึงไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ศาลย่อมทำการชี้สองสถานไปได้ตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเท่าที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนความ การที่ ก.ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนวันนัดชี้สองสถานโดยอ้างว่าป่วย แม้จะได้ความว่า ก.ป่วยจนไม่อาจมาศาลได้จริงก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องที่ศาลจะต้องเลื่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นชี้สองสถานออกไป
ศาลภาษีอากรนัดชี้สองสถานในวันที่ 19 มกราคม 2542โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 11 มกราคม 2542 เป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 ข้อ 10 วรรคหนึ่งซึ่งกำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลภาษีอากรไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานจึงชอบแล้ว
ศาลภาษีอากรกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยมีคำสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนทุกประเด็น เมื่อโจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล โจทก์จึงไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 87
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 โดยเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีโจทก์ 4 ครั้ง เป็นการประเมินสำหรับปีภาษี 2529 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2529 อีก 1 ครั้ง ประเมินสำหรับปีภาษี 2530 (ครึ่งปี) 1 ครั้ง และประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีก 1 ครั้ง ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีที่โจทก์รายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราว แล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินมาเป็นคดีเดียว แต่การประเมินสำหรับปีภาษี 2529 กับปีภาษี 2530 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี ถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีในปีภาษีเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น แม้จะได้ความว่า เจ้าพนักงานของจำเลยจะทำการประเมินภาษีโจทก์รวม 4 ใบประเมิน แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2529 และปีภาษี 2530 เท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีข้อหาในการคำนวณทุนทรัพย์เพียง 2 ข้อหา คือ ทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2529ข้อหาหนึ่ง กับทุนทรัพย์ของการประเมินสำหรับปีภาษี 2530 อีกข้อหาหนึ่ง โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลใน 2 ทุนทรัพย์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้ว ตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลยจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถานและคำสั่งไม่อนุญาตเรียกกรมที่ดินเป็นโจทก์ร่วม ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากศาลชี้สองสถานแล้วตามคำให้การเดิมจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนคำให้การที่จำเลยจะขอแก้ไขใหม่จำเลยก็อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ซึ่งแสดงว่า จำเลยรู้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำให้การเดิมแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ไม่ใช่จำเลยเพิ่งรู้ในวันที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยดูแผนที่วิวาทซึ่งเป็นวันเดียวกับวันชี้สองสถาน จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เรียกกรมที่ดินเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามคำร้องของจำเลย จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะรับวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดพยาน-ชี้สองสถานไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น หากโจทก์ไม่โต้แย้งทันที ย่อมหมดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 24, 226 (2)
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถาน งดสืบพยานโจทก์จำเลย และให้นัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลยเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การขาดการใช้รถยนต์ และการชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยได้หรือไม่เพียงใด และต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่า ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเพิ่มเติมคำให้การได้ทั้งได้ยกขึ้นวินิจฉัยในคำพิพากษาด้วย ฉะนั้น จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกและจำเลยยกข้ออ้างดังกล่าวโต้แย้งเป็นอุทธรณ์ด้วยศาลอุทธรณ์จึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความรวมถึงการที่โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ด้วย ฉะนั้น โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ จากจำเลยผู้รับประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การและการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันนัดชี้สองสถานชอบธรรม คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานไม่เป็นเหตุฎีกา
เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้วศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้นไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำให้การซึ่งจะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็นทั้งก็ไม่ทำให้จำเลยที่1และที่3ต้องเสียเปรียบเพราะจำเลยที่1สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้เมื่อศาลชี้สองสถานแล้วจำเลยที่1และที่3ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไรการกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยที่1เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้สองสถานและการดำเนินการเมื่อคู่ความถึงแก่ความตาย
การชี้สองสถานเป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (9)
แม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดวันนัดชี้สองสถานในวันที่ 7 พฤษภาคม2536 และทนายโจทก์ได้รับหมายนัดชี้สองสถานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2536 แล้วแต่โจทก์ได้ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2536 ก่อนที่ทนายโจทก์จะได้รับหมายและก่อนวันชี้สองสถาน เมื่อนาง ย. ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบถึงความมรณะของโจทก์ ศาลชั้นต้นต้องสั่งเลื่อนการนัดชี้สองสถานที่นัดไว้ไปก่อนจนกว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาง ย. เข้ามาเป็นคู่ความแทน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว ศาลชั้นต้นต้องแจ้งกำหนดวันนัดชี้สองสถานใหม่ให้คู่ความทราบล่วงหน้าตามกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการชี้สองสถานไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2536 เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้สองสถานหลังคู่ความถึงแก่กรรม ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาจนกว่าทายาทจะเข้ามาเป็นคู่ความแทน
การชี้สองสถานเป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(9) แม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดวันนัดชี้สองสถานในวันที่7พฤษภาคม2536และทนายโจทก์ได้รับหมายนัดชี้สองสถานเมื่อวันที่11มีนาคม2536แล้วแต่โจทก์ได้ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่10มีนาคม2536ก่อนที่ทนายโจทก์จะได้รับหมายและก่อนวันชี้สองสถานเมื่อนางย.ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้ยื่นคำร้องแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบถึงความมรณะของโจทก์ศาลชั้นต้นต้องสั่งเลื่อนการนัดชี้สองสถานที่นัดไว้ไปก่อนจนกว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นางย. เข้ามาเป็นคู่ความแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา42และเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วศาลชั้นต้นต้องแจ้งกำหนดวันนัดชี้สองสถานใหม่ให้คู่ความทราบล่วงหน้าตามกฎหมายการที่ศาลชั้นต้นดำเนินการชี้สองสถานไปเมื่อวันที่7พฤษภาคม2536เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา & การชี้สองสถาน-สืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงครอบครองที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้เมื่อโจทก์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226(2) คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่าคดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไปที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหายถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
of 11